เก้าอี้สำนักงานเลือกแบบไหนดี? ไม่เสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

lDigitalAccesse

ขีดเขียนเต็มตัว (189)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:210
เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 10.10 น.

 

เพราะในแต่ละวันเราต้องใช้เวลาไปกับการนั่งทำงานในออฟฟิศนานถึง 8 ชั่วโมง จึงไม่แปลกใจว่าทำไมมนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่จึงมีปัญหาปวดหลังและไหล่ซึ่งเป็นอาการของปัญหาสุขภาพที่เรียกว่า ‘ออฟฟิศซินโดรม’ โดยผลวิจัยบอกว่ามีพนักงานออฟฟิศที่มีอาการดังกล่าวมากถึง 1 ใน 8 คนเลยทีเดียว ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน นั่งหลังค่อม หรือใช้เฟอร์นิเจอร์สำนักงานอย่างเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม ทำให้นั่งทำงานไม่สบาย ส่งผลให้เกิดปัญหาปวดหลังหรือปวดไหล่ตามมา โดยในวันนี้เรามีเคล็ดลับการเลือกเก้าอี้สำนักงานเพื่อไม่ให้เสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมมาฝาก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดูพร้อมกันเลย!

 

 

  1. ขนาดต้องเหมาะสมกับสรีระ 

 

การเลือกเก้าอี้สำนักงานนั้นควรเลือกให้เหมาะสมกับสรีระ โดยคุณควรสำรวจตัวเองก่อนว่าสรีระของคุณเป็นอย่างไร? มีน้ำหนักตัวมากหรือไม่? ความยาวของขายาวเท่าไหร่? หากคุณรู้ลักษณะสรีระรูปร่างของตัวเองแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือการมองหาเก้าอี้ที่สามารถปรับฟีเจอร์ให้สอดคล้องกับสรีระของคุณได้ ซึ่งในส่วนของท่านั่งนั้นขาทั้งสองข้างจะต้องตั้งฉากกับพื้นพอดีเพื่อป้องกันปัญหาเลือดไหลมากองที่เท้าทำให้เกิดอาการเหน็บชา นอกจากนี้ ความสูงของเก้าอี้สำนักงานทั่วๆ ไปควรมีความสูงอยู่ที่ 30-40 เซนติเมตร 

 

  1. ปรับอิริยาบถในการนั่งได้ 

 

อย่างที่เรากล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าการนั่งในท่าเดิมอยู่ตลอดเวลาเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรมได้ อีกทั้งยังเสี่ยงทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพเร็วขึ้นด้วย ดังนั้น จึงควรเลือกเก้าอี้สำนักงานที่สามารถเคลื่อนไหวหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถได้ โดยสามารถปรับเอน หมุน หรือโยกได้เพื่อการนั่งที่สะดวกมากขึ้นและป้องกันปัญหาปวดเมื่อยไหล่และกล้ามเนื้อหลังด้วย 

 

  1. มุมลาดเอียงของแผ่นรองนั่งและพนักพิงต้องสัมพันธ์กัน 

 

โดยทั่วไปแล้วเก้าอี้สำนักงานควรมีมุมลาดเอียงประมาณ 93-105 องศากับแนวระนาบ โดยแผ่นรองนั่งควรลาดเอียงจากแนวระนาบประมาณ 0-8 องศา ซึ่งเป็นมุมที่เหมาะสมสำหรับการนั่งทำงาน เนื่องจากสะโพกและแผ่นหลังจะแนบกับแนวเก้าอี้ ทำให้มีการกระจายน้ำหนักได้ดี อีกทั้งยังลดความเสี่ยงปัญหากล้ามเนื้อเกิดการตึงตัวซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเมื่อยล้าด้วย 

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากการเลือกเก้าอี้สำนักงานข้างต้นแล้ว การปรับท่านั่งก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม โดยควรนั่งหลังตรง ให้หลังชิดกับขอบด้านในหรือพนักของเก้าอี้ วางข้อมือให้ตั้งตรง และวางเท้าลงบนพื้นให้ตั้งฉากเป็นมุม 90 องศา พร้อมกับปรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตาด้วย 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา