ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป

-

เขียนโดย Domewriter

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.

  20 ตอน
  0 วิจารณ์
  6,303 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

1) ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้า 1

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

ยุค 3 ราชา 5 สมเด็จเจ้า หรือ ซานหวงอู่ตี้

Three Sovereigns and Five Emperors          

 

            2852 - 2070  ปีก่อนคริสศักราช  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของ สามราชาห้าสมเด็จเจ้า  ตามตำนานของจีนกล่าวกันว่าเป็นกลุ่มบุคคลหรือเทวดา ที่ลงมาจากสวรรค์ เพื่อช่วยดูแลปกครองชาวจีนทางภาคเหนือในยุคเริ่มของเผ่า พันธ์ชาวจีน
           หลักฐานที่มีบันทึกมีไม่มาก   ส่วนใหญ่เป็นตำนานปรัมปรามากกว่าเรื่อง จริง มีหลักฐานที่ไม่แน่ชัด บันทึกเป็นตัวอักษณในเอกสาร โบราณที่เล่าสืบกันมา นานในสมัย   หลังจากผ่านพ้นยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้าไปมากแล้วมีบันทึกเป็น เอกสารที่ใช้อ้างเป็นหลักฐานอายุ 100-1,000 ปี     ซึ่งบันทึกประวัติศาสตร์ส่วน ใหญ่ทำขึ้นตามความต้องการของผู้ปกครองในยุคสมัยต่างๆ ที่มีจุดประสงค์เพื่อ แสดงให้รู้ว่าเป็นผู้มีเชื้อสายของผู้มีสิทธิปกครองแผ่นดิน  ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ยุคบรรพกาล จึ งอาจเป็นเรื่องไม่จริงที่สร้างขึ้นให้ผู้ปกครองมีฐานะและสิทธิอัน ชอบธรรมในการขึ้นปกครองแผ่นดิน
          บันทึกประวัติศาสตร์จีนของซือหม่าเชียนที่เขียนขึ้นเมื่อ ปี  91 ก่อนคริส ศักราช ว่า สามราชามาก่อนห้าสมเด็จเจ้า  ราชาทั้งสามคนนั้นถูกเปรียบเสมือน เป็นเทพเจ้าหรือกึ่งเทพกึ่งมนุษย์ที่มีรูปร่างไม่แตกต่างจากมนุษย์ปกติ และเป็น ผู้ปกครองที่สร้างคุณประโยชน์ด้านวัฒธรรม ประเพณี และอื่นๆ     ทั้งสอนวิชา ความรู้ต่างๆ  ให้แก่ผู้คน เช่น  สอนให้ใช้ไฟ  สอนปลูกสร้างบ้านเรือน  สอนทำ สวนทำไร่ทำนา ยารักษาโรค ทำปฏิทิน และอักษรจีน เป็นต้น
          มเหสีของราชาเป็นเทพีสตรีที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับงาน ของอิสตรี เช่น ผ้าไหม การเย็บ ปักทักรอย การดูแลบุตร เป็นต้น  

          ส่วนสมเด็จเจ้าทั้งห้าที่เป็นมนุษย์ก็ว่าถือเป็นนักปราชญ์ที่มีอายุยืนยาวมี ความรู้และมี คุณธรรมรับบัญชาจากราชาและมเหสีที่เป็น เทพเจ้าให้ปกครองผู้ คนให้เกิดสงบสุข  แม้เรียกยุคนี้ว่า สามราชาห้าสมเด็จเจ้า แต่บุคคลที่ถูกเรียก เป็นสามราชา มี  11 คน คือ ก้งกง,  สมเด็จเจ้าเหลือง,  จู้หรง,  เฉินหนง,  ซุ่ยเหริน,  ตี้หฺวัง (เจ้าโลก),  เทียนหวัง (เจ้าฟ้า), ไท่หฺวัง (เจ้าใหญ่),  นฺหวี่วา,  ฝูซี และ เหรินหฺวัง (เจ้าคน)
         บุคคลที่ถูกเรียกเป็น ห้าสมเด็จเจ้า แต่จริงแล้วมีถึง 8 คน คือ คู่, สมเด็จ เจ้าเหลือง, จฺวันซฺวี, เฉ่าเฮ่า, ชุ่น, ไท่เฮ่า, หยาน, และเหยา
          หวัง และ ตี้  เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่ม สามราชาห้าจักรพรรดินี้ มีที่มาจาก คำสองคำ คือ หวัง ที่แปลว่า ราชา และ ตี้ ที่แปลว่า เทพเจ้า หรือ สมเด็จเจ้า ต่อมาในยุคราชวงศ์เซี่ย รัฐของผู้ที่ตกเป็นเมืองขึ้นจะเรียกว่า ตี้ ซึ่งเทียบได้กับ ตำแหน่งอ๋อง ผู้ปกครองราชอาณา จักร เรียกว่า หวัง ส่วนรัฐที่ไม่เป็นเมืองขึ้น อาจเรียกว่า ตี้ เช่นเดิม

          บุคคลแรกที่ใช้คำว่า หวังและตี้รวมกันเป็น หวังตี้ หรือ จักรพรรดิ หรือ ฮ่องเต้ คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิฉิน แห่งรัฐฉิน
          บันทึกประวัติศาสตร์ของไท่ฉื่อกงชู ปัจจุบันเรียกกันว่า บันทึกของฉื่อ หรือฉื่อจี้ เป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดย ซือหม่าถัน หัวหน้าขุนนางฝ่ายอาลักษณ์ใน สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก และบุตรชาย คือ ซือหม่าเชียนที่รับตำแหน่งหัวหน้า ขุนนางฝ่ายอาลักษณ์ ได้เขียนต่อจนจบ ประมาณ 94 ปีก่อนคริสศักราช
          เนื้อหาตั้งแต่ 2,500 ปีก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคสมัยฮั่น ในรัชกาล ฮ่องเต้ฮั่นอู่ ซึ่ง เป็นรัชสมัยที่ซือหม่าเชียนสิ้นชีวิต
           บันทึกหนังสือไม้ไผ่รายปี  จู๋ชูจี้เหนียนหรือจี๋จ่งจี้เหนียน หรือ หนังสือ รายปีแห่งเนินจี๋ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์จีนอีกฉบับที่เนื้อหาใกล้เคียงกับยุคสมัย ในหนังสือฉื่อจี้ของซือหม่าเชียนนับที่เป็นพงศาวดารจีนโบราณที่บันทึกเรื่องราว ตั้งแต่ต้นยุคสมัยปรัมปราในสมัยสมเด็จเจ้าเหลือง จนถึงปี 299 ก่อนคริสศักราช โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นของรัฐเว่ย์ ในยุคสมัยรณรัฐ หรือ ยุคชุนชิว         
          หนังสือไม้ไผ่รายปีต้นฉบับได้ฝังพร้อมกับศพของราชาเว่ย์เซียง แห่ง รัฐเว่ย์  เมื่อ 296 ปีก่อนคริสศักราช และค้นพบในราว 600 ปีต่อมาเมื่อ ค.ศ.281 ตรงกับช่วงยุคราชวงศ์จิ้น     ดังนั้นเอกสารนี้จึงไม่ถูกทำลายไปในคราวที่จิ๋นซี ฮ่องเต้สั่งให้เผาหนังสือ เมื่อปี 213 ก่อนคริสศักราช มีเอกสารอื่นที่พบในสุสาน เดียวกัน มี กั๋วอวี่, อี้จิง, และ มู่เทียนจื่อจ้วน เป็นต้น
           ผู้รวบรวมและคัดลอกเอกสารนี้เป็นเหล่าราชบัณฑิตในยุคสมัยต่างๆ เนื้อหาถูกเขียนไว้บนม้วนไม้ไผ่ที่เรียกว่า เจี่ยนตู๋￿ทำให้ได้ชื่อว่าจู๋ชูจี้เหนียน อันแปลว่า หนังสือไม้ไผ่รายปี￿
            เมื่อ ตู้อวี้ ขุนนางราชบัณฑิตได้ตรวจดูหนังสือไม้ไผ่รายปีต้นฉบับที่เป็น ม้วนไม้ไผ่ 13  ม้วน  แล้วระบุว่าเนื้อหาเริ่มต้นด้วยราชวงศ์เซี่ย  แต่เมื่อใช้ปฏิทิน บราณก่อนสมัยราชวงศ์ฮั่น กลายเป็นว่า ยุคสมัยเริ่มแรกของจีนเป็นยุค สามราชา ห้าสมเด็จเจ้า โดยถือสมเด็จเจ้าเหลืองเป็นต้นกำเนิดของเชื้อสายชาวจีน ถัดจาก ยุคสามราชาห้าสมเด็จเจ้าเป็นยุค ราชวงศ์เซี่ย

ตารางสืบสกุล
รุ่นที่ 1 : สมเด็จเจ้าเหลือง
รุ่นที่ 2 : โอรส เฉ่าเฮาและชางอี้
รุ่นที่ 3 : เฉ่าเฮา > เจี่ยวจี๋
รุ่นที่ 3 : ชางอี้ > จวันซวี
รุ่นที่ 4 :  จวันซวี > ฉยงฉาน, กู่แห่งฉู่, ?, เชิง, เถ่าอู้,
            หวังเหลี่ยง
รุ่นที่ 5 : คู่ > จื้อ, เซี่ย, เหยา, โฮ่วจี้, จิ้ง
รุ่นที่ 5 : ฉยงฉาน > จิ้ง
รุ่นที่ 5 : เชิง > เหลาถง
รุ่นที่ 5 : ? > ?
รุ่นที่ 6 : จิ้ง > ตันจู, เอ่อหวัง, นวี่อิ๋ง
รุ่นที่ 6 : เหลาถง > จวี๋ว่าง
รุ่นที่ 7 : จวี๋ว่าง > เฉียวหนิว
รุ่นที่ 8 : เฉียวหนิว > กู่โส่ว
รุ่นที่ 9 : กู่โส่ว > ชุ่น
รุ่นที่ 5 : ? > กุ่น
รุ่นที่ 6 : กุ่น > ยหวี่
รุ่นที่ 5 : เชิง > จูหรง, อู๋หุย
รุ่นที่ 6 : อู๋หุย > ลู่จง
รุ่นที่ 7 : เอ่อหวัง, นวี่อิ๋ง > ชางจวิน
รุ่นที่ 7 : ลู่จง > คุนอู๋, เชินหู เผิงจู่  ฮุ่ยเหวิน จี๋เหลิน เฉา

             ภายหลัง หนังสือไม้ไผ่รายปีต้นฉบับได้สูญหายไปในช่วงยุค ราชวงศ์ ซ่ง บัณฑิตชื่อ ซ่งฉือ ได้ใช้เอกสารคัดลอกที่เขียนด้วยไม้ไผ่ เมื่อ ค.ศ.1345 จำ นวน 3 ม้วน แต่ต่อมาเหลือปรากฏเพียง 2  ม้วนไม้ไผ่  ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 จึงได้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นกระดาษหนังสือครั้งแรก
           ม้วนที่ 1  บรรยายเรื่องย่อเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินสมัยก่อนมีราชวงศ์  เริมตั้งแต่ สมเด็จเจ้าเหลือง ตามมาด้วยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ชาง มีข้อความ บรรยายเกี่ยวกับลางร้ายต่างแทรกเป็นระยะ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความใกล้เคียงกับ ในหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ของซ่งฉือ
           ม้วนที่ 2  มีเนื้อหาที่แปลกพิสดารเกี่ยวกับราชวงศ์โจวตะวันตก, รัฐจิ้น, และรัฐเว่ย์ โดยไม่มีคำบรรยายเกี่ยวกับลางร้ายเหมือนในม้วนแรก ใช้วันเดือนปี ในปฏิทินกานจือ ซึ่งเริ่มใช้ในราชวงศ์ฮั่น   แต่ก็มีข้อความที่ขัดแย้งกับเอกสาร อื่นๆ ทำให้นักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมาและปัจจุบัน  เช่น เฉียนต้าซิน แห่งราช วงศ์ชิง และซินโซ ชินโจ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต  ในยุคสาธารณรัฐจีน ต่าง เชื่อ ว่าเรื่องราวในบันทึกเป็นเรื่องราวที่สร้างขึ้นมา เพื่อประโคมโอ่ราชวงศ์ใน แต่ละยุคสมัยจนเกินเลยจากความจริง
           นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก เช่น เดวิด เชเพิร์ด นิวิสัน และ เอดเวิร์ด แอล เชาเนสซี  พยายามแยกข้อความที่เป็นความจริง ออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นจน เกินจริง ในเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ดังกล่าว   
            นักประวัติศาสตร์บางคน เช่น  หวังกั๋วเหวย์ แห่งราชวงศ์ชิงพยายามหา หลักฐาน มาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อความในส่วนที่เป็นความจริง
           ต้นฉบับที่สูญหายไปในช่วงราชวงศ์ซ่   งทำให้ข้อความที่บันทึกในภาย หลังในที่พบในปัจจุบันไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัด จึงเชื่อกันว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น เพราะมีความขัดแย้งกับเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์อื่น ถึงแม้จะมีบางส่วนที่เกิด ขึ้นจริงไม่ได้แต่งเติมแก้ไข

อันดับผู้ปกครองในยุคซานหวงอู้ตี้ มี 11 พระองค์
1) โหย่วเฉา
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์ 3162 BC - 2962 BC (200 ปี)

2) ซุ่ยเหริน
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2962  - 2852 BC (110 ปี)

3) ฝูซี
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2852 - 2737 BC (115 ปี)

4) สมเด็จเจ้าหยาน หรือ เฉินหนง
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2737 - 2698 BC  (39 ปี)

5) สมเด็จเจ้าเหลือง หรือ หวงตี้
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2698  - 2598 BC  (100 ปี)

6) เช่าเฮ่า
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2597 - 2514 BC  (83 ปี)

7) จฺวันซฺวี
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2514  - 2436 BC  (78 ปี)

8) คู่
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2436 - 2366 BC  (70 ปี)

9) จื้อ
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2366 - 2358 BC  (8 ปี)

10) เหยา
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2356 -  2255 BC  (101 ปี)

11) ชุ่น
ประสูติไม่ปรากฏ  ครองราชย์  2255 - 2208 BC  (47 ปี)

 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา