รู้ก่อนใช้ยาคุมฉุกเฉิน ป้องกันการตั้งครรภ์จากสถานการณ์ฉุกเฉิน

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (389)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:721
เมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 23.15 น.

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นหรือวิธีการคุมกำเนิดเกิดล้มเหลว ยาคุมฉุกเฉินจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การกินยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินที่ใช้หลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว หากใช้อย่างถูกวิธีและรวดเร็วหลังมีเพศสัมพันธ์ ยาคุมฉุกเฉินจะช่วยลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน ทั้งในด้านกลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ วิธีการใช้ ข้อควรระวัง รวมถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใช้หรือต้องการทราบเพิ่มเติม

 


ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่ายาคุมฉุกเฉินคืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pills หรือ ECP) เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดหรือวิธีคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว เป็นต้น 

 

โดยยาคุมฉุกเฉินจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่

  1. ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดียว ที่จะประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Levonorgestrel) เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ที่ 75-85%
  2. ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนรวม ที่จะประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Ethinyl estradiol) กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Levonorgestrel) ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ที่ 85-95%

 

นอกจากนี้ยังมียาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ยา Ulipristal ซึ่งเป็นยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียวที่ไม่มีฮอร์โมนโดยมีส่วนประกอบหลักคือ Ulipristal Acetate โดยวิธีกินยาคุมฉุกเฉินชนิด 1 เม็ดจะต้องกินภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงถึง 98% 

 


กลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมฉุกเฉิน 

สำหรับกลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนแรกจะเป็นการยับยั้งการตกไข่โดยฮอร์โมนในยาคุมฉุกเฉินจะไปรบกวนการตกไข่ของผู้หญิง ทำให้ไม่มีไข่ตกมาสำหรับการปฏิสนธิ กับอีกขั้นตอนหนึ่งฮอร์โมนจากยาคุมฉุกเฉินจะไปเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นทำให้ไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว 

 

โดยกลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนรวมจะมีความพิเศษกว่ายาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดียวคือ จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนไปช่วยทำให้มูกบริเวณปากมดลูกหนาขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อสุจิสามารถเคลื่อนตัวเข้าสู่โพรงมดลูกได้ยากยิ่งขึ้น

 


ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อไร?

 

 

ยาคุมฉุกเฉินควรใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดประจำ โดยสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้ยาคุมฉุกเฉิน ได้แก่

  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดใด ๆ เช่น ลืมทานยาคุมกำเนิด, ถุงยางอนามัยรั่ว หรือหลุดออกจากร่างกาย
  • เมื่อถูกข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สมัครใจ
  • กรณีที่วิธีคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น ทานยาคุมกำเนิดใกล้หมดอายุ, ทานเม็ดยาคุมกำเนิดสลับกันไปมา, แผ่นยาฝังคุมกำเนิดหลุดออก เป็นต้น
  • คำนวณระยะปลอดภัยผิดพลาด

 

สิ่งสำคัญคือ ต้องรับประทานยาคุมฉุกเฉินให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โดยให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหรือ 3 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งรวดเร็วเท่าใด ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ก็จะยิ่งสูงขึ้น

 


วิธีการกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างไร

อย่างที่ได้ทราบไปแล้วว่ายาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีหากรับประทานถูกวิธีและทันเวลา แต่ก็ไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดแบบปกติควรใช้ยาคุมฉุกเฉินในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น โดยวิธีการกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติตามนี้

 

  1. ควรอ่านคำแนะนำบนฉลากยาอย่างละเอียดก่อนใช้ โดยควรตรวจสอบชนิดของยา วันหมดอายุ และปริมาณยาที่ต้องทาน
  2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาคุมฉุกเฉิน โดยควรแจ้งประวัติการใช้ยา โรคประจำตัว และประวัติแพ้ยา เพื่อให้แพทย์หรือเภสัชประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำที่เหมาะสม
  3. ทานยาตามเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
    1. หากเป็นยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดียว: ควรทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยทานยาเม็ดแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และทานยาเม็ดที่สอง 12 ชั่วโมงหลังจากทานยาเม็ดแรก
    2. หากเป็นยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนรวม: ควรทานภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และทานยาเม็ดที่สอง 12 ชั่วโมงหลังจากทานยาเม็ดแรก
  4. แนะนำให้ดื่มน้ำหลังทานยาให้เพียงพอ โดยควรดื่มประมาณ 1 แก้วหลังทานยาคุมฉุกเฉิน
  5. สังเกตอาการหลังกินยาคุมฉุกเฉิน โดยหากมีอาการอาเจียนภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานยา ให้ทานยาซ้ำอีกครั้ง
  6. ทำการจดบันทึกวันที่ทานยา เพื่อติดตามการมาของประจำเดือน
  7. หากประจำเดือนไม่มาภายใน 3-4 สัปดาห์หลังจากทานยาคุมฉุกเฉิน แนะนำให้ทำการตรวจการตั้งครรภ์

 


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาคุมฉุกเฉิน 

 

หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับกลไกการทำงานและวิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้องกันไปแล้ว เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน จึงอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายได้รับฮอร์โมนที่สูงผิดปกติ โดยอาการหลังกินยาคุมฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

 

  1. ผลข้างเคียงที่อาจพบได้บ่อย ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาการเหล่านี้ คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะ, ปวดท้อง, คัดตึงบริเวณเต้านม, ประจำเดือนมาผิดปกติ, ท้องเสีย
  2. ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยแต่มีอาการรุนแรง ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาการเหล่านี้ มีลิ่มเลือด, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ความดันโลหิตสูง, ปวดศีรษะรุนแรง, ตาเหลือง, ผื่นคัน, หายใจลำบาก, มีอาการลมพิษ, หน้าบวม

 

*สำหรับผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินชนิด 1 เม็ดจะเกิดขึ้นน้อยกว่ายาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมน เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบ

 

นอกจากนี้ยาคุมฉุกเฉินยังมีผลข้างเคียงที่อาจรบกวนประสิทธิภาพของยาตัวอื่น ๆ และอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว ดังนั้นจึงควรแจ้งประวัติการใช้ยา โรคประจำตัว และประวัติการแพ้ยา ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งก่อนใช้ยาคุมฉุกเฉิน

 


ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ยาคุมฉุกเฉิน

ก่อนใช้งานหรือกินยาคุมฉุกเฉินต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ถึงแม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงแต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้ 100% โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 75-95% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและวิธีการรับประทานยาที่ถูกต้องร่วมด้วย 

 

โดยข้อจำกัดในการใช้ยาคุมฉุกเฉินจะมีดังนี้

  • ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนยาคุมกำเนิดแบบปกติ
  • การกินยาคุมฉุกเฉินไม่ควรเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน

 

ดังนั้นหากมีความต้องการที่จะคุมกำเนิด ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงอย่าง การทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบรายเดือน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดเป็นต้น ทั้งนี้ควรคำนึงไว้เสมอว่าไม่มีวิธีคุมกำเนิดใดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100%

 


ข้อสรุปเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน 

ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินที่ใช้หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือเมื่อวิธีคุมกำเนิดประจำล้มเหลว มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ระยะเวลาและวิธีการใช้ที่ถูกต้อง โดยยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนและยาคุมฉุกเฉินชนิดไม่ใช้ฮอร์โมนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ที่ 75-95% และประมาณ 98% ตามลำดับ ซึ่งควรทานยาภายใน 72-120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์

 

ทั้งนี้ถึงแม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง แต่ก็ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเพื่อประเมินความเสี่ยงและลดการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

แก้ไขครั้งที่ 6 โดย GUEST1649747579 เมื่อ24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 00.17 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา