โฉมงามกับเจ้าชายอสูร

3.3

เขียนโดย Bush

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 08.20 น.

  5 ตอน
  0 วิจารณ์
  6,952 อ่าน
แชร์เรื่องสั้น Share Share Share

 

3) เนียงเขมา

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

เนียงเขมา

บ้านสะพานยาว บางปลาสร้อย

“ด้ามธง ปักธงขึ้นเป็นหลัก   ก่อนฉีก “ธง” ว่าหนักนักเอาหลักไว้....... ผืนธงเปื้อนคราบน้ำตาสิ้นค่าไป ยึดเอาหลักเอาด้ามไม้ไปต่อตี”

สาวงามเมืองชลเชื้อสายจีนจับผลัดจับผลูไปตกแต่งเป็นสะใภ้เจ้าเมืองลาว ก่อเกิดเชื้อพระวงศ์ลาวหลายหน่อองค์ หลายราชสกุล มีถึงชั้นหม่อมเจ้า หลายคนเป็นที่รู้จักอย่างเช่น เจ้าของวังละโว้ วังดิศกุล วังจักรพงศ์ วังสวัสดิวัฒน์ นักร้องชื่อดังก้องฟ้าเมืองไทยเจ้าของสูตรอาหารการบินไทยผู้พิพากษาผู้ต้องอาญาแผ่นดินเหตุเพราะปลอมคุณวุฒิมารับราชการในกระทรวงยุติธรรม อาชีพเดิมของหม่อมสาวงามตาผู้นี้ครอบครัวประกอบอาชีพหาบไหน้ำปลาขาย

มีเรื่องเล่าว่า น้ำปลาหมักจากไหของบ้านนี้อร่อยเพราะ ไส้หู้ สูตรพิเศษ  แต่ที่ไหนได้ คือการนำเอาสิ่งมีชีวิตมาใส่ดองลงไปในไหน้ำปลา

เขมะโยธิน คือหนึ่งในนามสกุลผู้สืบเชื้อสายจากครอบครัวนี้ ได้รับพระราชทานนามสกุลมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๖  ส่วนใหญ่รับราชการกระทรวงการต่างประเทศเป็นเอกอัครราชทูต อุปทูต และทูตานุทูต

“กบกินเดือน”

วันเพ็ญ ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา  

“เฮ้ย ตีเกราะเคาะไม้ ราหูอมจันทร์บ้านเมืองจะระส่ำระส่ายรึไงว่ะ”

เสียงชาวบ้านไทยอิสานฮ้องกันซอยเซ็งแซ่

“ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง”

วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน สิบ ปีระกา ชาวมอญเมืองชลจะตักบาตร อาหารคาวหวานพร้อมกับบาตรสำหรับใส่น้ำผึ้งบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นพลีบูชาพระมันตระเถระ สำหรับท่านใช้ประกอบเป็นยารักษาโรค แต่ครั้งพุทธกาล

“ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเอกฉันท์ นางสาวไทยประจำปี พ.ศ ๒๕๕๗ ได้แก่ มล.กิ่งเดือน  เขมะโยธิน” หรือ คุณเกิ้ง สิ้นเสียงผู้ประกาศบนเวทีทำเอาหลายคนใจแกว่งเพราะคุณเกิ้งเดิมเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของครอบครัวโรงเกรอะน้ำปลาสูตรพิเศษ   แถวสะพานยาวจนใคร ๆ พากันแซวว่าผลิตน้ำปลารสเลิศ

สักพักเดียว   บรรดาผู้ชมพากันประท้วงส่งเสียงโห่ขับไล่ความเลยแตกว่าเธอแอบอ้างคุณวุฒิ อ้างความเป็นราชสกุล

“แพะชราตัวหนึ่งขโมยขนหลุดร่วงจากปีกนกพิราปกลับบ้านระหว่างทางในป่ายางรกครึ้มตะวันพลบส่องกระทบสรรพสิ่งผืนแผ่นดินแตกแยกระหว่างคำขู่ และการร้องขอชีวิต...”

ประพันธ์โดยกาลิทาส

วันศุกร์ที่ ๓ มกราคม พ.ศ ๒๕๕๗

“เสียดายช้อยชื่น    ทุ่งทอง คูนา

ศรีเกษเกศรสาว     ดอกไม้

มาดลบนผืนนา      ชลเนตร

ชมชิดชู้เชยให้        ร่วงโรยรา

กรุงเทพยศล่มลอยสวรรคาลัยแล้ว ฤาไร”

นาคสะดุ้ง หางหงส์ ใบระการวมประกอบเรียกว่า เครื่องลำยอง ใช้สำหรับประกอบแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมเพื่อใช้ปิดหน้าจั่ว

อันเป็นที่มาของชื่อสาวงามตานามว่า ลำยอง ผู้มีชีวิตทุกข์ยากในสลัมจนเกิดความรู้สึกต่อต้านสังคมรอบตัว จากนั้นเธอพยายามทำทุกอย่างที่เธอคิดเหมาเอาว่า จะทำให้เธอมีกินมีใช้ และมีชีวิตแบบพวกผู้ดีมีเงิน

ราวปี พ.ศ ๒๓๘๔ (แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ)

เจ้าสัวสือหรือพระยาไกรโกษา หรือต่อมาเลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาโชฏึกราชเศรษฐี ผู้แต่งสำเภาของวังหลวง ผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดพระยาไกร และแบ่งที่ดินให้บริษัท อีสเอเชียติ๊กเช่าเป็นที่ทำการ ในปัจจุบันคงเหลือแต่วัดพระยาไกร ท่านเป็นต้นตระกูลของหม่อมสาวงามตา

“ประหนึ่งหนังตะลุงร่ายรำนาฏกรรมบนจอภาพขาดวิ่น บทเพลงความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนยังบรรเลง ผสานเสียงสวดอาซานโหยหวน...สาวงามตาเจ้าเอย....สาวตางามเจ้าเอย”

สินค้าส่วนใหญ่ที่แต่งสำเภาไป คือ ข้าวและเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ชุมชนบางระจัน ศรีสัชนาลัย ด่านเกวียน นอกจากนี้ก็มี พวกกระเบื้องเคลือบ ชนิดเบญจรงค์ลายรดน้ำเขียนเส้นสีทองที่ในหลวงพระนั่งเกล้า ทรงโปรดให้ดัดแปลงมาจากเครื่องสังคโลกเดิมเผาแบบสุโขทัยในเตาทุเรียงที่ขุดจากดินแลงหรือแลง ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ เมื่อสัมผัสอากาศดินชนิดนี้จะมีความแข็งราวกับหินสามารถทนไฟได้ จากนั้นเมื่อเผาเสร็จนำมาเคลือบน้ำยาแบบจีนบนผิวภาชนะ สมัยหลัง ๆ เพิ่มการเขียนลายเส้นสีทองด้วยพู่กันลงไปแต้มสีห้าสีเป็นที่นิยมแพร่หลาย

“ข้า พบว่าเพียงเพื่อจะตื่นจากฝันร้าย และลืม...” บทกวีจากหญิงสาวแห่งแสงตะวัน

  หนัง ชูเชิดภาพหน้า                 

เพลิงโพลง

สือ    ส่งสำเนียงโนง               

พากย์แจ้ว

                            ยุทธ นาธิการโจง                                              

รบแห่ง ทหารแฮ

โกษ   ประกาศคลังแก้ว            

เก็บแก้วการณรงค์

เมิงไตเป๋นเมิงหลอย แปลว่า เมืองไต (รัฐฉาน) เป็นเมืองภูเขา ณ โรงแรมชาร์ล ประเทศพม่า มีรูปภาพหญิงสาวสองคนหน้าตาสวยสง่า คือ เจ้าเกนรีและเจ้ามายาวีแห่งรัฐฉาน ว่ากันว่าทั้งสองท่านเป็นเจ้าหญิงผู้มีหัวคิดแนวสมัยใหม่ หลังจากพม่าถูกรัฐประหารท่านได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ต่างแดน แต่ผู้คนยังคงจดจำได้

ตำนานการสร้างพระนางพญาในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าผู้ริเริ่มคือพระวิสุทธกษัตรีย์ พระมารดาขององค์ดำหรือพระนเรศวร คราวปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะช่วง พ.ศ ๒๑๐๐

เล่ากันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ประดุจพระคุณมารดาคุ้มกาย เกิดจากความเชื่อเรื่องการนำเศษผ้าถุงของแม่มามัดที่ต้นแขนยามออกรบของเหล่านักรบอโยธยา

“เสาะหาไม่เห็นความรักเป็นเช่นใดเล่าหนา.........หญิงยามได้แผลงจากอาสน์ เก่งกาจแข็งแรงยิ่งกว่า อันมือไกวเปลไซร้แต่ไรมาคือเนียงเขมาแม่หญิงงามคู่เมือง”

ปลายเดือน ๘ ปีระกา ณ เมืองนพรัตน์ศรีนครพิงเชียงใหม่

บรรดาขัน ๑๑ พาน ที่บรรจุด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ หมาก พลู เหล้า มะพร้าว กล้วย อ้อย ของ้าว เชือกปะคำ ภู่หูช้าง วางตั้งอยู่จนครบ ๗ วัน ถูกทำพิธีปลดขันตั้ง แล้วยกออกไปจากปรัมพิธีโดยพราหมณ์หนุ่มหลังจากนั้นพระภิกษุจำนวน ๑๐๘ รูปก้าวเท้าเข้ามา สำรวมนั่งสวดพระพุทธมนต์ ถวายไทยทานต่อหน้าเสาอินทขีล หรือเสาหลักเมืองของชาวเชียงใหม่ อำเภอแจ่งศรีภูมิเป็นการบูชาเจ้าแสนห่า เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และน้ำท่าฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล

สาวนางหนึ่งวัยล่วง ๔๐ ปีเดินย่างกายมานั่งทอดสายตาอยู่บนศาลาริมน้ำด้วยน้ำตานองหน้า หลังจากร่วมฟังพระสวดในพิธีบูชาขัน

วัยสาวสะพรั่งเพียง ๑๔ ปี เธออาศัยอยู่ในบ้านหลังใหญ่ซึ่งตั้งขนานกับริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาย่านคลองบางหลวง แรกเริ่มเธออยู่ในฐานะลูกหลาน แต่ต่อมาเลื่อนฐานะมาเป็นเมียเจ้าของบ้านได้บริจาคที่ดินแปลงนั้นให้แก่วัดกัลยาณมิตรหลังจากที่ท่านเสียชีวิต  แม่แก้วกัลยาได้เดินทางมาทางรถไฟแล้วมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่ ต่อมาอยู่กินในฐานะเมียน้อยของเจ้าเชียงใหม่ มีบุตรและธิดาอย่างละหนึ่งธิดาพออายุล่วง ๒๐ ปีได้สมรสเป็นการเอิกเกริกกับทูตยุโรปแต่ด้วยวัยเพียง ๔๐ ปีของแม่แก้วกัลยาเธอเลยตกอยู่ในฐานะเมียน้อยของลูกเขยฝรั่งผู้มีวัยมากกว่าเกือบรอบ ทั้งสองแม่ลูกโต้เถียงกันไม่เว้นแต่ละวัน จนถึงขนาดขึ้นโรงพัก อันเป็นเหตุให้ลูกสาวถึงกับสยายผมเช็ดเท้าผัวฝรั่งเพื่อเป็นการแสดงความรักใคร่ตามประเพณีสาวชาวเหนือบางทีจะพบในภาพสลักศิลาพุทธประวัติเล่าเรื่องพระนางพิมพาแสดงอากัปกิริยาสยายพระเกศาเช็ดพระบาทพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน บุตรชายถูกเรียกขานกันว่า เจ้าน้อยนพวงศ์ด้วยวัยเกือบ ๓๐ ปีเป็นคนเสเพล ชอบเที่ยวกลางคืน และเสพยาปัจจุบันสมรสแล้วกับราชนิกูลชั้นสูง ด้วยวัยไล่เลี่ยกัน

“ข้าพเจ้าเป็นลูกทูลกระหม่อมแม่เล็ก จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด เกียรตินิยมเหรียญทอง ตอนนี้ดูแลงาน ในสายงานกฎหมาย ธนาคารไทยพาณิชย์ และตำแหน่งผู้อำนวยการด้านนิติกรรม สินเชื่อ และบัตรเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย รับผิดชอบในการกำกับดูแลให้เกิดความมั่นคงแก่สถาบันการเงินในประเทศทั้งหมด”

หลังจากนั้นท่านผู้นี้ได้กำหนดให้ใช้ดอกแก้วกัลยาเป็นสัญญลักษณ์วันครบรอบการจัดตั้งธนาคารสยามกัมมาจล หรือธนาคารไทยพาณิชย์ ในปัจจุบัน

ไม่มีใครไม่รู้จักครูบาศรีวิชัย พระเถระรูปสำคัญแห่งวัดบ้างปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนในราว พ.ศ ๒๔๘๐ ท่านได้รวบรวมทุนทรัพย์ในการจัดสร้างทางขึ้นวัดดอยสุเทพ

ในกาลครั้งนั้นมีผู้รับเหมาคือ หลวงอนุสารสุนทร ซึ่งท่านเป็นชาวเชียงใหม่ และเป็นบิดาของเจ้าพ่อของเจ้าน้อยนพวงศ์กับเจ้านางผู้เป็นน้องสาว ปัจจุบันนี้เสียชีวิตไปแล้วด้วยวัยเพียงไม่ถึง ๕๐ ปี เพราะอาการหัวใจวายเฉียบพลัน

ส่วนขุนสมุทรจีนเป็นชื่อคนจีนโพ้นทะเลเจ้าของวังกุ้ง แถวสมุทรสาคร เดิมไม่มียศศักดิ์ใด แต่ญาติทางข้างเมียคนไทยจัดการให้เพื่อเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่ครอบครัว ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้ปลูกต้นโกรงกรางริมตลิ่งเพื่อเป็นการยึดตลิ่งไว้ด้วยรากของมันซึ่งมีลักษณะยาวเก้งก้างตามแบบฉบับธรรมชาติและเป็นญาติของเฮียสมศักดิ์

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นเรื่องราวของบรรดาผู้ที่มีความผิดติดตัวเพราะฉะนั้นย่อมเดือดร้อนที่อยู่อันถาวร     เสมือนพระอินทร์อาสนะร้อนจำต้องเปลี่ยนที่อยู่เพื่อหนีการจับกุมจากทางการ และการตามฆ่าปิดปาก       แต่ตลอดเวลากลุ่มท่านเหล่านี้พยายามแอบส่งข่าวสารข้อมูลให้แก่ทางการ จนในที่สุดถูกจับได้จากทางกลุ่มผู้ก่อการร้ายจึงจำต้องเตลิดหนี เปรียบเสมือนนายอินทร์ที่คอยปิดทองหลังพระ         อันว่าองค์พระปฏิมาหากแม้นไม่มีใครมาปิดทองด้านหลังเลย พระองค์นั้นย่อมจะไม่มีสีทองอร่ามทั่วองค์ มองแล้วย่อมไม่งามเท่าที่ควรจะเป็น

เหมือนตัวละคร อ้ายย่ามแดงในเรื่อง “ไผ่แดง” ของท่านคึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เดิมร่วมมือกับผู้ฉ้อราษฏร์บังหลวง กินตามน้ำ   แต่แอบช่วยส่งข้อมูลให้ทางการอย่างลับ ๆ ครั้นโดนพวกกลุ่มอำนาจมืดจับได้ เขาถูกทำร้ายจนกลายเป็นคนวิกลจริต เที่ยวสะพายย่ามสีแดงติดตัว ระเหเร่ร่อนค่ำไหนนอนนั่น ตามถนนหนทางในหมู่บ้านไผ่แดงจนมาพบกับหลวงพ่อในวัดไผ่แดงเป็นที่น่าเวทนา

ผู้คนในแถบย่าน ตำบลพระสมุทรเจดีย์ อำเภอปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ มักจะเคยพบเคยเห็นขบวนแห่อัญเชิญผ้าแดงก่อนที่จะนำมาทำพิธีห่มผ้าให้องค์พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งในปัจจุบันน้ำที่มองเห็นจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้เริ่มงวดลงทุกที ๆ จนเกือบจะเดินไปถึงองค์พระได้โดยไม่ต้องนั่งเรือยนต์   และเพราะในสมัยก่อนองค์พระเจดีย์ตั้งอยู่กลางเกาะดินสันดอนกลางน้ำต้องนั่งเรือข้ามไปเพื่อทำการสักการะบูชาจึงเรียกขานกันว่าพระสมุทรเจดีย์    ผ้าแดงที่ใช้สำหรับห่มองค์พระเจดีย์ชาวมอญพระประแดงแต่เดิมใช้ผ้าแดงเป็นชิ้นเย็บต่อกันเหมือนผ้าพระกฐินจนเป็นผืนใหญ่เพียงพอที่จะใช้ห่มองค์พระ

“นางแก้วคู่ใจแม่จากไกลใจครวญหา นอนยังฝันถึงแก้วตาละเมอเพ้อว่าเจ้ายังคอย...เจ้าจากพี่ไป...ห่วงอาลัย...ใจอาวรณ์ พี่ฝันถึงงามงอน...แม้นเจ้าฝันจงฝันดีจงฝันถึงพี่นางแก้วเอย”

หมอกหนาลงแต่รุ่งสาง อากาศหนาวยะเยือกเพราะเป็นหน้าหนาว สาวน้อยอังศุมาลินกลับเริงร่าอยู่ใต้สายน้ำในลำคลองหน้าบ้านพลางไล่จับเจ้ากุ้งแม่น้ำตัวเขื่อง เวียนใส่กะละมังแม่อัญยืนมองพลางยิ้มส่ายหน้าด้วยนิสัยดื้อดึงของลูกสาว

สักพัก ลูกเขยรูปหล่อนายทหารแห่งกองทัพญี่ปุ่นแต่งชุดนายทหารญี่ปุ่นเต็มยศเดินเข้ามาสมทบ “เอ่อ โอไฮโย”

โกโบริพูดพลางยิ้มล้อเลียนเมียรักที่เพิ่งตกแต่งกันด้วยความสุขที่ได้ยั่วเย้า

“เค้าว่ากันว่ายังไงซะไอ้ยุ่นแพ้สงคราม เห็นบอกว่าถึงขนาดถล่มเกาะเลยทีเดียว”

ตาผลปรารภด้วยความสงสารคนญี่ปุ่นที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

“ข้าวยากหมากแพงขึ้นทุกวัน ถ้าจบลงซะคงจะดีขึ้น” พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ในตลาดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน

“สงสารอีลูกสาวบ้านนั้นมันท้องไส้แล้ว เฮ้อ...ผัวติดคุกแน่”

ค่ำคืนวันก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศแพ้สงคราม ร้อยโทโกโบริ โยอิชิ เสียชีวิตในค่ายทหาร ย่านท่าน้ำรถไฟ สถานีบางกอกน้อยสาเหตุเพราะประจำอยู่ที่ฐานทัพเรือญี่ปุ่นในขณะที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด

ณ ต้นปี พ.ศ ๒๕๕๘

“ละครโนดูแล้วน่าเบื่อช้าเกินไป” นายณเดช พูดด้วยอาการงัวเงีย หลังละครจบเพราะเจ้าตัวหลับตลอดเรื่อง

“คู่กรรม คงเป็นคุณรับบทโกโบริ” ซูซุกิซัง พูดขึ้นในฐานะเจ้าของเงินทุน

“อ้า โดะโมะ” ณเดชพูดด้วยความจริงใจ “ผมอยากรับบทนี้มาตั้งแต่ผมเป็นเด็ก”

บูรพาหรือทิศตะวันออกคราวเกิดสงครามคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายจนยากที่จะลืมเลือน

“อากาศหนาวที่บ้านผมหนาวกว่า”  

เสียงชายหนุ่มชาวญี่ปุ่น เนื้อตัวฝุ่นเขรอะ เลือดกรังเต็มเครื่องแบบทหาร

“ศพผมเผาที่นี่ที่เมรุนี้” หนุ่มชาวอาทิตย์อุทัยพูดขึ้นด้วยเสียงเครือเศร้า อารมณ์สะเทือนใจรุนแรง

“ผมจะลองเล่าให้ฟัง เผื่อคุณจะชอบฟัง” น้ำเสียงเขาเคร่งขรึม

“ราว ปี พ.ศ ๒๔๘๕ ผมเดินทางมาพร้อมกับกองทัพญี่ปุ่น ราวสองหมื่นนายมาทางเรือมาขึ้นบก ที่ปากน้ำพระสมุทรเจดีย์   นายกของไทยต้อนรับและให้ความร่วมมือด้วยดี”

“คนไทยขี้ขโมยฉันไม่ได้เถียง แต่พวกญี่ปุ่นอย่างคุณน่ะมาทำอะไรที่นี่ ไสหัวกลับไปให้หมด” เสียงอังศุมาลินสาวน้อยชาวไทยตวาดลั่น

“ตอนนั้นผมได้รู้จักเมียผม..ผมแต่งงานกับเขาเพราะพ่อเขาเป็นทหารไทยเราได้ประโยชน์ด้วยกันและ...ผมรักเขา”  

ยังไม่ทันกล่าวถ้อยคำใดต่อเสียงหวูดรถไฟดังแว่วทำเอาทั้งคู่เงี่ยหูฟังรถไฟสายบางกอกน้อยจบเส้นทางที่อำเภอแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี

“ทหารฝรั่งถูกต้อนไปสร้างทางรถไฟให้พวกผม...จุดหมายที่พม่า...บ่อน้ำมันดิบ...”  

โกโบริหยุดถอนใจ น้ำตาไหลรื้น

“เกาะฮิโรและนางาจมหายเพราะความแค้นนี้”

“สัพเพสัตตา...อิทังเมยาตินัง...” ครูปุ้ยหย่อนเหรียญสิบบาทลงตู้บริจาควัดบางกอกน้อย ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศผลบุญที่เคยทำให้แก่ท่านผู้ล่วงลับทุกราย

ณ เกาะแกร์ ประเทศกัมพูชา

แกร์หมายถึงทิศใต้ เกาะแกร์คือดินแดนด้านใต้เขตรอยต่อพม่าและกัมพูชา

“ตัวปราสาทปรัมคือองค์ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด   มีความหมายเดียวกับ ปรัมพิธี แปลว่า หลัก หรือเหมือนกับคำว่า รุ้ง แปลว่าสำคัญ (ใหญ่หลวง) สิ่งที่คุณเห็นด้านข้างคือกำแพงหินแลง ซึ่งไม่สามารถแกะสลักได้ด้วยธรรมชาติของมันจะขรุขระ และมีฟองอากาศ ส่วนบรรดาหินสลักต่าง ๆ เป็นหินทรายสีออกชมพู ว่ากันว่ากำแพงนี้เดิมเป็นกันชนระหว่างขอมและเงี้ยวจากพม่า”

 

“ประเทศท้องคุ้งชื่อ

                     เกรียนสวาย

                  สวายว่าม่วงเรียมหมาย                

               ม่องไม้

เกรียนโกรนกิ่งใบวาย

                          ผลช่อ เกรียนฤา

คิดระดูเคยให้

                           ม่วงเจ้าเจียนผจง”

“คำว่า บรรณาลัย หรือบรรณศาลา หมายถึงห้องสมุดหรือองค์ปราสาทปรัมนี่แหล่ะ สังเกตุเห็นมั้ยคะ มีรูช่องอากาศไว้สำหรับให้จุดไต้จุดไฟติด”

ครูปุ้ยอธิบายต่อ

“สวาย หมายถึงทลาย หรือทวาย ผลไม้ที่มีคำเรียกนำหน้าว่า หมาก เช่น หมากพร้าว หมากม่วง ส่วนคำว่าระดูหมายถึงเวลา หรือการเก็บเกี่ยวหรือHarvest เพราะแถวบางกอกน้อยเป็นสวนเก่า มีผลไม้นานาชนิด ในพม่ามีท่าเรือน้ำลึกชื่อ ทวาย ซึ่งเป็นการเรียกแบบไทย ไม่ใช่ภาษาพม่าตอนนี้ปัญหาน่าจะมาจากการลักลอบส่งน้ำมันดิบ แต่ใช้ประโยชน์ในลักษณะท่าเรือน้ำลึกแบบแหลมฉบังบังหน้าเอาไว้มากกว่า”    

ครูปุ้ยอธิบายตามความเข้าใจและสิ่งที่เล็งเห็น

“ในกลางอ่าวไทยมีการลักลอบขนน้ำมันดิบจากสิงคโปร์ของบริษัทเงาของการปิโตรเลียมของไทย น่าตลกเพราะเหมือนพม่ากับแขกช่วยขโมย แล้วไทยขมายต่ออีกที”

“ตอนนั้น ผมยังไม่รู้จักเมียผม แต่มีคนไทยสองคนเข้ามาขโมยกลิ้งถังน้ำมันไป จนพวกผมจับได้ ผมเลยลงโทษให้สองคนนั่นกินน้ำมันแสดงให้เห็นทั่วกัน”

นายทหารโกโบริมีความยุติธรรมคราวทหารญี่ปุ่นบุกรุกสวนคนไทยขโมยกล้วยและผลไม้ไปกิน เขาสั่งลงโทษด้วยการบังคับให้กินกล้วยแบบมาราธอนจนจุกปางตายกันหมด

“ดูสิ สกปรกซอมซ่อไม่หาเสื้อผ้าให้มันดูดีกว่านี้มาสวมมาใส่ อย่างว่านะไม่ใคร่มีตุ้งมีตัง”

เสียงสาว ๆ แกล้งพูดแดกดัน

“อ้าวทำงานไหวมั่ง ไม่ไหวมั่งไม่ใคร่มีแรง เงินทองไม่ใคร่มี”

ครูปุ้ยตอบด้วยความเป็นจริง

พวกสาว ๆ มีเงินมีทองแต่งตัวสวย เพชรพลอยเต็มตัว ขับรถโก้ยาวเป็นวา ซื้อแพคเกจทัวร์ยุโรปอเมริกาซื้อของตามห้างรูดบัตรเครดิตสาวชาววังว่าหอมติดกระดานพวกสาว ๆ พวกนี้หอมกว่าเป็นไมล์เพราะ ใช้น้ำหอมนอกราคาขวดละครึ่งหมื่น และแน่นอนรูดบัตร สตังค์เยอะเครดิตดีแต่แบงค์ตามจิก

“ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาราวสักยี่สิบรายเห็นจะได้ถูกจับขณะกำลังรูดบัตรเครดิตปลอมซื้อของที่เซ็นทรัลเวิลด์”

แคชเชียร์ผู้นี้เล่าให้ฟังต่อว่าล้วนแล้วแต่เป็นคนมีชื่อมีเสียงทั้งนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนยันว่าตรวจสอบหลักฐานแล้วเป็นบุคคลเดียวกันไม่ใช่ถูกแอบอ้าง

บทสรุปความเป็นเจ้า คือเจ้าแม่ศูนย์บัตรเครดิตปลอมธนาคารแห่งประเทศไทยวังบางขุนพรหม เทเวศร์ แต่ต้นปี ๒๕๕๘ ท่านหญิงผู้นี้ได้มานั่งบริหารงานเต็มตัวที่แบงค์ชาติเพราะท่านลาออกจากธนาคารไทยพาณิชย์แล้วอย่างเป็นทางการ ณ เวลานี้ท่านประกาศกร้าวจะดำเนินคดีกับทางผู้ที่ปรามาสหน้าท่านด้วยการถูกใส่ร้ายจากบรรดาผู้ไม่รักในหลวงซึ่งเป็นพระอัยกาของท่าน และวังบางขุนพรหมเป็นวังเก่าของท่านบริพัตร พระอัยกาของท่านอีกพระองค์หนึ่ง และท่านจะใช้ความรู้ทางกฏหมายระดับดอกเตอร์ที่มีจัดการกับผู้ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมืองจนถึงที่สุด

ในสมัยรัชกาลที่สี่ เริ่มมีการก่อสร้างถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร เชื่อมต่อพระนครกับชานเมือง เป็นถนนเรียบตรงใช้อิฐอัดประสมดินค่อยทะยอยสร้างแทนที่ทางเกวียนเลียบแม่น้ำผ่านป่าเขาที่ราบ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ ๒๔๗๕-๒๔๗๙ ในช่วงแผนงบสิบแปดปีมีการสร้างถนนประชาธิปัตย์(พหลโยธิน)เพื่อผ่านไปเขมรทางอรัญตัดผ่านไปลาวทางหนองคายเป็นการสร้างถนนไปตามเส้นทางเดินทัพยกไปเขมรสมัยอยุธยา ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีถนนลาดยาง(แอสฟัล)สายแรกชื่อถนนมิตรภาพ(เดิมชื่อคชเสนีย์)   ตัดไปจนถึงเมืองลาวที่อำเภอบ่อแก้วเขตติดต่อกับจังหวัดหนองคาย

ในสมัยช่วงพุทธศตวรรษที่สิบสองมีการค้นพบจารึกอักษรขอมเกี่ยวกับเรื่องการสร้างองค์ปราสาทเรียงรายไปตามเส้นทางสายปราสาท   ซึ่งสามารถเดินทางไล่เรื่อยมาทางสายตะวันออก(เกาะแกร์)

จุดตั้งต้นอยู่ที่ปราสาทเนียงเขมา   (ตำนานพระนางเมลิ้นดำนักองค์เอ็งชาวขอมท่านทรงมีปานที่ลิ้นสีดำเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์) และจุดหมายปลายทางอยู่ที่ปราสาทวิมายชมภู

คำว่า เนียง หมายถึง สีดำ เช่น เนียงกาฬ (นิลกาฬ)หน้ากาฬคาบท่อนพวงมาลัยอยู่ตามหน้าบันประตูวิหารแต่ละองค์แต่ละวิหาร(โคปุระ) มักมีอักษรขอมจารึกเล่าเรื่องไว้หลายแห่งเกี่ยวกับเรื่องเทพทางคติฮินดู หลายแห่งมีร่องรอยโขดหิน   บ่งบอกว่าเคยเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมาก่อนเก่าไหลผ่านหน้าองค์ปราสาทที่มีสภาพแบกหรือแตกหักพังตามภาษาเขมร   มีการสร้างฐานโยนี (บูชาคู่กับศิวลึงค์หรือใช้ประดิษฐานองค์ศิวลึงค์)

การใช้ผงสินธู (ผงคล้ายธูปที่ใช้เจิมสีแดงสด) มาจากตำนานเทพสินธุโอรสแห่งพระสมุทรผู้ดื่มน้ำอมฤตจนมีชีวิตที่อมตะหลังจากนั้นเป็นต้นมาท่านเทพสินธุทรงทำวางโตเกะกะระรานไปทั่วสุดท้ายถูกพระคเณศวรปราบได้สำเร็จเทพสินธุทรงหลั่งพระโลหิตแดงฉานเต็มท้องทะเลจึงมีการเจิมผงสินธุบนองค์พระคเณศวรเพื่อเป็นการบูชา การนับถือองค์ดอมเรย(พระคเณศวร)ทำให้ชาวขอมมีการสร้างปราสาทดอมเรย ปัจจุบันพบมีหินลักษณะแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากองกับพื้นดินจำหลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเจ็ดเศียร องค์ปราสาทตั้งอยู่ใกล้แหล่งธารหินแห้งขอดไม่มีน้ำ มีเพียงแก่งหินให้เห็นอยู่พอรู้ได้ว่าเคยเป็นลำธารน้ำที่มีหินระเกะระกะมาก่อน

สันนิษฐานได้จากจารึกอักษรขอมที่พบในแต่ละองค์ปราสาทว่าสร้างขึ้นเพื่อบูชาองค์เทพศรีปติ(พระศิวา) ตามคติทั่วไปในสมัยนั้น

จบบริบูรณ์

 

ครูบุสดี พนมเขตต์

ห้ามสำนักพิมพ์ทุกแห่งลอกเลียนแบบ

อนุญาตเฉพาะผู้ว่างงานทุกประเภท

 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องสั้น

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
5 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
5 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา