การออกแบบสอบถาม เพื่อวิจัย วัดผล แม่นยำ ทำอย่างไร
โดยการออกแบบสอบถามนั้น ทำเพื่อเก็บข้อมูลจากจำนวนประชากรในการทำงานวิจัย หรือเพื่อประเมินการดำเนินงานภายในองค์กร เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือได้ผลการประเมินที่แม่นยำและมีความน่าเชื่อถือ ทำให้มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจมากขึ้น ในปัจจุบันมีการทำเป็นแบบสอบถามออนไลน์อีกด้วย
แบบสอบถาม คืออะไร
แบบสอบถาม คือ การทำรูปแบบของคำถามเป็นชุด ๆ ที่ถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ โดยการออกแบบสอบถามนั้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลหรือประเมินในสิ่งที่ผู้ทำการวิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงในปัจจุบันมีการทำแบบสอบถามออนไลน์ เช่น google form เพื่อความประหยัดและสะดวกสบายมากขึ้น
หลักการออกแบบสอบถาม (QUESTIONNAIRE DESIGN) ที่ดี ทำอย่างไร
หลักการออกแบบสอบถาม (QUESTIONNAIRE DESIGN) ที่ดีทำได้ดังนี้
- ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา
- มีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ทำแบบสอบถาม
- ใช้ข้อความที่กะทัดรัด ได้ในความ
- ใช้คำถามที่เข้าง่าย มีความชัดเจน
- ไม่ควรใช้คำย่อ
- ไม่มีการชี้นำการตอบไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
- คำตอบที่ให้เลือกต้องชัดเจนและครอบคลุม
- คำถามต้องตรงประเด็นกับกลุ่มตัวอย่างหรือประชากร
- คำถามต้องน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้อยากตอบ
7 ขั้นตอน ออกแบบสอบถามให้มีประสิทธิภาพ
1. ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
โดยต้องมีการตั้งเป้าหมายว่าศึกษาเรื่องอะไร และตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า ต้องการศึกษาเพื่ออะไร รวมถึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ครอบคลุม เช่น จำนวนกลุ่มตัวอย่างและประชากรที่ต้องการจะศึกษา ว่าจะใช้ข้อมูลเพศอะไร อายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร เป็นต้น
2. กำหนดรูปแบบของคำถาม
มีการกำหนดรูปแบบของประเภทคำถาม โดยอาจจะเป็นคำถามปลายเปิดหรือปลายปิด
3. กำหนดรูปแบบ ของภาษา ลำดับการถาม
โดยมีการใช้ภาษาและต้องวางลำดับในการถามให้เหมาะสม เช่น
- ตอนที่ 1 ถามข้อมูลพื้นฐาน เช่น เพศ อายุ เป็นต้น
- ตอนที่ 2 ถามข้อมูลหลัก
- ตอนที่ 3 ถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ
4. การร่างแบบสอบถาม
การร่างแบบสอบถาม ทำได้ดังนี้
- มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าอย่างได้ข้อมูลอะไร ตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่
- ตั้งคำถามที่ชัดเจน ตรงประเด็น
- ตั้งคำถามให้ครอบคลุม โดยไม่มากไม่น้อยตนเกินไป
- เรียงลำดับการถามให้มีความสัมพันธ์กัน และเหมาะสม
- ต้องมีจรรยาบรรณในการถาม
5. วิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม
เมื่อร่างแบบสอบถามเสร็จแล้วต้องทำการวิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถาม เช่น การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC)
6. ปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์
เมื่อได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพแบบสอบถามแล้ว ก็นำมาปรับปรุงแบบสอบถามให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
7. จัดพิมพ์แบบสอบถาม
โดยสามารถจัดพิมพ์เป็นเอกสารประเภทกระดาษ ซึ่งต้องทำให้เพียงพอต่อความต้องการของข้อมูล และอาจทำมากกว่านั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลที่ไม่สามารถใช้ได้ และอีกแบบหนึ่งคือทำแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อความประหยัด สะดวกสบาย รวดเร็วและความแม่นยำในการตรวจข้อมูลที่ได้รับ
รูปแบบของคำถาม ของการออกแบบสอบถาม มีอะไรบ้าง
1. คำถามปลายเปิด
การใช้คำถามปลายเปิด เป็นการตอบคำถามโดยผู้ตอบมีอิสระในการตอบ ซึ่งถ้าไม่มีการกำหนดขอบเขตของคำตอบแล้ว จะไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ถูกต้องเป็นไปตามที่ต้องการ ในการตั้งคำถามเปิด จะต้องตั้งคำถามให้แคบเพียงพอเพื่อให้คำตอบที่ได้มีทิศทางเฉพาะ
คำถามปลายเปิดนี้จะมีประโยชน์ในสถานการณ์ที่เป็นการสำรวจ วินิจฉัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อนักวิเคราะห์ไม่สามารถจะกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบปัจจุบันได้ ผลที่ได้รับอาจทำให้ชี้ให้เห็นปัญหาได้แคบลง
2. การใช้คำถามปิด
การใช้คำถามปิด เป็นคำถามที่กำหนดคำตอบให้ตอบ การใช้คำถามปิดควรจะใช้เมื่อนักวิเคราะห์ระบบสามารถที่จะกำหนดรายการคำตอบได้อย่างชัดเจน และเมื่อต้องการสำรวจกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งถ้าใช้คำถามปลายเปิดเป็นการยากที่จะวิเคราะห์และสรุป
ข้อควรระวังของคำถาม ในการออกแบบสอบถาม
ข้อควรระวังของคำถาม ในการออกแบบสอบถาม มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อน
- หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมาก
- หลีกเลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ
- หลีกเลี่ยงคำที่สื่อความหมายหลายอย่าง
- ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่ใช้เวลาทำนาน
ภาษาที่ใช้ในออกแบบสอบถามที่ดี เป็นอย่างไร
ภาษาที่ใช้ในการออกแบบสอบถามที่ดี มีดังนี้
- ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
- หลีกเลี่ยงการใช้คำเฉพาะ เพราะมีความหมายไม่ชัดเจน
- ใช้คำถามที่กระชับ ได้ใจความ
- ไม่ใช้คำหยาบคาย
- หลีกเลี่ยงคำที่มีความเอนเอียงในคำถาม
- คำถามที่ตั้งขึ้นมานั้นต้องแน่ใจว่าเป็นเทคนิคที่ถูกต้องก่อนที่จะใช้
- คำถามนั้นต้องมีเป้าหมายที่ตอบสนองได้ตรงกับที่ต้องการอยากรู้
ลำดับของคำถาม ออกแบบสอบถามอย่างไรให้ดี
ลำดับของการออกแบบสอบถาม ทำได้ดังนี้
- อย่างแรกต้องคำนึงถึงเป้าหมายในการใช้แบบสอบถาม ว่าจะช่วยให้ได้คำตอบที่ตรงวัตถุประสงค์หรือไม่
- ต่อมาตั้งหัวข้อคำถามใหญ่ ๆ ให้น่าสนใจในการทำแบบสอบถาม
- เพิ่มคำถามย่อย ๆ ต่อจากหัวข้อใหญ่เพื่อขยายความให้กว้างขึ้น
- สุดท้ายเป็นส่วนของข้อเสนอแนะ เพิ่มให้ผู้ทำแบบสอบถามสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเองได้
สรุป
การออกแบบสอบถามเพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำนั้น ต้องมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างประกอบกัน อย่างแรกต้องตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาเรื่องอะไร รวมถึงศึกษาหลักการออกแบบสอบถามให้ถูกต้อง ภาษาที่ใช้ รวมถึงข้อควรระวัง เป็นต้น
จากนั้นเมื่อออกแบบสอบถามเสร็จแล้ว ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถามว่ามีข้อผิดพลาด สร้างความสับสนต่อผู้ทำแบบสอบถามหรือไม่ มีคำผิดหรือเปล่า และปรับปรุงเพื่อให้แบบสอบถามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้