ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนอย่างไร? ควรจัดให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าใด?

tawann8

ขีดเขียนชั้นมอปลาย (128)
เด็กใหม่ (2)
เด็กใหม่ (0)
POST:132
เมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 13.34 น.

เมื่อต้องประสบกับภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด อาจต้องพบเห็นผู้ประสบภัยหรือผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งก่อนที่จะมีการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือ CPR (การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ควรทำภายในเวลากี่นาที และมีวิธีการอย่างไร? https://www.smk.co.th/newsdetail/2929) จำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นก่อนที่รถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยจะมาถึง แล้วการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนอย่างไร? ควรจัดให้ผู้ประสบภัยนอนอยู่ในท่าใดหลังดำเนินการช่วยชีวิตแล้ว

 

ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยขั้นพื้นฐานก่อนทำ CPR จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

  1. ตรวจสอบว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่?

มองดูรอบตัวที่ผู้หมดสตินอนอยู่ว่าปลอดภัยก่อน แล้วจึงเข้าไปข้างตัวผู้หมดสติ สะกิดหรือเขย่าผู้หมดสติเบาๆ พร้อมกับตะโกนถามว่า “คุณ…เป็นอย่างไรบ้าง?” ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของศีรษะและคอ ให้พยายามขยับตัวผู้หมดสติให้น้อยที่สุด เพราะการโยกหรือขยับตัวมากอาจจะทำให้ผู้หมดสติที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง อยู่แล้วเป็นอัมพาตได้

 

  1. เรียกหาความช่วยเหลือ หรือโทร.หมายเลขฉุกเฉิน

หากพบผู้หมดสติ ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น และ โทร. เรียก 1669 หรือ 191 และอย่าวางหูโทรศัพท์จนกว่าพนักงานช่วยชีวิตที่รับโทรศัพท์จะบอกให้เลิกการติดต่อก่อน

 

  1. จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนหงาย

ถ้าผู้หมดสติอยู่ในท่านอนคว่ำ ให้พลิกผู้หมดสติมาอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง แขนสองข้างเหยียดอยู่ข้างลำตัว กรณีผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุหรือสงสัยการบาดเจ็บที่คอและหลัง การจัดท่าต้องระมัดระวังอย่างที่สุด โดยให้ศีรษะ คอ ไหล่ และลำคอตัวตรึงเป็นแนวเดียวกันไม่บิดงอ มิฉะนั้นผู้หมดสติอาจกลายเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลังที่หักอยู่แล้วกดทับแกนประสาทสันหลังได้

 

  1. เปิดทางเดินลมหายใจ

ในคนที่หมดสติ กล้ามเนื้อจะคลายตัวทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินลมหายใจ กรณีที่ผู้หมดสติยังหายใจได้ ในจังหวะหายใจเข้าจะเกิดแรงดูดเอา ลิ้นลงไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจมากกว่าเดิม ต้องช่วยยกกระดูกกรรไกรล่างขึ้น ลิ้นซึ่งอยู่ติดกับกระดูก ขากรรไกรล่างจะถูกยกขึ้นทำให้ทางเดินลมหายใจเปิดโล่ง

 

  1. ตรวจดูว่าหายใจหรือไม่

ด้วยการเอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของผู้หมดสติเพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้หมดสติ ขณะที่ตาจ้องดูการเคลื่อนไหวหน้าอกของผู้หมดสติว่ากระเพื่อมขึ้นลงเป็นจังหวะหรือไม่ (ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส) โดยมือยังคงเปิดทางเดินลมหายใจอยู่ ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 10 วินาที

 

  1. เป่าลมเข้าปอด

ให้เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง เมื่อเห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจหรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้เองอย่างเพียงพอ

 

  1. หาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก

ถ้าผู้หมดสติไม่ไอ ไม่หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกาย ให้ถือว่า ระบบไหลเวียนเลือดไม่ทำงาน ต้องช่วยกดหน้าอก ด้วยการหาตำแหน่ง ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกเพื่อวางมือเตรียมพร้อมสำหรับการกดหน้าอก โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคลำขอบชายโครงด้านใกล้ตัวผู้ปฏิบัติ แล้วลากขึ้นไปตามขอบกระดูกชายโครงด้านหน้าจนถึงจุดที่กระดูกชายโครง สองข้างมาพบกันซึ่งเป็นปลายล่างของกระดูกหน้าอกพอดี วางนิ้วมือ ทั้งสองถัดจากจุดนั้นขึ้นไปทางกระดูกหน้าอกเพื่อใช้เป็นที่หมาย แล้วเอาสันมือของอีกมือหนึ่งวางลงบนกระดูก หน้าอกตามแนวกลางตัวถัดจากนิ้วมือที่วางไว้เป็นที่หมาย ยกนิ้วมือที่วางเป็นที่หมายออกไปวางทาบ หรือ ประสานกับมือที่วางอยู่บนกระดูกหน้าอก เตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอก

 

  1. เริ่มกดหน้าอก

กดหน้าอกแล้วปล่อย กดแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 15 ครั้ง ให้ได้ความถี่ของการกดประมาณ 100 ครั้ง/นาที โดยนับ หนึ่งและสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด และแปด และเก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า

 

  1. เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 15 ครั้ง

เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้งสลับกับกดหน้าอก 15 ครั้งไปอย่างน้อยสี่รอบแล้วหยุดประเมินผู้หมดสติอีกครั้ง ถ้ายังไม่รู้ตัว ไม่หายใจ ไม่เคลื่อนไหว ก็เป่าลมเข้าปอดสลับกับกดหน้าอกต่อไปอีกคราวละ 4 รอบ จนกว่าผู้หมดสติจะรู้ตัว หรือ จนกว่าความช่วยเหลือที่เรียกไปจะมาถึง

 

  1. เมื่อผู้หมดสติรู้สึกตัว จัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น

เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัว จัดให้นอนตะแคงเอามือรองแก้มไม่ให้หน้าคว่ำมากเกินไป เพราะจะทำให้กะบังลมขยับได้น้อย ทำให้หายใจเข้า-ออกได้น้อย การจัดท่าพักฟื้น (recovery) สามารถทำได้หลายแบบ แต่ควรเป็นท่าตะแคงตั้งฉากกับพื้นให้มากที่สุด ให้ศีรษะอยู่ต่ำเพื่อระบายของเหลวออกมาจากทางเดินหายใจได้ เป็นท่าที่มั่นคงไม่ล้มง่าย ไม่มีแรงกดต่อทรวงอกซึ่งจะทำให้หายใจได้น้อย และจัดท่ากลับมานอนหงายโดยไม่ทำให้คอและศีรษะบิดได้ง่าย เป็นท่าที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บแก่ผู้ป่วย

 

เพราะอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด ป้องกันคุณให้ปลอดภัยด้วยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ที่ให้ความคุ้มครอง กรณีประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา