เส้นคอตึงจนปวดหัว เกิดจากอะไร รักษายากหรือไม่

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (374)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:700
เมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 11.49 น.

ทำงานจนเส้นคอตึงจนปวดหัว

อาการปวดที่เกิดจากโรคทางระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหลัง โดยอาการเส้นคอตึงปวดหัวหากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเกิดความทุพพลภาพภายหลังได้ อีกทั้งคนที่มีอาการปวดส่วนมากคิดว่าความเจ็บปวดบางอย่างไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งอาจจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรทำสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคือ การได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวด 

ซึ่งบางครั้งอาจจะมีหลายปัจจัยส่งผลต่อเนื่องกัน เมื่อรู้สาเหตุของอาการแล้ว แพทย์ก็จะให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันได้มีวิทยาการใหม่ซึ่งสามารถรักษาอาการปวดจากสาเหตุเส้นคอตึง ปวดหัวได้อย่างตรงจุด รวมถึงการรักษาเพื่อควบคุมอาการปวด โดยใช้การรักษาแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เห็นผลเร็ว และหายขาดได้อีกด้วย



เส้นคอตึงจนปวดหัว

เส้นคอตึงจนปวดหัวอาจเกิดจากกล้ามเนื้อบ่าที่เกร็งตัวมาก

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัว เป็นอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อบ่าที่เกร็งตัวมากจนทำให้ปวดร้าวขึ้นศีรษะ มักจะเจอในกลุ่มคนที่มีการใช้กล้ามเนื้อบ่ามาก ๆ หรือนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานตลอดวัน เช่น พนักงานออฟฟิศ หรือคนที่ใช้ท่าทางไม่เหมาะสมซ้ำ ๆ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อบ่านั้นมีการเกร็งตัวซ้ำ ๆ จนเกิดจุดกดเจ็บหรือที่เรียกว่า trigger point ทำให้เกิดอาการร้าวขึ้นศีรษะหรือขมับได้

ซึ่งนอกจากเส้นคอตึง ปวดหัวแล้ว อาจเกิดจากไมเกรน ซึ่งเกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปกติ โดยสาเหตุมักมาจากความเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง สลับกัน หรือสามารถเป็นทั้งสองข้างได้ มักจะมีสิ่งกระตุ้นอาการ เช่น สี เสียง แสง หรือความร้อน เป็นต้น



อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวเป็นอย่างไร

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวจากการใช้คอมพิวเตอร์

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
 

อาการปวดศีรษะจากความผิดปกติของคอ (Cervicogenic Headache)

ในปัจจุบัน มีการใช้งานมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตมากขึ้น เปรียบเสมือนอวัยวะอีกส่วนในร่างกายเรา แต่ทว่าการใช้อุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น ร่วมกับการที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ 

การปวดศีรษะเรื้อรังในบางคน อาจเกิดจากความผิดปกติของคอ ตั้งแต่ใต้ฐานกะโหลกจนถึงกระดูกต้นคอ ซึ่งมักจะมีอาการปวดบริเวณศีรษะ และใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง แต่ในบางคนที่มีอาการเรื้อรังมานาน อาจรู้สึกปวดทั้ง 2 ข้าง อาการปวดชนิดนี้เราจะเรียกว่า Cervicogenic headache โดยมีอาการ ดังนี้

  • อาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง แต่ในบางคนที่มีอาการปวดมาก ๆ อาจจะรู้สึกทั้ง 2 ด้าน
  • ปวดศีรษะแบบตื้อ ๆ ซึ่งอาการปวดจะอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • อาการปวดจะเริ่มจากด้านหลังของต้นคอ ขึ้นไปที่ศีรษะ จากด้านหลังไปด้านหน้า ตา ขมับ และหู
  • อาการปวดคอ บ่า ไหล่ และแขน ด้านเดียวกับที่มีอาการปวดศีรษะ
  • คอแข็ง
  • อาการปวดศีรษะ อาจมีความเกี่ยวข้องการเคลื่อนไหวของคอที่ผิดปกติ
  • ตามัวข้างหนึ่งสาเหตุการเกิดอาการปวดศีรษะชนิด
  • อาการตึงของกล้ามเนื้อคอ รวมถึงมีจุดกดเจ็บในบริเวณนั้น

อาการปวดหัวเส้นประสาทคอ (Occipital Neuralgia)

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวส่งผลให้ปวดตาด้วย

อาการเส้นคอตึง ปวดหัวเหตุเส้นประสาท (Neuralgia) คือ อาการปวดเหตุจากเส้นประสาท ที่มีความผิดปกติของเส้นประสาทเป็นจุดเริ่มต้น โดยอาการปวดนั้น อาจเกิดจากกลไกผิดปกติเส้นประสาท รากประสาท หรือจากสมองส่วนกลางที่มีการปรับการตอบสนองที่ไวผิดปกติ

อาการอื่น ๆ ที่พบร่วมกับปวดเหตุประสาทต้นคอ มีหลายอาการ ได้แก่ อาการปวดตื้อ ๆ ตลอดเวลาที่ต้นคอ ในช่วงระหว่างที่ไม่มีอาการปวดแปลบ หรือเสียวนั้น นอกจากอาการปวดบริเวณต้นคอแล้วยังพบอาการปวดบริเวณหลังลูกตาได้ มองภาพไม่ชัด มีเสียงดังในหู คลื่นไส้ อาเจียน และคัดจมูก



สาเหตุอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัวจากภาวะออฟฟิศซินโดรม

โดยสาเหตุของอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว อาจแยกได้หลายกรณี เช่น

1. ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

เป็นอาการที่เกิดจากการทำงานในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสียสมดุลของกล้ามเนื้อ กระดูกข้อต่อ เอ็น และเส้นประสาท อีกทั้งยังส่งผลเสียไปยังระบบร่างกายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการไหลเวียนเลือดน้ำเหลืองติดขัด รวมไปถึงการย่อยอาหาร สายตาการมองเห็น ซึ่งพบในกลุ่มทำงานชาวออฟฟิศ ที่อยู่ท่าที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน

โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดแขน ปวดข้อมือ ปวดอุ้งมือ ปวดนิ้วมือ นิ้วล็อก หรือปวดกระบอกตา นอกจากนี้อาการของออฟฟิศซินโดรมยังส่งผลการมองเห็น ความดันสูง อาหารไม่ย่อยท้องอืด ทำให้นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ อีกด้วย

2. ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache)

โดยสาเหตุของการเกิดอาการปวดกลุ่มกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache) เกิดจากการใช้งานกลุ่มกล้ามเนื้อนั้นซ้ำ ๆ นาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งค้างและอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เส้นคอตึง ปวดหัวนอกจากนี้การหลั่งสารสื่อประสาทที่กระตุ้นความปวด (Nitric oxide synthase) ไปกระตุ้นตัวรับความเจ็บปวดที่อยู่รอบ ๆ กล้ามเนื้อ 

ทำให้มีอาการปวด หลังได้รับตัวกระตุ้น (Precipitating factors) และหากตัวกระตุ้นเหล่านี้คงอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อตัวรับความเจ็บปวดในระบบประสาทส่วนกลาง (Central pain receptor) แปลผลรับรู้ความเจ็บปวดนั้นต่อเนื่อง เกิดเป็นอาการปวดเรื้อรังได้

3. โรคไมเกรน (Migraine)

โดยสาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากการที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในเยื่อหุ้มสมองหลั่งออกมาผิดปกติ ส่งผลต่อหลอดเลือดที่อยู่บริเวณผิวสมองเกิดการอักเสบ หลอดเลือดแดงบริเวณผิวสมองหดตัว ทำให้เกิดอาการอื่นที่พบร่วมกับอาการปวดศีรษะ เช่น เห็นภาพเบลอ เห็นแสง วิงเวียน คลื่นไส้ ชา อ่อนแรง ซึ่งเรียกกลุ่มอาการดังกล่าวนี้ว่า Aura และสารสื่อประสาทที่มีผลทำให้หลอดเลือดแดงในชั้นเยื่อหุ้มสมองคลายตัวส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะตุ๊บ ๆ อย่างรุนแรง



ปัจจัยที่กระตุ้นอาการปวดคอร้าวขึ้นหัว

โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดเส้นคอตึงจนปวดหัว เกิดอาการปวดต้นคอท้ายทอย ปวดหลังคอ และอาการปวดคออื่น ๆ มีได้หลายปัจจัย เช่น

1. อายุและช่วงวัย

อาการเส้นคอตึง ปวดหัว ปวดต้นคอท้ายทอย มักพบได้ในกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีการทุ่มเททำงาน ทำให้อาจไม่ได้ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากนัก และมีการใช้งานร่างกายในการทำงาน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มนี้

ส่วนของวัยผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อย เนื่องจากเป็นวัยที่ร่างกายเกิดความเสื่อมตามอายุเยอะขึ้น จนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะกดทับเส้นประสาท หรือเกิดโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม เป็นต้น

2. พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวัน เราอาจมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว และตัวเราเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจมากนัก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ โดยไม่มีการยืดเส้นสาย หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อย อย่างการนอน การนั่ง การทำกิจกรรมบางอย่างที่มีการเงยคอ ก้มคอ หรือหันศีรษะบ่อย ๆ ทั้งวัน ก็จะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน 

อีกส่วนหนึ่งที่หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ คือ การออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่หลาย ๆ ครั้ง เราอาจออกกำลังกายผิดท่า หรือเปลี่ยนท่ากะทันหัน ก็จะทำให้สรีระร่างกายเกิดการบาดเจ็บได้ และการใช้งานกล้ามเนื้อคออย่างไม่ถูกต้อง หรือหนักจนเกินไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอขึ้นได้เช่นกัน

3. การประกอบอาชีพ

โดยการเลือกประกอบอาชีพ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เนื่องจากหลาย ๆ ครั้ง ผู้ที่มีอาการปวดอาจจะรู้ตัวว่าเกิดความผิดปกติกับร่างกายขึ้น แต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากอาชีพหรืองานที่ทำอยู่เป็นประจำ ส่งผลให้อาการหายช้า หรือมีโอกาสเป็นอาการเรื้อรังยาวนาน

โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในแง่ของการประกอบอาชีพ มักจะเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น กราฟิกดีไซน์ พนักงานออฟฟิศ นักเขียน ฟรีแลนซ์ เป็นต้น

4. ความเครียด

โดยในหลาย ๆ ครั้งเราอาจจะมีปัญหาชีวิต หรือทุ่มเทกับการทำงานมากจนเกินไป ทำให้มีความเครียดสูง และไม่ได้รับการผ่อนคลาย อีกทั้งก็อาจมีปัญหาอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สุขภาพมีแนวโน้มแย่ลงอีกด้วย

5. การอักเสบหรือติดเชื้อ

ในแง่ของสุขภาพ การเกิดการอักเสบ หรือการติดเชื้อ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดคอได้เช่นกัน เนื่องจากอวัยวะภายในร่างกายหลาย ๆ ระบบมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้ที่มักจะมีอาการปวดคอเกิดขึ้น เช่น ผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ เกาต์ คนที่ติดเชื้อไวรัสที่คอ กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อเกิดการอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังเกิดขึ้น เป็นต้น

6. ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ

โดยบุคคลที่ได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อบริเวณคอ ก็มีผลที่จะทำให้เกิดอาการปวดคอต่าง ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน หากมีอาการปวดมาก เป็นระยะเวลานาน ไม่ยอมหายสักที แนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็กอาการที่เกิดขึ้น



เส้นคอตึงจนปวดหัวแบบไหนที่ควรพบแพทย์

โดยอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว ที่ควรมาพบแพทย์ มีดังนี้

  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นทันทีทันใด
  • อาการปวดศีรษะที่เป็นครั้งแรก หรืออาการปวดศีรษะที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นใหม่ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี
  • อาการปวดศีรษะที่เป็นมากขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะอาการปวดที่แตกต่างจากเดิมที่เคยเป็น
  • อาการปวดศีรษะร่วมกับภาวะหมดสติชั่วคราวหรือชัก
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นใหม่ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคมะเร็ง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือตั้งครรภ์
  • อาการทางระบบประสาทที่เกิดร่วม เช่น เวียนศีรษะ อ่อนแรง เป็นนานมากกว่า 1 ชั่วโมง
  • พบความผิดปกติจากการตรวจร่างกายทั่วไปหรือการตรวจทางระบบประสาท
  • อาการปวดศีรษะที่ถูกกระตุ้นจากบางปัจจัย เช่น การออกแรง การเบ่ง หรือการมีเพศสัมพันธ์

หากมีอาการเส้นคอตึง ปวดหัวดังที่กล่าวมาแล้วควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด



การวินิจฉัยทางการแพทย์

การตรวจเส้นคอตึงจนปวดหัวด้วย CT SCAN

โดยการวินิจฉัยทางการแพทย์เมื่อมีอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว ทำได้ดังนี้

การตรวจเลือด

โดยตรวจว่ามีการอักเสบหรือติดเชื้อในเลือดหรือไม่ เพราะหากติดเชื้อไวรัสที่คอ กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อเกิดการอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังเกิดขึ้น ก็จะทำให้เส้นคอตึง ปวดหัวได้เช่นกัน

การตรวจ CT SCAN

การตรวจ CT scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายด้วยรังสีเอกซ์โดยการ ฉายรังสี เอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสร้างภาพ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งภาพในระนาบต่าง ๆ หรือจะ แสดงเป็นภาพ 3 มิติ

โดยจะตรวจสอบที่ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง ใช้ในการวินิจฉัยโรคหรือการอักเสบของข้อต่อต่าง ๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลังและต้นคอ โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่า การตรวจเอกซเรย์ทั่วไป

การตรวจ MRI 

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือ เครื่องมือในการตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย โดยใช้เครื่องสนามแม่เหล็ก และคลื่นความถี่วิทยุ สร้างภาพที่มีความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ละเอียดยิ่งขึ้น ส่วนผู้ป่วยก็ไม่ได้รับผลกระทบจากรังสีจากการเอกซเรย์ เช่น MRI สมอง MRI กระดูกสันหลังและต้นคอ เป็นต้น

เครื่อง MRI ประกอบด้วยแม่เหล็กซึ่งมีไฮโดรเจนอะตอม เมื่อร่างกายอยู่ท่ามกลางสนามแม่เหล็ก ร่างกายก็จะมีโมเลกุลของน้ำ เครื่อง MRI ส่งสัญญาณวิทยุ เข้าไปกระตุ้นอวัยวะ ทำให้เกิดการกำทอน (Resonance) ตามหลักการของฟิสิกส์ เมื่อเครื่องหยุดการส่งสัญญาณวิทยุแล้ว ร่างกายก็จะปล่อยไฮโดรเจนอะตอม เข้าสู่อุปกรณ์เข้ารับสัญญาณ ออกมาเป็นสัญญาณภาพบนจอ



เส้นคอตึงจนปวดหัว รักษาอย่างไร

โดยการรักษาอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว ทำได้ด้วยตัวเองและทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

วิธีแก้อาการเส้นคอจึงจนปวดหัวด้วยตัวเอง

ฟังเพลงคลายเครียดเพื่อลดปัญหาเส้นคอตึงจนปวดหัว

 

  • การจัดการกับความเครียด

 

นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด สวดมนต์ไหว้พระ ฝึกลมหายใจ ลองกำหนดลมหายใจเข้า - ออกง่าย ๆ ทำให้ชีพจรเต้นช้าลง เอาใจไปโฟกัสการกำหนดลมก็ทำให้เราลืมเรื่องเครียด ๆ ไปได้ประมาณหนึ่ง รวมถึงการผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลงก็ช่วยได้เช่นกัน

 

  • การออกกำลังกายและบริหารต้นคอ

 

โดยการออกกำลังกายที่เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ จะช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่นได้ดีขึ้น และเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะหากเราอยู่ในท่าทางที่ไม่ดีนาน ๆ จะมีกล้ามเนื้อบางกลุ่มที่ตึงและกล้ามเนื้อบางส่วนที่อ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการต้านแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มที่ตึงเสียไป

 

  • การจัดสรีระร่างกาย

โดยการปรับท่านั่งให้ถูกต้อง อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อยในการปรับท่าทางที่เราเคยชินมานาน แต่ก็ต้องพยายามมีสติอยู่กับตัว พยายามนั่งให้หลังตรง ตัวตรง อาจจะมีการใช้เก้าอี้หรือโต๊ะทำงานที่เหมาะสม เพื่อที่จะทำให้ทรงท่าของเราอยู่ในท่าทางที่ดี สิ่งนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่สำคัญมาก

 

  • การประคบเพื่อบรรเทาอาการ

 

การประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ดขัดยอกซึ่งน้ำมันหอมระเหยเมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมา ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และยังมีสารสำคัญจากสมุนไพรบางชนิดที่ซึมเข้าทางผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัดยอก และลดปวดได้

 

  • การนวดผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ

 

การนวดกดจุด หรือที่เรียกว่า Deep Friction Massage เป็นการกดหรือขยี้ลงไปบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว โดยจะกดขวางลายเส้นใยกล้ามเนื้อให้เนื้อเยื่อเกิดความอ่อนตัวลง จุดกดเจ็บลนกล้ามเนื้อค่อย ๆ สลายไป และทำให้เลือดไหลเวียนมาบริเวณกล้ามเนื้อนั้น ๆ ได้ดีขึ้น จึงทำให้อาการปวดของกล้ามเนื้อลดลง

วิธีรักษาอาการเส้นคอจึงจนปวดหัวทางการแพทย์

การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดปัญหาเส้นคอตึงจนปวดหัว

 

  • การทานยาแก้ปวด

 

เป็นการรักษาอาการเส้นคอตึง ปวดหัวเฉียบพลัน ด้วยยาแก้ปวดชนิดรับประทานและชนิดฉีด ส่วนการป้องกันอาการปวดศีรษะ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบ่อย มีอาการปวดแต่ละครั้งรุนแรง อาการปวดกินเวลายาวนานหรือมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ตามัว เวียนศีรษะ ชา อ่อนแรง โดยรักษาด้วยยาป้องกันอาการปวดซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน และยาฉีด

 

  • การทำกายภาพบำบัด

 

กายภาพบำบัด (Physical therapy: PT) เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การดึง นวด ประคบ ร่วมกับการบริหารร่างกายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ มีอาการปวด หรือได้รับผลข้างเคียงจากอาการเจ็บป่วยจนทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เต็มที่

 

  • การฝังเข็ม

 

การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการคือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่น ๆ เพื่อทำให้พลังงาน และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล

 

  • การฉีดโบท็อก

 

ในทางการแพทย์แล้วสาร Botulinum Toxin มีคุณสมบัติในการคลายกล้ามเนื้อ จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคหรือผู้ที่มีความผิดปกติของร่างกายได้หลายอย่าง เช่น ใช้ฉีดเพื่อรักษาผู้ที่มีอาการตาเหล่  ตาเข หรือตากระตุก  อาการโรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง รวมถึงอาการปวดศีรษะจากโรคไมเกรนเรื้อรังก็สามารถใช้โบท็อกรักษาได้เช่นกัน



แนวทางการป้องกันอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

จัดท่านอนให้ถูกท่าเพื่อป้องกันอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว

โดยแนวทางการป้องกันอาการเส้นคอตึงจนปวดหัว ทำได้ดังนี้

  • นอนหลับ อย่าหนุนหมอนสูงเกินไปหรือหนุนในลักษณะที่ผิดแนวของกระดูก เช่น นอนพาดโซฟา หรือ ม้านั่งหมอนควรรองรับศีรษะต้นคอและบ่าเล็กน้อยถ้าลองสอดมือไม่ควรมีช่องว่างใต้คอ
  • ไม่ควรสะบัดต้นคอแรง ๆ หรือหมุนคอเร็ว ๆ
  • ถ้าต้องนั่งทำงานนาน ๆ อาจทำให้เส้นคอตึง ปวดหัวควรจะมีเวลาพักเพื่อช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหรือบริเวณต้นคอสลับกับการทำงาน
  • ปรับเครื่องใช้สำนักงานให้เหมาะสม เช่น จอคอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ระดับสายตา
  • ผู้ที่นั่งขับรถ ควรจะมีพนักพิงรองที่ต้นคอและศีรษะ

 


ข้อสรุป

อาการเส้นคอตึงจนปวดหัว เป็นอาการที่ในระดับที่ไม่รุนแรงมาก สามารถหายได้ง่าย แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ จนอาการเส้นคอตึง ปวดหัวมีความรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดการเรื้อรัง ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหรือภาวะต่าง ๆ ตามมา ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นควรทำการรักษาและหาวิธีป้องกันเพื่อสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ29 ตุลาคม พ.ศ. 2565 15.07 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา