รถยนต์ EV ประหยัดเงินได้เท่าไหร่? ชาร์จไฟอย่างไรให้คุ้ม?
เมื่อกระแสนิยมของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV เริ่มเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นไปตามราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น (น้ำมันแพงเพราะอะไร? เปิดสาเหตุน้ำมันแพง 2565 https://www.smk.co.th/newsdetail/2876) จนอาจทำให้เกิดความกังวลว่า ในความจริงแล้ว รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงหรือไม่ แล้วควรต้องชาร์จไฟอย่างไรให้คุ้มค่ากับเงินค่าไฟที่สุด (เตรียมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รองรับรถยนต์ EV https://www.smk.co.th/newsdetail/1696)
ประเภทของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
การชาร์จไฟฟ้า “รถยนต์ EV” มีหลายวิธี และมีราคาที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง โดยขนาดมิเตอร์ขั้นต่ำที่แนะนำคือ 30(100)A และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 7.4 kW ต่อ 1 ชม. ใช้ระยะเวลาในการชาร์จเต็มประมาณ 12-16 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 4.2 บาท ต่อ 1 kWh
- การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge)
เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger เป็นตู้ชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ที่ช่วยให้ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่รถให้เต็มเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 22 kW ต่อ 1 ชม. โดยเหลือเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 5.5 บาท ต่อ 1 kWh
- การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) เข้าแบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0-80% ได้ภายในเวลา 40-60 นาที ซึ่งความเร็วชาร์จไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 50 kW ต่อ 1 ชม. มีค่าชาร์จอยู่ที่ 6.5 บาท ต่อ 1 kWh
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างรถยนต์เติมน้ำมันกับรถยนต์ EV
การคำนวณอัตราค่าพลังงานน้ำมัน มีรายละเอียดดังนี้
- ราคาน้ำมันอัตราเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 40 บาท/ลิตร
- รถยนต์กินน้ำมันเฉลี่ยในปริมาณ 16 km/ลิตร
- ทุก 1 กิโลเมตร จึงเสียค่าน้ำมัน 2.5 บาท
- หากโดยทั่วไปใช้รถยนต์เดือนละ 2,000 km
- จะเสียค่าน้ำมันตกเดือนละ 5,000 บาท
ในขณะที่ การคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าของการชาร์จรถยนต์ EV มีรายละเอียดดังนี้
- ค่าไฟบ้านปกติหน่วยละ 4.5888 บาท รวมค่า FT
- เปลี่ยนมาใช้ EV แล้วชาร์จไฟที่บ้านในอัตรา TOU ของไฟฟ้านครหลวง หลัง 4 ทุ่มจะเหลือหน่วยละ 2.804 บาท รวมค่า FT
- รถยนต์ EV โดยเฉลี่ยกินไฟประมาณ 5 km/หน่วยไฟฟ้า
- ให้วิ่งในอัตราเดียวกันเดือนละ 2,000 km ทุก 1 km จึงเสียค่าไฟ 0.5608 บาท
- จะเสียค่าไฟในอัตราเดือนละ 1,121 บาท
การใช้รถยนต์ EV จึงสามารถประหยัดค่าน้ำมันไปได้ถึงเดือนละ 3,787 บาท เลยทีเดียว
ชาร์จไฟรถยนต์ EV อย่างไรให้คุ้ม?
- การชาร์จไฟที่บ้านจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายในการชาร์จได้มาก เนื่องจากสามารถชาร์จไฟในเวลากลางคืน ทำให้อัตราค่าไฟที่บ้านเป็นแบบTOU ที่ช่วงกลางคืนมีราคาถูก (หลัง 4 ทุ่มถึง 9 โมงเช้า)
- ชาร์จไฟตามCharging Station ที่ให้บริการฟรีมีอยู่หลายที่ แต่อาจต้องเสียเวลานั่งรอครั้งละประมาณ 30 นาทีเป็นต้นไป
อุปกรณ์ติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้าน
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถไฟฟ้า EV มาใช้งาน จำเป็นต้องเข้าใจระบบไฟฟ้าภายในบ้านก่อนติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่ตามมา โดยต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
- ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) แนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป
- สายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)
สำหรับสายเมนของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) เพื่อให้ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) มีความสอดคล้องกัน
- ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
ตรวจสอบภายในตู้ว่ามีช่องว่างสำรองเพื่อติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1 ช่องหรือไม่ เพราะการชาร์จไฟของรถไฟฟ้า EV จะต้องมีส่วนตัว และแยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ หรือถ้าหากภายในตู้หลักไม่มีช่องว่าง ต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด
- เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต กรณีที่สายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
- เต้ารับ (EV Socket)
สำหรับการเสียบชาร์จรถไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) โดยรูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถไฟฟ้า EV แต่ละรุ่น
ก่อนที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดของตัวรถยนต์ด้วย ว่าแบตเตอรี่ของรถยนต์ขนาดเท่าไร? On Board รับพลังงานไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าไหร่? ซึ่งมีผลกับความเร็วในการชาร์จ และค่าไฟบ้าน นอกจากนี้ ค่าไฟฟ้าของแต่ละจังหวัดก็ยังมีอัตราไม่เท่ากัน จึงควรตรวจสอบกับการไฟฟ้าในพื้นที่อีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมด้วย
ประกันภัยรถยนต์คนกรุง ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท เบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง อัตราเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปี คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางรถยนต์ (Roadside Assistance Service) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ https://smkinsurance.blogspot.com/ โทร.1596 Line : @smkinsurance
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้