ซึมเศร้าเรื้อรัง สาเหตุการเกิดและอาการของโรค

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (583)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:1042
เมื่อ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 21.49 น.

ซึมเศร้าเรื้อรัง

โรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้มาก ในปัจจุบันมีผู้คนเป็นจำนวนมากขึ้น แต่มีหลายคนยังไม่รู้จักโรคนี้ บางคนเป็นโดยไม่รู้ตัว คิดว่าเป็นเพราะคิดมากไปเองก็มี ทำให้ไม่ได้รักษาที่เหมาะสม ทันท่วงที จึงทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อาการเศร้าหมอง  สิ้นหวัง ขาดความสนใจสำหรับทำกิจกรรมประจำวันอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลต่อการทำงานโดยรวมและคุณภาพชีวิต

บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ให้มากขึ้น  เพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น มาดูถึงสาเหตุการเกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรัง dysthymia อาการ  วิธีรักษา รวมถึงการป้องกันภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง พร้อมกันได้เลย



ซึมเศร้าเรื้อรัง คืออะไร?

ซึมเศร้าเรื่องรัง คือ  ภาวะซึมเศร้าชนิดหนึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า สิ้นหวัง ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่สนใจทำกิจกรรมใด ๆ โรคนี้อาจเกิดจากประสบการณ์ เหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเศร้า ทุกข์ทรมาน อาการเกิดขึ้นเรื้อรังในระยะเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน 



ซึมเศร้าเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุใด

ซึมเศร้าเรื้อรังหรือเรียกว่าโรคซึมเศร้าแบบถาวร (PDD) มีลักษณะเฉพาะคืออาการซึมเศร้าในระยะยาวอยู่นานหลายปี สาเหตุของภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อาจเกี่ยวกับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น

  • พันธุกรรม ประวัติครอบครัวมีภาวะซึมเศร้าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดซึมเศร้าเรื้อรัง ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจมีบทบาทสำคัญทำให้เกิดโรค โดยเฉพาะญาติสายตรงมีประวัติการเกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น
  • ความไม่สมดุลของสารเคมีในระบบประสาท  การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน อาจส่งผลต่อร่างกายทำงานผิดปกติทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเรื้อรัง
  • ลักษณะบุคลิกภาพบางอย่าง เช่น แนวโน้มความคิดเชิงลบ ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ มองชีวิตในแง่ร้าย อาจสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้
  • ประสบการณ์ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น ความบอบช้ำทางจิตใจ ถูกทารุณกรรม การละเลย สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเรื้อรังในภายหลังได้
  • เหตุการณ์ในชีวิตสะเทือนจิตใจ ส่งผลให้เกิดความเครียดต่อเนื่อง กระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรัง dysthymia ได้ เช่น ปัญหาทางการเงิน ปัญหาความสัมพันธ์ ความเครียดจากงาน สูญเสียคนใกล้ชิด  อาจส่งผลให้เกิดซึมเศร้าเรื้อรัง
  • การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น อาการปวดเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคทางจิตเวช อย่างโรควิตกกังวล โรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ติดยาเสพติด อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเพิ่มขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงสมดุลของฮอร์โมน เช่น เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้
  • แยกตัวทางสังคม ขาดความสัมพันธ์ในทางสังคม ความรู้สึกเหงาอาจทำให้อาการซึมเศร้าเรื้อรังขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  • ถ้าเป็นผู้สูงอายุการเกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อาจเกิดจากโรคบางชนิด การรับรู้ลดลง สูญเสียบุคคลใกล้ชิด ความพิการ รวมทั้งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำลง

ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีอิทธิพลต่อกันทำให้สาเหตุของภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ในแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีรักษาที่ดีมีประสิทธิผลคือทำจิตบำบัด ใช้ยา รวมถึงเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผสมผสานกัน หากใครกำลังประสบกับอาการซึมเศร้าเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินอาการอย่างละเอียด เพื่อหาวิธีรักษาให้เหมาะสมต่อไป



อาการของซึมเศร้าเรื้อรัง

ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง มีลักษณะเป็นอาการระยะยาว ซึ่งอาจรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแต่ก็ยังคงส่งผลกระทบต่อการทำงานในแต่ละวันของบุคคล ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อาการสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง มีดังต่อไปนี้

  • อารมณ์ไม่คงที่  รู้สึกเศร้า ท้อแท้ วิตกกังวล หรือเฉย ๆ อยู่ในอารมณ์ว่างเปล่า เป็นเกือบตลอดทั้งวันเกือบทุกวัน
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรังเกิดความเหนื่อยล้า ไม่มีพลัง รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่มีเรี่ยวแรงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะพักผ่อนเพียงพอแล้วก็ตาม
  • อาการผิดปกติในการรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร หรือรู้สึกอยากกินอาหารมากกว่าปกติ ส่งผลให้น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น รวมทั้งสูญเสียความสนใจในเรื่องอาหารการกิน
  • ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังทำให้พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่หลับ นอนหลับมากเกินไป นอนหลับไม่สนิท หรือตื่นเช้ากว่าปกติ เกือบทุกวันในสัปดาห์ 
  • ความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ รู้สึกไร้ค่า โทษตัวเอง  รู้สึกว่าตัวเองไร้ความสามารถ ขาดความเชื่อมั่น หรือรู้สึกผิดมากเกินไปกับปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ 
  • ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังทำให้ความสามารถในการคิด ตัดสินใจลดลง ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อ รวมถึงไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆได้
  • รู้สึกสิ้นหวัง  หงุดหงิดง่าย ร้อนรน กระสับกระส่าย โกรธง่าย รวมถึงมีอารมณ์โกรธรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม  ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ทำให้ไม่อยากพบปะผู้คน แยกตัวจากเพื่อนและครอบครัว หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมลดลง
  • ขาดความสนใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  • รู้สึกผิด เป็นกังวลคิดมากเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรังอาจมีความคิดเกี่ยวกับความตาย เช่น วางแผนฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายเกิดขึ้นได้

อาการภาวะซึมเศร้าเรื้อรังอาจเกิดขึ้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน ทำให้ผู้ป่วยบางคนเข้าใจผิดคิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ หากใครหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการซึมเศร้าเรื้อรัง หดหู่ หรืออาการในข้างต้นบ่อย ๆ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น



ความแตกต่างระหว่างซึมเศร้าเรื้อรัง กับ ซึมเศร้า

 

โรคซึมเศร้าเรื้อรังต่างกับโรคซึมเศร้ายังไง
 
"ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง" และ "ภาวะซึมเศร้า" มีความแตกต่างที่สำคัญ แยกได้ดังนี้

ระยะเวลาเกิดโรค

  • ซึมเศร้า อาการมักกินเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์
  • ซึมเศร้าเรื้อรัง อาการเรื้อรังเป็นเวลานานกว่า 2 ปี ในผู้ใหญ่ และ 1 ปี ในเด็กและวัยรุ่น 

ความรุนแรง

  • ซึมเศร้าอาจมีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บุคคลมีอาการรุนแรง จะทำให้การทำงานในแต่ละวันแย่ลงอย่างมาก
  • ซึมเศร้าเรื้อรัง โดยทั่วไปจะรุนแรงน้อยกว่าอาการซึมเศร้า แต่ก็ยังคงมีอาการ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว 

อาการ

  • ซึมเศร้า อาจรวมถึงความโศกเศร้าอย่างต่อเนื่อง สูญเสียความสนใจหรือความสุข การนอนหลับความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป เหนื่อยล้า รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด ไม่มีสมาธิ ความคิดเกี่ยวกับความตายหรือฆ่าตัวตาย
  • ซึมเศร้าเรื้อรัง  คล้ายกันแต่ไม่รุนแรง มักจะมีอาการเหนื่อยล้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเองรู้สึกสิ้นหวัง หดหู่ ท้อแท้ วิตกกังวล ไม่มีพลัง

การเกิดซ้ำ

  • ซึมเศร้า บุคคลมีภาวะซึมเศร้าอาจพบอาการซึมเศร้าซ้ำ ๆ โดยแยกจากช่วงอารมณ์ปกติ
  • ซึมเศร้าเรื้อรัง อาการซึมเศร้าเรื้อรังมีลักษณะเป็นอารมณ์เศร้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีระยะเวลาการบรรเทาอาการน้อยลงหรือไม่มีเลยระหว่างช่วงอารมณ์ต่างๆ

ผลกระทบต่อการทำงาน

  • ซึมเศร้าขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า บุคคลเป็นโรคซึมเศร้าอาจประสบกับความบกพร่องอย่างมากในการดำเนินกิจกรรมประจำวัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง
  • ภาวะซึมเศร้าเรื้อรังสามารถนำไปสู่ความบกพร่องในการทำงานในระยะยาวและคุณภาพชีวิตโดยรวมลดลง



การรักษาซึมเศร้าเรื้อรัง


วิธีรักษาภาวะซึมเศร้าเรื้อรังมักเกี่ยวข้องกับแนวทางหลายแง่มุม โดยคำนึงถึงปัจจัยทางชีววิทยา จิตวิทยา และทางสังคม วิธีการรักษาทั่วไปสำหรับภาวะซึมเศร้าเรื้อรังมีดังนี้

จิตบำบัด

รักษาทางจิตใจ เป็นวิธีรักษาทางจิตใจมีหลายแบบ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย อาจเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์ จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สาเหตุทำให้ตนเองเป็นทุกข์ ซึมเศร้า เข้าใจปัญหา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมในที่สุด วิธีการจิตบำบัดรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้ดี คือ

  • บำบัดแบบปรับความคิดและพฤติกรรม มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเข้าใจ สามารถรับมือกับอาการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยเปลี่ยนรูปแบบความคิดเชิงลบหรือพฤติกรรมเอื้อต่อภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียด วิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
  • รักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มุ่งให้ผู้ป่วยปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น
  • รักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งอยู่ในจิตใจตนเอง จนนำมาสู่โรคซึมเศร้าเรื้อรัง

 

รักษาด้วยยา ยาแก้ซึมเศร้า ประกอบด้วย

  • ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
  • ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ(serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
  • ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants)หรือยาต้านอาการซึมเศร้าประเภทอื่น 

 

บำบัดแบบผสมผสาน

จิตบำบัดและใช้ยา ใช้จิตบำบัดและใช้ยาร่วมกันมีประสิทธิภาพมากกว่ารักษาเพียงอย่างเดียว โดยสามารถแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าเรื้อรังทั้งในด้านจิตใจและพฤติกรรม

การรักษาภาวะซึมเศร้าเรื้อรังหลัก ๆ คือ พูดคุยให้คำปรึกษา ทำจิตบำบัด รวมถึงใช้ยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเรื้อรังเป็นโรคที่รักษาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ถ้ารับการรักษาเร็วเท่าไรอาการจะดีขึ้นได้รวดเร็ว แต่หากปล่อยไว้จะทำให้รักษายากยิ่งขึ้น



ซึมเศร้าเรื้อรังป้องกันอย่างไร

 

ป้องกันโรคซึมเศร้าเรื้อรัง

การป้องกันภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง แม้จะไม่สามารถป้องกันภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้ทั้งหมด โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับทางพันธุกรรม แต่มาตรการต่อไปนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้ คือ

  • ติดตามตั้งแต่ต้น จัดการกับอาการซึมเศร้าตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยศึกษาทางจิต ให้คำปรึกษา สามารถช่วยป้องกันเกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรังขึ้นได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ตั้งเป้าออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • รับประทานอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก สารอาหารจำเป็นอื่น ๆ ที่บำรุงสมอง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ สร้างนิสัยในการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่เพียงพออาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้
  • จัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิผล เช่น มีสติ ออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย ฝึกโยคะ จัดการความเครียดมีบทบาทสำคัญในการป้องกันภาวะซึมเศร้าเรื้อรังที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมเชิงบวก มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับเพื่อน ครอบครัว รวมถึงเครือข่ายทางสังคมสามารถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้
  • สร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ โดยพัฒนาทักษะรับมือ แก้ปัญหา เรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหาชีวิตในทางบวก สามารถช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้
  • ตรวจสุขภาพจิตเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังหรือภาวะสุขภาพจิตอื่น ๆ รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ
  • หลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดมากเกินไป เพราะสารเสพติดเหล่านี้สามารถส่งผลให้อาการซึมเศร้าเรื้อรังแย่ลงได้
  • ฝึกคิดบวก ป้อนความคิดทางบวกให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตได้



สรุปเกี่ยวกับซึมเศร้าเรื้อรัง

ซึมเศร้าเรื้อรัง เป็นรูปแบบภาวะซึมเศร้าที่เกิดมายาวนานและมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทางร่างกาย จิตใจเศร้า สิ้นหวัง รวมถึงความสามารถในด้านทำกิจวัตรประจำวันลดลง ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรอบข้าง ผู้มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ควรเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช เพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 21.50 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา