คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อน คืออะไร หน้าที่ โครงสร้าง หลักการทำงานเป็นอย่างไร

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (369)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:691
เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 15.33 น.

คอนเดนเซอร์ (Condenser)ในระบบทำความเย็น

คอนเดนเซอร์ condensor คืออะไร? มันเป็นอุปกรณ์สำคัญพบได้ในระบบทำความเย็นทั่วไป หลายคนเรียกว่า คอยล์ร้อน ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็น เป็นเครื่องควบแน่น หรืออุปกรณ์ควบแน่นนั่นเอง มาทำความรู้จักโครงสร้างและหลักการทำงานของคอนเดนเซอร์ลำดับต่อไป

 

คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อน คืออะไร

 

หลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น

 

คอนเดนเชอร์ ( Condenser ) หรืออุปกรณ์ควบแน่น ซึ่งทำหน้าที่ให้ สารทำความเย็นในสถานะแก๊สที่มี
ความดันสูงและอุณหภูมิสูงที่ถูกอัดส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ กลั่นตัวให้เป็นสารทำความเย็นเหลวภายในคอนเดนเซอร์ด้วยการระบายความร้อนออก แต่ยังมีความดันและอุณหภูมิสูงอยู่

 

หลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น เริ่มจาก คอมเพรสเซอร์ดูด อัดสารทำความเย็นส่งไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อระบายความร้อนและกลั่นตัวสารทำความเย็นให้เป็นของเหลว ส่งต่อไปยังอุปกรณ์ลดความดัน เมื่อสารทำความเย็นผ่านอุปกรณ์ลดความดันแล้วจะมีความดันต่ำและอุณหภูมิลงลด

จากนั้นส่งต่อไปยัง อีวาพอเรเตอร์ ( Evaporator ) หรือคอยล์เย็น ทำหน้าที่ ดูดรับปริมาณความร้อนที่ส่งไปให้สารทำความเย็น ทำให้อากาศหรือน้ำที่ผ่านอีวาพอเรเตอร์ อุณหภูมิต่ำลง สารทำความเย็นก็จะถูกส่งกลับไปยัง คอมเพรสเซอร์ เพื่อทำงานวนกลับไปเช่นเดิม

 

ส่วนประกอบหลักๆของคอนเดนเซอร์

 

ส่วนประกอบหลักของคอนเดนเซอร์ คือ ท่อทองแดง( Copper tube ) และมีครีบอลูมิเนียม( Fin aluminium )ในการระบายความร้อน ซึ่งยังมีวัสดุอื่นๆที่ใช้เป็นตัวกลาง มีมากมาย เช่น ทองแดง (Copper) , อลูมิเนียม (Aluminium) ,  สแตนเลส (Stanless) ,  ไทเทเนียม (Titanium)  ฯลฯ

โดยหลักแล้วคอนเดนเซอร์จะใช้อากาศหรือน้ำ ในการะบายความร้อน ดังนั้น 2 คุณสมบัติของวัสดุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนพึงจะมี คือ มีค่าการนำความร้อนที่ดี และทนต่อการกัดกร่อน

 

คอนเดนเซอร์ แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด

 

ชนิดของคอนเดนเซอร์ โดยทั่วไปคอนเดนเซอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิด ตามลักษณะการนำไปใช้งาน เพราะรูปแบบการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็นมีหลากหลาย และเนื่องจากระบบนี้ขับเคลื่อนโดยใช้น้ำและไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย 

 

คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศ( Air Cooled Condenser )

 

คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศ( Air Cooled Condenser ) ใช้อากาศเป็นตัววระบายความร้อนออก ซึ่งเป็นทั้งอากาศที่หมุนเวียนในธรรมชาติหรือใช้พัดลมช่วยก็ได้ การระบายความร้อนนี้เหมาะสำหรับเครื่องทำความเย็นขนาดเล็ก เช่น ตู้เย็น ตู้แช่ ถังน้ำเย็น เป็นต้น โดยสามารถแบ่งได้เป็น

 

  • แบบใช้อากาศธรรมชาติหมุนเวียน

คอนเดนเซอร์แบบนี้ นิยมใช้ชนิดท่อและครีบทำจากท่อทองแดงขดเป็นตัวยูและมีแผ่นอลูมิเนียมบางทำเป็นครีบ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการระบายความร้อน สำหรับคอนเดนเซอร์แบบท่อเรียบนั้น มักจะติดตั้งไว้ที่ด้านหลังหรือด้านใต้ของตู้เย็นเพื่อให้ระบายอากาศได้สะดวก

รูปแบบคอนเดนเซอร์ ตู้ เย็น

 

  • แบบใช้พัดลมช่วย

คอนเดนเซอร์แบบใช้พัดลมหรือโบลเวอร์ โดยยังคงหลักการใช้อากาศธรรมชาติแต่ทำให้ได้อากาศไหลผ่านคอนเดนเซอร์ได้มากขึ้น เพิ่มปริมาณลมที่ผ่านผิวเครื่องควบแน่น สามารถลดขนาดของคอนเด็นเซอร์ให้เล็กลงได้

คอนเดนเซอร์ชนิดนี้ มักจะใช้ท่อทองแดง และมีครีบอะลูมิเนียมเป็นตัวช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการระบายความร้อน โดยอากาศที่ผ่านเข้ามาบนผิวหน้าของคอนเดนเซอร์ จะทำให้เครื่องควบแน่นมีอุณหภูมิที่ลดลง

ลักษณะคอนเด็นเซอร์ที่มีพัดลมช่วยระบายความร้อน

 

คอนเดนเซอร์ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ ( Water Cooled Condenser)

 

คอนเดนเซอร์ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ ( Water Cooled Condenser) ใช้น้ำเป็นตัวกลางระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อให้สารทำความเย็นกลั่นตัวเป็นของเหลว โดยมีการแลกเป็นกันของน้ำและสารทำความเย็น ทำให้น้ำมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น บางส่วนระเหยกลายเป็นไอ อากาศจะพัดไอน้ำออกสู่บรรยากาศ แบ่งเป็น 2 ระบบคือ ดังนี้

 

  • ระบบหล่อเย็นแล้วทิ้ง (Wastewater System)

ระบบนี้น้ำที่ถูกจ่ายเข้าคอนเดนเซอร์ มาจากท่อประปาโดยตรง เพื่อใช้ในการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นและจะถูกปล่อยทิ้งลงท่อระบายน้ำหลังจากที่ผ่านคอนเดนเซอร์แล้ว ระบบนี้การใช้งานเหมาะกับคอนเดนเซอร์ขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่าในการลงทุน

 

  • ระบบน้ำหล่อเย็นแล้วกลับมาใช้ได้อีก (Re-Circulated Water System)

ระบบนี้น้ำที่จ่ายเข้าคอนเดนเซอร์เป็นน้ำเย็นจากหอระบายน้ำเย็น ( Cooling tower ) น้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น หลังจากผ่านคอนเดนเซอร์ออกไป จากนั้นจะไหลไปตามท่อเข้าไปยังหอระบายความเย็น เพื่อลดอุณหภูมิของน้ำจากนั้นหมุนเวียนกลับมาใช้ในเครื่องควบแน่นใหม่อีกครั้ง

 

แม้จะมีน้ำบางส่วนที่ระเหยตัวไปที่หอระบายน้ำเย็น แต่น้ำส่วนใหญ่ก็ยังคงนำกลับมาใช้งานได้อีก ระบบนี้จึงมีความประหยัดมากกว่าระบบแรก

คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำ ระบบRe-Circulated Water System

 

คอนเดนเซอร์ชนิดอีวาพอเรตีฟ ( Evaporative Condenser)

 

พาทนี้คุณพีใส่รายละเอียดมาครบถ้วนแล้วครับ ผมจะจัด โครงสร้างตามนี้ครับผม

การทำงานของคอนเดนเซอร์ชนิดอีวาพอเรตีฟ ( Evaporative Condenser)

 

คอนเดนเซอร์ชนิดอีวาพอเรตีฟ ( Evaporative Condenser) เป็นคอนเดนเซอร์ที่อาศัยทั้งอากาศและน้ำในการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นในสถานะแก๊ส เพื่อให้น้ำยาที่มีสถานะแก๊สกลั่นตัวเป็นของเหลว หลักการคือการนำเอาคอนเดนเซอร์ชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำและหอระบายน้ำเย็นเข้ามารวมไว้ในตัวเดียวกัน

 

คอนเดนเซอร์แอร์  รถยนต์ ตู้เย็น แตกต่างกันหรือไม่

 

โดยหลักการทำงานของคอนเดนเซอร์ แอร์ คอนเดนเซอร์ รถยนต์ คอนเดนเซอร์ ตู้เย็น จะไม่ต่างกันนัก เนื่องจากหน้าที่ของคอนเด็นซอร์ คือ ช่วยระบายความร้อนออกจาสารทำความเย็น เป็นอุปกรณ์สำคัญพบได้ในระบบทำความเย็น ทั้งในในแอร์บ้าน รถยนต์ สำนักงาน ตู้แช่ รวมไปถึงในระบบอุตสาหกรรมต่างๆ 

มีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งการเลือกคอนเดนเซอร์ให้เหมาะสมกับการทำความเย็น จะช่วยให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่ดี ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา