ปวดกระบอกตาบ่อย เกิดจากอะไร มารู้คำตอบไปด้วยกัน

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (368)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:691
เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 18.40 น.

ปวดกระบอกตาเกิดจาก

ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อาการปวดกระบอกตาสามารถพบได้บ่อยกับคนยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสาเหตุอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดอาการกระบอกตาได้อีกเช่นกัน ดังนั้นแล้วเราจึงควรทำการเรียนรู้หาสาเหตุและการรักษาเพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพในเบื้องต้น 

ซึ่งในบทความนี้ได้ทำการรวบรวมสาเหตุของอาการปวดกระบอกตาที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และอาการโดยรวมที่จะแสดงออกมาให้ได้ลองสังเกต รวมไปถึงวิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆไว้ด้วยกัน


 

ปวดกระบอกตา

อาการปวดกระบอกตามักเกิดได้จากความตึงเครียด หรือจากความอ่อนล้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอ หรือบริเวณกล้ามเนื้อตา ซึ่งมีสาเหตุทั่วๆไปมาจากการอ่านหนังสือ หรือการเพ่งมองจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ 


 

รู้จัก กระบอกตา

กระบอกตา (Orbit wall) คือ กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆของดวงตา ซึ่งในบริเวณนี้มักจะมีปัญหาการปวดอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดได้จากความตึงเครียดบริเวณส่วนกล้ามเนื้อต้นคอ หรือเกิดจากการปวดร้าวไปทั่วบริเวณขมับ และส่วนของหน้าผากได้

อาการปวดกระบอกตา


 

ปวดกระบอกตาเกิดจากสาเหตุใด

 

1.ปัญหาค่าสายตา 

ปัญหาเรื่องค่าสายตาผิดปกติมักจะก่อให้มีอาการปวดหัวแต่ไม่มาก ซึ่งต่างจากกรณีที่สายตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือบุคคลมีสายตาเอียงมากๆจะมีอาการปวดหัว หรือปวดตาได้
 

 

2. กล้ามเนื้อตาล้า

กล้ามเนื้อตาล้าเกิดขึ้นได้จากเวลาทำงานที่ต้องใช้สายตาเพ่งงานที่ต้องใช้ความละเอียด ซึ่งจะใช้วายตาเพ่งเป็นนเวลานานไม่ได้ เพราะกล้ามเนื้อตาที่ใช้มองใกล้หรือรวมตัวเพ่งในที่ใกล้ไม่ได้แข็งแรงพอจะมีอาการปวดตา ปวดหัว หรือปวดที่กระบอกตาและร้าวไปถึงท้ายทอยได้ ซึ่งบางครั้งอาจตาลายเมื่ออ่านหนังสือ หรือทำงานที่ต้องใช้สายตามองระยะใกล้ๆ

 

3. การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

การหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุของการเกิดสายตาเพลียได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เครียดกับการทำงานที่ใช้สายตาเป็นเวลานานๆหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือจากทำงานในอิริยาบถที่ไม่พึ่งประสงค์ 

 

4. โรคไมเกรนและอาการปวดศีรษะอื่นๆ

อาการปวดศีรษะอาจอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณด้านหลังดวงตา เช่น การปวดศีรษะจากความเครียดซึ่งเป็นการปวดตื้อหรือแน่นบริเวณหน้าผากหรือบริเวณด้านหลังศีรษะและส่วนลำคอ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีแรงดันหลังลูกตาสูงอาจมีอาการอื่นๆร่วม เช่น รู้สึกเจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ ตาแดง มีน้ำตาไหล หรือมีเหงื่อออกได้

 

5. ประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนดวงตา

อุบัติเหตุสามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดดวงตาอย่างรุนแรงหรือกระจกตาเกิดถลอกได้

 

6. ผลข้างเคียงจากโรคอื่นๆ

  • โรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อหินชนิดเฉียบพลัน ม่านตาอักเสบ เส้นประสาทตาอักเสบ เป็นต้น

  • โรคทางกายภาพ เช่น ไซนัสอักเสบ โรคเกรฟส์ ปัญหาสุขภาพปากและฟัน เป็นต้น

 

ลักษณะอาการปวดกระบอกตา

  • มีอาการปวดตื้อๆ

  • รู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตา

  • รู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณดวงตา

  • รู้สึกเจ็บแปลบเหมือนโดนของแหลมแทง

  • มีบ่อยครั้งเมื่อรู้สึกปวดตาจะมีอาการตามัว หรือตาแดงและอาจไวต่อแสงร่วมเข้ามาด้วย

 

ร้อนกระบอกตา


 

อาการปวดกระบอกตาที่ควรพบแพทย์

อาการปวดกระบอกตานั้นมีลักษณะปวดแบบตื้อๆจนรู้สึกถึงแรงแรงตึงบริเวณดวงตา ซึ่งถ้าปวดไม่มากนักก็สามารถบรรเทาอาการปวดนี้ได้ด้วยวิธีเบื้องต้น แต่หากมีอาการปวดรุนแรงที่ไม่สามารถใช้วิธีบรรเทาหรือกรณีมีอาการแทรกซ้อนเข้ามา เช่น ตาแดง มีน้ำตาไหล ไม่ควรนิ่งดูดายและเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางทันที


 

การวินิจฉัยอาการปวดกระบอกตา

โดยเบื้องต้นแพทย์จะเริ่มจากซักประวัติสุขภาพของคนไข้ จากนั้นสอบถามรายละเอียดของอาการ ตรวจร่างกาย และส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางตามอาการ ซึ่งอาจต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

วินิจฉัยอาการปวดกระบอกตา


การตรวจดวงตา 

หากอาการปวดกระบอกตาเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา แพทย์ใช้แสงไฟส่องดวงตาว่าประสาทตาและส่วนประกอบต่างๆของดวงตามีความผิดปกติหรือไม่ และอาจมีการตรวจแบบเฉพาะเจาะจงเพิ่มเติม เช่น การตรวจวัดค่าสายตา การตรวจชั้นต่างๆของดวงตาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ รวมไปถึงการตรวจความดันของดวงตา


การส่องกล้อง 

แพทย์จะทายาชาก่อนเริ่มใช้ท่อขนาดเล็กที่มีกล้องติดอยู่ในส่วนปลายท่อสอดเข้าไปภายใน เพื่อที่จะดูว่ามีอาการบวมหรือมีเนื้องอกอยู่ในโพรงไซนัสหรือไม่


การถ่ายภาพ 

ขั้นตอนนี้ทำเพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น MRI Scan, CT Scan หรือการอัลตราซาวด์ 


การตรวจเลือด 

โดยจะใช้ชุดทดสอบที่มีความเกี่ยวข้องอาการปวดกระบอกตาได้ เช่น การตรวจระดับฮอร์โมนของไทรอยด์ หรือการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา


การใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน 

วิธีนี้ใช้สำหรับตรวจหาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์และโรคเกรฟส์ โดยแพทย์จะฉีดสารกัมมันตรังสีไอโอดีนเข้าไปในร่างกายในปริมาณเพียงเล็กน้อย แล้วจะใช้กล้องชนิดพิเศษถ่ายภาพต่อมไทรอยด์เพื่อดูหาความผิดปกติ


การตรวจทางทันตกรรม

หากอาการของคนไข้เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับปากและฟัน ทันตแพทย์จะทำการตรวจดูบริเวณขากรรไกร การเรียงตัวของฟันและการกัด เพื่อต้องการจะดูว่ามีความผิดปกติที่ทำให้กล้ามเนื้อตึงจนส่งผลกระทบไปกดบริเวณตาหรือไม่


 

วิธีรักษาอาการปวดกระบอกตา

การรักษาอาการปวดกระบอกตา สามารถแบ่งด้วยวิธีการรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเป็นหรือต้องการการบรรเทาและอีกวิธีเป็นการรักษาตามการวิจัยฉัยของแพทย์เฉพาะทาง

การบรรเทาอาการปวดกระบอกตาเบื้องต้น

 

วิธีแก้ปวดกระบอกตา

 

  • ทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

  • ประคบร้อน ซึ่งสามารถจะช่วยบรรเทาอาการปวดกระบอกตาได้ในเบื้องต้นเป้นอย่างดี

  • บริหารกล้ามเนื้อตา จะช่วยเรื่องให้อาการดวงตาเพลียเกิดขึ้นได้น้อยลง


การรักษาอาการปวดกระบอกตาจากสาเหตุของโรค

 วิธีแก้ปวดกระบอกตา

 

  • โรคไมเกรน - สามารถรักษาด้วยการใช้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หากอาการยังไม่ดีขึ้นและต้องการใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงกว่านั้นหากจะต้องอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ว่าสามารถให้เป้นปรเภทไหนได้

  • ไซนัสอักเสบ - สามารถรักษาด้วยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และรับประทานยาแก้ปวด หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อร่วมด้วย สำหรับกรณีที่มีอาการหนักมากต้องเข้ารับการผ่าตัด

  • โรคเกรฟส์ - สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินจำเป็น ส่วนวิธีอื่นๆ เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ก็จะต้องรับประทานยาเพื่อทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้แล้ว

  • โรคต้อหิน - โดยทำการหยดยาที่ช่วยทำให้ม่านตาแคบลง หรือยาที่จะไปลดปริมาณของเหลวที่ดวงตาสร้างขึ้น จากนั้นแพทย์จะใช้เลเซอร์เจาะรูขนาดเล็กในม่านตา เพื่อเป็นการระบายของเหลวในดวงตาและช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในตากลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

  • เส้นประสาทตาอักเสบ - แพทย์อาจให้ใช้ประเภทยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวมของเส้นประสาทตา แต่หากเป็นกรณีที่อักเสบจากโรคเอ็มเอสหรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาจจะต้องใช้ยาประเภทอื่นที่สามารถกดภูมิต้านทานเพื่อจะป้องกันเส้นประสาท


 

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดกระบอกตา

ตามทั่วไปอาการปวดกระบอกตาจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตาและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ โดยหากมีอาการอื่นๆเข้ามาร่วมด้วยตรงกับที่ได้กล่าวตามนี้ ควรทำการเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง

  • มีอาการไข้ขึ้น

  • รู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรง 

  • สูญเสียการมองเห็น 

  • สูญเสียการรับความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย


 

ปรับพฤติกรรมป้องกันการปวดกระบอกตา

การป้องกันและบรรเทาอาการปวดกระบอกตาอย่างง่ายๆสามารถทำตามได้ ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

  • ไม่จ้องหน้าจอเป็นเวลานานเกินไป เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือจากจอสมาร์ทโฟน

  • พกยาแก้ปวดไว้ติดตัวเมื่อต้องออกไปข้างนอกอยู่เสมอ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณกลางแจ้งหรือร้อนจัดเป้นเวลานาน

  • ตรวจสุขภาพตามกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ส่งผลประทบต่อดวงตา

และการรักษาที่ต้นเหตุของอาการปวดกระบอกตาเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่นอกจากการรักษากับแพทย์เฉพาะทางแล้ว การปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งที่ควรทำเช่นกัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพที่สุด

เจ็บกระบอกตา


 

ข้อสรุป

อาการปวดกระบอกตานั้นสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยจากพฤติกรรมจากใช้ชีวติประจำวันและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงไม่สามารถระบุไม่มีวิธีป้องกันได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพของตนเองด้วยวิธีเบื้องต้นโดยการรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ หากรู้สึกอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตา เช่นการมองเห็นที่ผิดแปลกไป หรือมีอาการที่น่าเป็นห่วง ควรไปตวรจกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที

แก้ไขครั้งที่ 2 โดย GUEST1649747579 เมื่อ24 สิงหาคม พ.ศ. 2565 18.43 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา