สิ้นเดือนรายจ่ายเยอะภาระหนี้ก็มาก มีเคล็ดลับการแก้ปัญหาเงินอย่างไรบ้าง

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (369)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:691
เมื่อ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 13.07 น.

เงินเดือนออกสิ้นเดือน

 

ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายเชื่อว่าหลายบ้านกำลังประสบกับปัญหาทางการเงิน รายจ่ายมีมากกว่ารายได้ พอถึงสิ้นเดือนทีก็แทบสิ้นใจ ต้องหาเงินมาหมุนเวียนเพื่อให้ผ่านไปในแต่ละเดือน ทำให้รู้สึกได้ว่าเงินเดือนออกสิ้นเดือนแท้ ๆ แต่ไม่รู้สึกดีใจหรือภาคภูมิใจเพราะเมื่อได้เงินมาก็ไม่เหลือ ดังนั้น ในบทความนี้จึงอยากแนะนำเคล็ดลับ และช่องทางการแก้ปัญหาเรื่องการเงินให้มีเงินเก็บ และภาระหนี้ต่าง ๆ ลดลง จนทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นเรื่อย ๆ การใช้จ่ายมีความรอบคอบและมีเหตุผลมากขึ้น

 

เคล็ดลับการจัดการเรื่องการเงินให้ทุก ๆ สิ้นเดือนมีเงินเก็บและปลดภาระหนี้ได้อย่างรวดเร็ว

 

แผนทางการเงินสิ้นเดือน

 

แนวทางการแก้ปัญหาเรื่องการเงินจริง ๆ แล้วมีหลากหลายช่องทาง ซึ่งทุกคนสามารถนำไปปรับแก้ให้เข้ากับสถานการณ์ของตนเองได้ โดยปัญหาเรื่องการเงินที่หลายคนเผชิญอยู่จะส่งผลให้การมีเงินเดือนออกสิ้นเดือนมาแล้วแต่ก็ยังไม่เพียงพอและยังทำให้มีโอกาสเป็นหนี้เพิ่มขึ้นได้อีก ด้วยวิธีการแก้ปัญหาอย่างผิด ๆ ดังนั้นจึงได้มีข้อแนะนำแนวทางแก้ปัญหาที่ช่วยให้เรื่องการเงินดีขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องรอเงินเดือนในทุก ๆ สิ้นเดือนและยังใช้ชีวิตประจำวันพร้อมกับการสร้างอนาคตให้เรื่องการเงินมีความแข็งแรงมากขึ้น

 

1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

 

ทำไมถึงควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพราะในแต่ละวันเชื่อว่ามีหลายคนที่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องรายรับหรือรายจ่ายเลย และมองว่าเป็นเรื่องจุกจิกด้วยซ้ำ โดยการเริ่มต้นการทำบัญชีเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรจะต้องเริ่มหัดทำตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วยให้ในมีข้อมูลทุก ๆ รายจ่ายและรายรับ เพื่อที่จะรู้ได้ว่าเมื่อถึงสิ้นเดือนแล้วมีเรื่องอะไรที่ต้องจ่ายออกไปบ้าง และมีรายจ่ายอะไรที่เป็นเรื่องสิ้นเปลืองบ้าง มีส่วนไหนบ้างที่สามารถควบคุม ปรับลดลง หรือตัดออกไปได้บ้าง สำหรับการทำบัญชีปัจจุบันนี้มีการจดบันทึก หรือมีแอปพลิเคชันบนมือถือที่ช่วยทำบัญชีได้พร้อมกับทำการคำนวณออกมาให้รู้ได้เลยว่าในแต่ละวันมีรายจ่ายออกไปทั้งหมดเท่าไหร่ ซึ่งก็สะดวกมากและยังพกติดตัวไปได้ทุกที่

 

2. แบ่งเงินออกเป็นสัดส่วน

 

เมื่อทุกคนมีรายได้ไม่ว่าจะเป็นเงินรายวันหรือเงินเดือนออกสิ้นเดือนก็ตาม ควรจะต้องทำการแบ่งออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งบ้างก็อาจจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเงินเบื้องต้น เป็นเงินเก็บ เงินชำระหนี้ เงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บ้างก็แบ่งออกเป็น 4 ส่วน เป็นเงินเก็บ เงินชำระหนี้ เงินสำหรับซื้อของที่ตนเองชอบหรืออยากได้ และเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สำหรับการแบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ นี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนเลย ที่สำคัญก็คือต้องเป็นคนที่มีวินัย โดยเงินในแต่ละส่วนต้องไม่นำมาปะปนกัน ต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยเมื่อถึงสิ้นเดือนหรือได้รับเงินค่าจ้างแล้วให้จัดการแบ่งออกเลยทันทีก่อนที่จะมีการนำไปใช้ และทำให้การใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ในวงเงินที่กำหนดไว้เท่านั้น

 

3. ออมเงินอย่างเป็นระบบ

 

สำหรับเรื่องการออมเงิน ปัจจุบันมีหลายทางเลือกมาก ๆ ในการเริ่มต้นการเก็บเงิน ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการฝากเงินกับธนาคาร การฝากเงินในรูปแบบของการซื้อสลากออมทรัพย์ ออมเงินรูปแบบของการซื้อกองทุนที่มีทั้งระยะสั้นและระยะยาว และยังมีรูปแบบของการออมเงินแบบประกันชีวิต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็จะมีรายละเอียดให้พิจารณาถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับเมื่อสะสมครบตามกำหนด โดยจะอยู่ที่ความชอบของแต่ละคนว่าต้องการวางแผนในการออมเงินด้วยระยะเวลานานเท่าไหร่ และการหักเงินมีหลายแบบทั้งที่จ่ายครั้งเดียว และหักจ่ายเป็นรายเดือนในทุก ๆ สิ้นเดือน ทำให้ไม่พลาดในการออมเงินอย่างแน่นอน

 

4. เปิดบัญชีที่คุ้มค่า

 

หากเลือกที่จะเปิดบัญชีธนาคาร ก็มีหลายรูปแบบและหลายเงื่อนไข ซึ่งแน่นอนทุกคนจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าให้กับตนเองมากที่สุด โดยกรณีนี้หากทำการแบ่งเงินเป็นสัดส่วนแล้วแน่นอนว่าถ้าเป็นเงินเก็บก็คือจะไม่มีการนำออกมาใช้เด็ดขาด ดังนั้น หากเลือกเงื่อนไขการฝากเงินก็จะต้องมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่คุ้มที่สุด ซึ่งการฝากประจำซึ่งมีขอบเขตระยะเวลาและจำนวนเงินที่จะฝากในแต่ละเดือนที่เลือกได้ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีโดยให้ทำการหักเงินเดือนออกสิ้นเดือนเพื่อเข้าบัญชีทันที ซึ่งก็ง่ายและสะดวกมากในการเก็บออมเงิน และที่สำคัญเงื่อนไขของการเปิดบัญชีฝากประจำ จะไม่สามารถถอนเงินหรือปิดบัญชีก่อนกำหนดได้ 

 

5. ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

 

อีกช่องทางที่ทำให้ปัญหาเรื่องการเงินลดลง เมื่อทุกคนเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว จะรู้ทันทีว่ามีรายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็น ก็สามารถจะลดรายจ่ายนั้นออกไปได้ เช่น ในเรื่องของการชอบทานอาหารนอกบ้านบ่อย ๆ ก็อาจจะลดลงเหลือเพียงเดือนละ 1 หรือ 2 ครั้ง หรือกรณีที่ชอบเดินช้อปปิ้งซื้อเสื้อผ้า ของใช้ต่าง ๆ ก็ควรจะต้องลดลง เรียกว่าพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้จ่าย ซึ่งช่วงแรกอาจจะยากแต่เมื่อมีความพยายามและมีวินัยเรื่องการเก็บออมเงิน จะต้องสามารถทำได้อย่างแน่นอนกับการจัดสรรเรื่องรายจ่ายให้น้อยลงได้ทำให้ช่วงสิ้นเดือนรู้สึกชิลมากขึ้น ไม่ต้องห่วงเรื่องรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป

 

6. ปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้งาน

 

หากต้องการที่จะแก้ปัญหาเรื่องรายจ่ายที่ไม่จำเป็นซึ่งส่งผลให้มีปัญหาเรื่องเงินไม่พอใช้ เงินไม่ชนสิ้นเดือนอีกช่องทางที่ควรจะต้องทำอย่างยิ่งก็คือการปิดบัตรเครดิต ถึงแม้ว่าจะยังคงพยายามที่จะแบ่งรายรับให้เป็นสัดส่วนแล้วก็ตาม แต่หากยังมีบัตรเครดิตอยู่ก็อาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้อีก ถึงแม้จะไม่ได้นำออกมาใช้แต่ก็อาจจะมีในเรื่องของค่าธรรมเนียมรายปี และยังเสี่ยงกับปัญหาเรื่องซ้ำ ๆ ที่มีการใช้บัตรเครดิตในการรูดซื้อสินค้าหรือการนำวงเงินในบัตรไปใช้กับสิ่งของที่ไม่จำเป็นได้ ทำให้การแก้ปัญหาทางการเงินที่ไม่สำเร็จและเป็นปัญหาเรื้อรังในเรื่องของดอกเบี้ยเกิดขึ้นมาโดยไม่จำเป็น

 

7. ปิดหนี้ให้เร็วที่สุด

 

เชื่อว่าการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นก็มีอีกวิธีเพื่อที่จะช่วยให้เป็นการลดเรื่องดอกเบี้ยและการชดใช้เงินต้นให้หมดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยการนำของมีค่าไปขายเพื่อนำเงินมาจ่ายหนี้ ซึ่งวิธีนี้ของใช้ต่าง ๆ ที่นำไปขายอาจจะมีคุณค่าทางจิตใจแต่เพื่อเป็นการปรับแก้ปัญหาเรื่องการเงินและทำให้การใช้จ่ายเพียงพอถึงสิ้นเดือน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระหนี้กับอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงมีการคำนวณอยู่จนทำให้เป็นกังวล อีกทั้งยังทำให้เป็นการเริ่มต้นของการออมเงิน การฝากเงิน และการแบ่งเงินเป็นสัดส่วนทำให้สามารถซื้อของที่ตนเองชอบกลับมาใหม่ได้โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิตไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกต่อไปด้วย

 


 

สิ้นเดือนจะไม่เครียดอีกต่อไป ด้วยเคล็ดลับการออมเงิน การปลดหนี้

 

เรื่องภาระหนี้ไม่ว่าจะเกิดจากช่องทางใดก็ตามหากมุ่งมั่นที่จะทำการแก้ไข เชื่อว่าข้อแนะนำต่าง ๆ ข้างต้นทุกคนสามารถทำได้อย่างแน่นอน เพื่อให้การทำงานการใช้ชีวิตประจำวันมีความราบรื่น และมีเงินเก็บที่ทำการหักเงินเดือนออกสิ้นเดือนเป็นประจำและยังมีเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ โดยไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่และยังมีเงินที่ใช้จ่ายได้แบบสบาย ๆ ถึงสิ้นเดือนอีกทั้งยังมีเงินเก็บออมสำหรับในอนาคตได้อีกด้วย

 


แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ24 เมษายน พ.ศ. 2567 13.09 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา