ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป

-

เขียนโดย Domewriter

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.

  20 ตอน
  0 วิจารณ์
  6,276 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

12) ยุคราชวงศ์โจว 3

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

 

การปกครองของราชวงศ์โจว

           ตำแหน่งฮ่องเต้และฮองเฮา ทั้งบรรดาศักดิ์ของญาติพี่น้อง นับแต่โบราณ มีรูปแบบเดียวกัน มีการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยและเรียกแตกต่างกันไปตามภาษา ท้องถิ่นในยุคสมัยนั้น

เชื้อพระวงศ์

1) ไทชางหวัง  ตำแหน่งของบิดาของฮ่องเต้ หรือ ผู้สละราชบัลลังค์ให้ฮ่องเต้

 

2) ไท่โฮ่ว แบ่งได้ 3 ชั้น
2.1. ไท่หวงไท่โฮ่ว หรือ ไทฮองไทเฮา เป็นมเหสีในฮ่องเต้องค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกา ย่าทวดในฮ่องเต้ปัจจุบัน อาจจะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือ เลี้ยง ของ ฮ่องเต้ก็ได้ ตำแหน่งไท่ฮองไทเฮาไม่นับรวมระดับในระบบ 9 ขั้น
2.2. หวงไท่โฮ่ว หรือ  ไท่โฮ่ว  หรือ ฮองไทเฮา เป็นมเหสีในฮ่องเต้องค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น หรือย่า หรือ มารดาในฮ่องเต้องค์ปัจจุบัน ถ้าฮ่องเต้องค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นโอรสที่เกิดจากจักรพรรดินีองค์ก่อน ผู้เป็นพระชายา พระสนม หรือนางในที่เป็นพระมารดาของฮ่องเต้องค์ปัจจุบัน มักจะได้รับตำแหน่งเป็นฮองไทเฮาทั้งหมด หากมีไท่เฮาเดิมอยู่ก่อน ในรัชสมัยหนึ่งอาจมีไทเฮาได้ 2 พระองค์หรือไม่ก็ได้ ตำแหน่งไท่เฮาไม่นับรวมระดับในระบบ 9 ขั้น
2.3. ตี้ไท่โฮ่ว กรณีแม่ของฮ่องเต้ยังไม่ได้รับยศฮองไท่เฮา ตำแหน่งตี้ไท่เฮาไม่นับรวมระดับในระบบ 9 ขั้น

 

3) หวังกั๋วไท่เฟย หรือ หวังไท่เฟย ขั้น 1 ชั้นเอก ตำแหน่งนี้กำหนดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง หลังจากนั้นจึงใช้เรื่อยไป  เป็นตำแหน่ง ของพระชายาและพระสนมหรือนางในที่เป็นมารดาของโอรสของฮ่องเต้ที่ได้รับ ตำแหน่งอ๋องจึงจะได้ตำแหน่งนี้ก็ต่อเมื่อสิ้นฮ่องเต้องค์ปัจจุบันแล้ว
         สำหรับพระชายาพระสนม หรือนางในที่ได้ให้กำเนิดพระธิดา เมื่อถึงรัชสมัย ฮ่องเต้องค์ถัดมาจะมีตำแหน่งเป็นไท่อี๋ ซึ่งมีศักดิ์รองลงมาอีกขั้นหนึ่งแทน

4) ฮ่องเต้ หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ
           ฮ่องเต้ เป็นตำแหน่งจุดสูงสุดของชนชั้นฐานันดรศักดิ์  ข่วงยุคแรกสุด ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานของกษัตริย์ คำจีนที่ใช้กับกษัตริย์ เรียกว่า อู้ หรือ หฺวัง แปลว่า สมเด็จเจ้า และ ตี้  แปลว่า ราชา  ใช้เรียกขานด้วย 2 คำดัง กล่าวเริ่มสืบทอดมาจากยุคสมัยสามราชาห้าสมเด็จเจ้า￿
           กษัตริย์ในสมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ชาง เรียกตนเองว่า ￿ตี้￿
           กษัตริย์ช่วงราชวงศ์โจวเรียกตนว่า￿หวัง￿หรือ กั๋วหวัง￿
           ยุคสมัยแห่งราชวงศ์ฉิน     ฉินฉื่อหฺวังตี้ คิดค้นคำว่า  หฺวังตี้  หรือ สมเด็จ ราชา หรือ จักรพรรดิ หรือ ฮ่องเต้   ขึ้นใช้เรียกตนเอง   เมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล โดยนำคำเดิมคือ หฺวัง￿ที่แปลว่า มิ่งมงคล กับ ตี้￿ ที่แปลว่า เจ้า หรือเทพเจ้า มารวม กัน คำนี้มักแปลกันว่า￿จักรพรรดิ￿ และนับแต่นั้น กษัตริย์จีนก็เรียกว่า￿หฺวังตี้￿มาจน ราชวงศ์สุดท้าย คือ ราชวงศ์ชิง ที่ล่มสลายลงใน ค.ศ.1911

 

7) หวงโฮ่ว หรือ ฮองเฮา    เป้นเมเหสีเอกขององค์ขอฮ่องเต้องค์ปัจจุบัน ซึ่งส่วน ใหญ่จะต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ  และมีได้ตำแหน่งเดียว  ฮองเฮามีศักดิ์สูงสุดใน การปกครองฝ่ายในปกครอง 3 วัง 6 ตำหนักภายในวังหลัง     ตำแหน่งฮองเฮาไม่ นับรวมระดับในระบบ 9 ขั้น กับพระชายาและพระสนมอื่นๆ
          สำหรับมารดาขององค์จักรพรรดิที่ไม่ได้เป็นฮองเฮา เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ จะได้รับการ อวยยศแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์

8) จวิน   ตำแหน่งที่แต่งตั้งให้พี่สาวหรือน้องสาวของฮ่องเต้ที่ไม่อาจมียศกงจู่ เพื่อได้รับบรรดาศักดิ์เทียบเท่ากงจู่กับอ๋องชั้นเลี่ยโหว ได้รับที่ดินพระราชทาน ที่เรียกว่า ทังมู่อี้ หรือพื้นที่ให้เก็บภาษีเป็น รายได้

 

9) หวงไท่จื้อ หรือ องค์รัชทายาท
          ฐานันดรศักดิ์ของกษัตริย์มักส่งผ่านจากบิดาสู่บุตร ซึ่งมักเป็นบุตรคนหัวปี ที่เกิดจากภรรยาหลวง หรือมิฉะนั้นก็เป็นบุตรคนหัวปีของภรรยาที่มีศักดิ์รองลงมา  แต่กฎดังกล่าวไม่ตายตัว โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาการสืบราชบัลลังก์ซึ่งนำไปสู่ สงครามกลางเมือง
9.1. หวงไท่จื่อเฟย มเหสีขององค์รัชทายาท สามารถแต่งตั้งได้ 1 คน เมื่อครอง ราชเป็นฮ่องเต้ มักได้เลื่อนเป็นฮองเฮาตำแหน่งพระชายาขององค์รัชทายาท
9.2. พระสนมของหวงไท่จื้อ มี 5 ลำดับตำแหน่ง
9.2.1. เหลียงตี้ พระสนมไท่จื่อขั้น 3  ผู้ประพฤติดีงาม สามารถแต่งตั้งได้ 2 คน คนที่สองมักเรียกว่า หรูจื่อ อนุมเหสีชั้นสูง
9.2.2. เหลียงเยวี่ยน หรือ พระสนมไท่จื่อขั้น 4 ผู้งามละออจับใจ สามารถแต่งตั้ง ได้ 6 คน
9.2.3. เฉิงฮุย พระสนมไท่จื่อขั้น 5  ผู้ได้รับความทรงเกียรติ สามารถแต่งตั้งได้ 10 คน
9.2.4. เจาซวิ่น พระสนมไท่จื่อขั้น 7  ผู้เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถแต่งตั้งได้ 16 คน
9.2.5. เฟิงอี้ พระสนมไท่จื่อขั้น 9 ผู้งามตาน่าเคารพ สามารถแต่งตั้งได้ 24 คน
9.3. หวงซุนและหวงซุนหนี่ โอรสและบุตรสาวของหวงไท่จื้อซึ่ง จะได้รับบรรดา- ศักดิ์เทียบเท่ากับอ๋องชั้นเลี่ยโหว ได้รับที่ดินพระราชทาน ทังมู่อี้ เก็บภาษีเป็นราย ได้  ซึ่งหวงซุนมักได้รับยศอ๋องที่มีสิทธิปกครองดูแล
9.4. หวงเจิงซุน โอรสของหวงซุน

 

10) พระสนม ยุคสมัยราชวงศ์โจว
           หนังสือโจวหลี่ ซึ่งเขียนขึ้น 200 ปีก่อนคริสตกาล ระบุว่า คู่ครองของ กษัตริย์มีฐานันดรศักดิ์จากสูงไปต่ำ มี 3 ขั้น ดังนี้
ยศลำดับ 2 :  ผิน มี 9 ตำแหน่ง
ยศลำดับ 3 :  ชื่อฟู่ มี 27 ตำแหน่ง
ยศลำดับ 4 :  ยฺวี่ชี มี 81 ตำแหน่ง
         ระดับและตำแหน่งมเหสีฝ่ายในของวังหลังสมัยราชวงศ์ถังนั้น ใช้ระบบ 9 ขั้น ซึ่งใช้สำหรับขุนนาง และชนชั้นสูงในสมัยนั้นด้วย ทั้งยังเป็นต้นแบบของการ แบ่งระดับขั้นต่างๆ ในราชสำนักเกาหลีและราชสำนักญี่ปุ่นในบางยุคสมัยก่อน

 

11) อ๋อง

         ลำดับบรรดาศักดิ์ของราชสำนักจีน ระบบขุนนางมีการเปลี่ยน ไปเปลี่ยนมา ตามใจฮ่องเต้ โดยเฉพาะในสมัยสามก๊กที่เป็นยุคขุนศึก ใครมีกำลังมากกว่าก็ชนะ แผ่นดินแตกแยกเป็นร้อยปี ระบบขุนนางจึงไม่แน่นอน

          ขั้นยศตำแหน่งก่อนยุคราชวงศ์หมิง    บรรดาศักดิ์ทั้งหมดหากไม่มีความดี ความชอบจะลดลงทุกรุ่นจนหมด หากมีความดีความชอบอาจได้เลื่อนขึ้น และยังมี แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่าขึ้นให้ได้ หรือคงบรรดาศักดิ์ในคนรุ่นใหม่ถัดไป
         สำหรับอ๋องหรือขุนพลบางคนที่มีตำแหน่งแม่ทัพถือครองตรากำลังทหาร และขุนนางที่ครองตำแหน่งในหน่วยงานสำคัญ ฮ่องเต้จะมีระแวงมาก

อ๋อง มี 3 แบบ คือ
ยกเว้น ยศตำแหน่งเซิ่งเจิ่นอ๋องหรือตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ
1. ชินอ๋อง  เป็นพี่น้องหรือลูกฮ่องเต้ ตัวอย่างเช่น เสียนชินอ๋อง ใส่ชื่อนำหน้ายศ
2. จวิ้นอ๋อง  เป็นพี่น้องหรือลูกฮ่องเต้ ลูกสนมหรือลูกของผู้สืบทอดของชินอ๋อง ยศจะลดลงเรื่อยๆตามลำดับ
3. อ๋องแต่งตั้ง  ขุนนางที่มีความดีความชอบสูงเช่นแม่ทัพที่ปกป้องยุทธศาสตร์ สำคัญ  อ๋องชายแดนเป็นผู้มีความชอบในการชิงหรือปกป้องแผ่นดิน
          

คำตามตำแหน่งอ๋องแบ่งได้ 4 แบบ
1. คำตามตำแหน่งอ๋อง โดยใช้ชื่อรัฐ ที่มาจากยุคจ้านกว๋อ หรือ ชุนชิว แคว้นโจว ตะวันออก มีรัฐใหญ่และน้อยเป็นเมืองขึ้น รัฐใหญ่ประกอบด้วย 4 รัฐ คือ รัฐฉิน, รัฐจิ้น, รัฐฉี และรัฐฉู  ถูกนำมาเป็นคำตามตำแหน่งอ๋องซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดเช่น ฉินอ๋อง, จิ้นอ๋อง เป็นต้น
2. คำตามตำแหน่งอ๋อง โดยใช้ชื่อราชวงศ์ต่างๆ ที่อยู่ในยุคจ้านกว๋อหรือชุนชิวและ ยุคก่อน หน้า เช่น โจว, หลู่,  จ้าว, เว่ย, เหลียง, เยี่ยน, ไต้, เฉิน, หาน, ซ่ง, อู๋, เยวี่ย  เป็นต้น
3. คำตามตำแหน่งอ๋อง โดยใช้ชื่อ มณฑล
4. คำตามตำแหน่งอ๋อง โดยใช้คำที่มีความหมายดีๆ เช่น โซ่วอ๋อง แปลว่า อายุยืน ยาว เป็นต้น

บรรดาศักดิ์อ๋อง ทั้ง 6 ชั้น คือ หวัง, กง, โหว, ปั่ว, จือ, หนาน บรรดาศักดิ์เหล่านี้ ไม่ใช่ตำแหน่งในราชการ แต่เป็นบรรดาศักดิ์ที่มีศักดินา เงินเดือน และกำลังทหาร มากน้อย ดังนี้

1. อ๋องชั้น 1 หวัง หรือ หวาง  มี 2 ขั้น
1.1. ซื่อหวัง ขั้น 1 ชั้นเอก เป็นบรรดาศักดิ์นี้เฉพาะเชื้อพระวงศ์ชายเท่านั้น โดยสืบ ทอดให้โอรสได้ เรียกว่า ซื่อหวัง     ในสมัยยุคราชวงศ์ชิง บรรดาศักดิ์หวังเป็นแค่ ตำแหน่งไม่มีอำนาจทางทหารและสิทธิปกครองดินแดน
         เริ่มแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่นรวบร่วมแผ่นดินเป็นหนึ่ง ได้ตั้งบรรดาศักดิ์ หวัง ให้อ๋องต่างๆ ที่มิใช่เชื่อเชื้อสายฮ่องเต้ แต่มีส่วนช่วยรวบร่วมแผ่นดินเป็นหนึ่ง

          หลังจากรวบร่วมแผ่นดินเป็นหนึ่ง อ๋องหวังต่างๆ เริ่มแข็งข้อจึงมีการยก เลิกตำแหน่งหวังให้อ๋องต่างๆ เหลือเพียง ฉางซาหวัง ตระกูลอู๋ ที่ภักดีไม่เปลี่ยน รัฐฉางซาสืบทอดบรรดาศักดิ์อ๋องหวัง ถึง 5 รุ่น  ไร้ผู้สืบสกุลจึงยกเลิกตำแหน่ง อ๋องหวังแก่ผู้ไม่มีเชื้อสายของฮ่องเต้
         ในสมัยฮั่นยุคกลาง 60 กว่ารัฐทางตะวันตกถูกยุบรวมเหลือ 7 รัฐ ทั่วแผ่นดิน เหลือ 20 กว่ารัฐที่มีอ๋องหวังจากเชื้อสายฮ่องเต้ไปปกครองดูแล อำเภอเหลือ 2 - 4 อำเภอ ตัวอย่างเช่น กว่างหลิงอ๋อง โอรสฮั่นอู่ตี้และพระสนมลี่จี ปกครองรัฐกว่าง-หลิน (กวงหลิน) ประกอบด้วย4 อำเภอ กว่างหลิน เจียงตู เกาโหยว และผิงอัน
ตำแหน่งพระชายาของซื่ออ๋อง มี 1  มเหสีเอก และ 12 ชั้นพระสนม
1) หวังเฟย มเหสีเอกของอ๋อง สามารถแต่งตั้งได้ 1 คน
2) หรูเหริน พระสนมอ๋องขั้น 5 สามารถแต่งตั้งได้ 2 คน
3) อิ้งซื่อ พระสนมอ๋อง ขั้น 6 ชั้นเอก อิ้ง เจ้าสาวตระกูลสูงศักดิ์ สามารถแต่งตั้งได้ 10 คน

 

ตำแหน่งบุตรของอ๋อง

1.1. เวิงจู  บุตรีของอ๋องชั้นหวัง หากได้รับความโปรดปรานจากฮ่องเต้ จะได้รับ บรรดาศักดิ์เทียบเท่ากับอ๋องชั้นเลี่ย- โหว ได้รับที่ดินพระราชทาน ทังมู่อี้ เก็บภาษี เป็นรายได้
1.2. จวิ้นหวัง ขั้น 1 ชั้นโท  ให้กับเชื้อพระวงศ์ที่เป็นโอรสและพระนัดดา  คำตาม ส่วนใหญ่มี 2 อักษร ตามชื่อมณฑลและเมืองใหญ่ๆ
ตำแหน่งพระชายาของจวิ้นอ๋อง มี 1 มเหสีเอก และ 10 พระสนม
1. จวิ้นฟูเหริน หรือ จวิ้นหวังเฟย ท มเหสีเอกของอ๋อง สามารถแต่งตั้งได้ 1 คน เป็น ตำแหน่งชายาเอกของจวิ้นกง ภริยาเอกของไคกั๋วจวิ้นกง และยังเป็นตำแหน่ง สำหรับมารดาหรือภริยาเอกของข้าราชสำนักขั้น 3 ขึ้นไปอีกด้วย   นอกจากนี้ สตรี ในครอบครัวของพระชายา, พระสนม,  หรือข้าราชสำนักที่ได้รับความโปรดปรานก็ อาจได้รับตำแหน่งนี้เช่นกัน
2) อิ้งซื่อ  พระสนมอ๋องชั้น 6 ขั้นโท หญิงสาวสูงศักดิ์ที่มาเป็นนางสนม สามารถ แต่งตั้งได้ 10 คน       ในสมัยราชวงศ์ถัง นอกจากซื่ออ๋อง, จวิ้นอ๋อง ที่สามารถมี พระชายารองได้แล้ว กั๋วกง ไปจนถึงขุนนางชั้นสูง ตั้งแต่ขั้น 5 ขึ้นไปก็สามารถมี ภริยารองได้มากน้อย ตามระดับชั้น โดยปกติในราชวงศ์อื่นๆ ขุนนางชั้นสูงถึงแม้ จะมีภริยารอง แต่ก็ถือว่าเป็นอนุภรรยาไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย  ซึ่งจะ อยู่ นตำแหน่งอิ้งซื่อ ตามขั้นที่แตกต่างกันไปดังนี้

 

2.อ๋องชั้น กง  มี 3 ขั้น หรือเรียกว่า เจ้าพระยา
2.1. กั๋วกง ชั้น 1 ขั้นโท ให้กับเชื่อพระวงศ์และขุนนางใหญ่ เป็นเชื้อพระวงศ์เรียก ว่า กั๋วกง      ส่วนใหญ่เป็นพระนัดดาและพระปนัดดา หากเป็นขุนนางใหญ่เรียกว่า ไคกั๋วกง ซึ่งมีความดีความชอบช่วยกู้ชาติยามวิกฤต  ซึ่งอาจมีดินแดนครอบครอง หรือไม่ก็ได้  ส่วนผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์กง หากไม่มีผลงานจะถูกให้ทำงานที่มี  แต่ บรรดาศักดิ์แต่ไม่มีอำนาจ    ในสมัยราชวงศ์ฮั่นมีเพียงฮั่นเซี่ยนตี้เท่านั้นที่แต่งตั้ง ยศกงให้ เว่ยกงและเฉาเซ่า หรือ โจโฉ
2.2. จวิ้นกง ชั้น 2 ขั้นเอก  สามารถสืบทอดบรรดาศักดิ์ให้โอรสได้   ส่วนใหญ่เป็น พระนัดดาและพระปนัดดา  หากเป็นขุนนางจะเรียกว่าไคกั๋วจวิ้นกงเสี้ยนกง ขั้น 3 ที่ จะไม่สามารถสืบทอดบรรดาศักดิ์ให้ลูกหลานได้
ตำแหน่งพระชายาของอ๋องชั้นกง มี 1 มเหสีเอก และ 10 พระสนม
1. กั๋วฟูเหริน ชั้น 1 เป้นมเหสีเอกของอ๋องชั้นกง หรือ ไคกั๋วกง สามารถแต่งตั้งได้ 1 คน นอกจากนี้สตรีในครอบครัวของพระชายา พระสนม หรือข้าราชสำนักที่ได้รับ ความโปรดปราน เช่น พี่สาว น้องสาว ก็อาจได้รับตำแหน่งนี้เช่นกัน  มเหสีเอกของ ไคกั๋งกงหรือจวินกง ยังอาจได้รับยศหู้กว๋อฟูเหรินได้ หากสามีกระทำความดีความ ชอบยิ่งใหญ่
2. อิ้งซื่อ ขั้น 7 ชั้นรอง ตำแหน่งสนมรองของกั๋วกง ภริยารองของไคกั๋วกง และ ขุนนางขั้น 3 สามารถมีได้ 6 คน    ส่วนคำว่า กงหนี่ เรียกบุตรีของอ๋องชั้นกงและ เลื่ยไหว เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน

3. อ๋องชั้น โหวโหว โหว โหรือ เลี่ยโหว ชั้น 3  แต่งตั้งให้เชื้อพระวงศ์ฝ่ายนอกและขุน- นางที่ได้รับพระราชทานที่ดินและรายได้จากภาษีในเขตที่ดินนั้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีอำนาจปกครองและไม่สามารถสืบทอดให้บุตรหลานได้  ตำแหน่งไท่ฟูเหริน บรรดาศักดิ์มเหสีเอกของเลี่ยโหวที่เป็นมีฐานะเป็นย่าแล้ว

4. อ๋องชั้นคือ  ปั่ว, จือ, หนาน  ชั้น 4-6   ไม่สามารถสืบทอดบรรดาศักดิ์ให้ลูก หลานได้
ตำแหน่งพระชายาของอ๋องชั้น     3-6 คือ โหว, ปั่ว, จือ, หนาน มีมหสีเอก และนาง สนมได้ลดลงตามลำดับยศชั้น

ซ่างกง

ขุนนางใหญ่ฝ่ายในราชวังใกล้ชิดกับราชา มี 3 ตำแหน่ง ได้แก่
1.ไท่ชือ อาจารย์ใหญ่
2.ไท่ฟู่  ครูใหญ่
3.ไท่เป่า องครักษ์ใหญ่ และทหารองครักษ์ประจำราชวัง โดยฟังคำสั่งเฉพาะฮ่องเต้

 

กรมต่างๆ  

         รูปแบบการปกครองของขุนนางสืบทอดจากยุคราชวงศ์ก่อน และมีการปรับ ปรุงพัฒ นาอย่างต่อเนื่อง

1. กรมทหาร ไท่เว่ย หรือ แม่ทัพใหญ่ดูแลทหารทั้งหมด แต่อยู่ใต้บังคับบัญชา ของฮ่องเต้ ซึ่งร่วมถึงทหารในราชวัง แม่ทัพใหญ่มีอำนาจเสนอผู้มีความสามารถ เป็นองค์รักษ์ทหาร แต่ไม่มีอำนาจแต่งตั้งและปรับเปลี่ยนทหารองค์รักษ์ในราชวัง

2. กรมยุติธรรม หน้าที่บัญญัติกฏหมายกับบทลงโทษ คดีความที่ซับซ้อน และสุดวิสัยส่ง รายงานฮ่องเต้ตัดสินเป็นขั้นสุดท้าย
3. กรมขันที  มีหน้าที่ช่วยเหลืองานของนางในเกี่ยว เฉพาะเรื่องชีวิตส่วนตัวต่างๆ ของเชื้อพระวงศ์และฮ่องเต้    เหล่าขันทีนอกจากขันทีใหญ่ดูแลแล้วจะคอยรับฟัง คำสั่งเฉพาะฮ่องเต้

4. กรมนางกำนัล โดยนางกำนัลในราชวังจะมีฮองเฮาควบคุ้มดูแลงานในราชวัง รับใช้ ขุนนางผู้ใหญ่และเชื้อพระวงศ์ในราชวัง

5. กรมพื้นที่อาคาร ดูแลอาคาร สวน พื้นที่ท้งหมดในราชวัง

6. กรมพิธีการ งานธุรการและงานพิธีการในและนอกราชวังกรม

7. กองคลัง จัดเก็บภาษีการจัดสรรงบประมาณที่ได้จากเงินภาษี

 

การสอบขุนนางเข้ารับราชการ

           ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนในยุคสมัยสมบูร- ณาญาสิทธิราชย์กำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุขุนนาง   สำหรับระบบราชการของราช- สำนักหรือรัฐบาล     
           การสอบขุนนาง เริ่มต้นขึ้นในช่วงราชวงศ์เหยาหรือราชวงศ์โจว  ในปี 1046-256 ก่อนคริสตกาล ยุคสมัยราชวงศ์โจว มีการคัดเลือกขุนนางจากการ สัมภาษณ์องค์ความรู้และทดสอบแข่งขันในการต่อสู้ เช่น ยิงธนู เพื่อปรับเลื่อน ตำแหน่งขุนนาง เป็นต้น

           แต่ในยุคสมัย แรกๆ ยังไม่ได้จัดเป็นระบบชัดเจน ดังนั้นไม่มีใช้คำเรียกว่า จอหงวน ที่เป็นตำแหน่งผู้สอบได้คะแนนสูงสุด ซึ่งเป็นระบบสอบรับบุคคลเข้ารับ ราชการของยุคต่อมาในสมัยราชวงศ์สุย

 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา