รอมฎอนเดือนแห่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (372)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:696
เมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 13.15 น.

รอมฎอน


ทุกๆ ปีศาสนาอิสลามจะมีพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่าการถือศีลอด จะทำขึ้นในเดือนรอมฏอนซึ่งถือเป็นเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวมุสลิม เชื่อกันว่าเป็นเวลาที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพื่อมอบให้ศาสนาอิสลาม ใช้ในการสั่งสอนชาวมุสลิมและเป็นเครื่องนำทางจิตใจ โดยทุกๆปีประชาชนชาวมุสลิมจะประกอบพิธีถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ใช้เวลา 29 ถึง 30 วัน หรือ 1 เดือนเป็นการปฏิบัติที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานเป็นความเชื่อทางศาสนาอิสลาม ซึ่งศีลอดในช่วงเดือนรอมฏอนนี้ จะมีประวัติ พิธีกรรม ข้อปฏิบัติ ข้อห้าม และความสำคัญอย่างไรบ้างหาคำตอบได้ในบทความนี้กันเลย



ความสำคัญของเดือนรอมฎอน ทำไมจะต้องถือศีลอด

ถือศีลอด คือ การปฏิบัติตามข้อละเว้นจากสัมผัสทั้ง 5 ในเดือนรอมฏอน (อ่านว่า เราะมะฎอน) ไม่ว่าจะด้วยทางมือโดยการทำร้าย การลักขโมย ทางเท้าโดยการห้ามไปในที่ต้องห้าม ทางตาโดย ห้ามจ้องหรือมองสิ่งลามก อนาจาร ทางหูโดยการห้ามฟังหรือได้ยินสิ่งที่ไม่ดี หรือคำนินทา ทางปากโดยการห้ามพูดโกหก พูดหยาบคาย หรือให้ร้ายผู้อื่น ซึ่งการปฏิบัติในช่วงรอมฎอนนั้นจะเป็นการอดอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่ที่พระอาทิตย์ขึ้นจนไปถึงพระอาทิตย์ตกดินจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามตลอดทั้งวัน การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนมีจุดประสงค์ให้ชาวอิสลามได้เรียนรู้ถึงความลำบาก มีความอดทน ความประเสริฐของเดือนรอมฏอนนั้นเพื่อเรียนรู้ที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคในการดำเนินชีวิตโดยใช้สติปัญญา สมาธิ ศีลอดจึงเป็นข้อปฏิบัติที่ทุกคนในศาสนาอิสลามจะต้องปฏิบัติตาม เดือนรอมฎอนของชาวมุสลิม จะมีระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จะอยู่ในช่วงเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติของอิสลาม จึงเรียกกันว่าการถือศีลอดเดือนรอมฎอน



ข้อควรปฏิบัติในการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน 

ในช่วงเดือนรอมฎอน มีข้อปฏิบัติในการถือศีลอดอย่างเคร่งครัด มีดังนี้

  • ประกอบพิธีศีลอดตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก
  • สวดคัมภีร์อัลกุรอานทุกวันในเดือนรอมฎอน
  • ทำพิธีละหมาดทุกๆวันในช่วงถือศีลอด
  • รับประทานอาหารตามเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น และต้องรีบแก้ศีลอดเมื่อเข้าเวลาทำพิธี
  • ตรวจร่างกายให้พร้อมก่อนช่วงเทศกาลเดือนรอมฎอน
  • สำรวมกริยาและวาจา เมื่อเข้าพิธีการถือศีลอดจะต้องอยู่ในความสงบ



การถือศีลอดส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ 

ในช่วงของเดือนรอมฎอน การอดอาหารในระหว่างวันจะทำให้สูญเสียพลังงาน ส่งผลให้สุขภาพทรุดโทรมไม่แข็งแรง ดังนั้นจึงมีข้อบังคับว่าจะต้องกินอินทผลัมหรือของหวาน ก่อนการรับประทานอาหารเพื่อทดแทนพลังงานพลังงานที่สูญเสียไป ในช่วงเดือนรอมฎอน การทำศีลอดควรรับประทานอาหารที่ดีกับร่างกาย เพื่อให้มีพลังงานพลังงานที่เพียงพอ ควรทานอาหารที่มีประโยชน์ปรุงสุก ไม่ควรทานอาหารที่มีรสจัด หรือประเภทเนื้อสัตว์ที่หนักท้อง จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักมากขึ้น ควรทานอาหารประเภทเนื้อปลา ผักผลไม้ที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม และดื่มน้ำระหว่างวันให้มากๆ และหลังจากการถือศีลอดของแต่ละวัน ควรเคี้ยวอาหารช้าๆ ไม่ต้องรีบทาน เพราะการรีบเคี้ยวจะทำให้กระเพาะปรับตัวไม่ทัน ระบบย่อยอาหารแปรปรวน เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากเรื่องอาหารแล้วการพักผ่อนให้เพียงพอก็จะทำให้สุขภาพดีระหว่างช่วงเดือนรอมฎอน และก่อนทานอาหารหรือทำอาหารควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเพื่อสุขอนามัยที่ดี



ข้อห้ามปฏิบัติในการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน 

ข้อจำกัด หรือข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติ ในระหว่างช่วงเวลาเดือนรอมฎอน มีดังนี้

  • ไม่พูดให้ร้าย พูดโกหก นินทาหรือคิดร้ายกับผู้อื่นในช่วงถือศีลอด
  • ในเดือนรอมฎอนไม่ให้ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และงดสารเสพติดทุกประเภท เช่น บุหรี่ ชา กาแฟ เครื่องดื่มมึนเมา เป็นต้น
  • ไม่ทานอาหารจนอิ่มเกินไปเพราะอยู่ในช่วงการถือศีลอด ควรบริโภคแต่พอดี 
  • ไม่แสดงอาการดีใจหรือมีความสุขเมื่อได้ทานอาหาร
  • ในช่วงเดือนรอมฎอนห้ามร่วมประเวณี มีเพศสัมพันธ์ หรือการทำให้อสุจิหลั่งออกมาโดยเจตนา
  • ระหว่างการทำศีลอดห้ามอาเจียนออกมาเด็ดขาด
  • ช่วงการถือศีลอดไม่เอาอะไรเข้าไปใกล้หรือเข้าไปภายในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก หู เป็นต้น



ใครที่ต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอนบ้าง และใครที่สามารถยกเว้นการถือศีลอดได้บ้าง

 

ศีลอด

สำหรับเดือนรอมฎอนที่ต้องถือศีลอด ผู้ที่เป็นชาวมุสลิมหรือคนนับถือศาสนาอิสลาม ที่บรรลุนิติภาวะและศาสนภาวะ โดยเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่ได้พิการ มีสุขภาพแข็งแรงปกติทุกคนจะต้องเข้ารับการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติบังคับทางศาสนาที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ไม่สามารถละเว้นได้ 

สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นในการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จะไม่ได้เข้าพิธีการถือศีลอด ผู้หญิงที่มีประจำเดือน จะได้รับการยกเว้นในการเข้าถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน คนแก่หรือคนชรา การถือศีลอดอาจส่งผลกระทบด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงได้รับการยกเว้นในการเข้าพิธีถือศีลอด ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรก็จะเป็นกรณียกเว้นในการเข้ารับศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน 



เดือนรอมฎอน เกิดขึ้นเมื่อไหร่ จะนับจากอะไร?

เดือนรอมฎอน มีอีกชื่อเรียกว่า "เดือนบวช" เป็นการนับตามปฏิทินจันทรักษ์คติของศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ตามปฏิทินจันทรักษ์คติ แต่ละปีชาวมุสลิมจะถือศีลอดตลอดทั้งเดือนเริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งในปี 2567 นี้ การถือศีลอดจะตรงกับ วันที่ 12 มีนาคม 2567 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่เริ่มเดือนรอมฎอนของฮิจเราะห์ศักราชที่ 1445 และการจะสิ้นสุดเดือนรอมฎอนจะต้องนับไปอีก 29 วันจากวันแรกโดยจะต้องมองเห็นดวงจันทร์ในวันที่ 29 จึงจะถือว่าวันถัดไปเป็นการสิ้นสุดเดือนรอมฎอน แต่หากวันที่ 29 ยังไม่เห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้าก็จะต้องถือศีลอดเพิ่มไปอีกหนึ่งวัน ถือว่าเดือนรอมฎอนนั้นมี 30 วัน และหลังจากสิ้นสุดเดือนรอมฎอนจะมีการเฉลิมฉลองหรือเรียกว่า วันอีฎิ้ลฟิตริ ซึ่งจะมีการรับบริจาครอมฎอนเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวมุสลิม



การบริจาคซะกาตเกี่ยวข้องอย่างไรในเดือนรอมฎอน

 

ซะกาต


ในทุกปีของเดือนรอมฏอน ชาวมุสลิมเกือบทุกคนทั่วโลกจะต้องจ่ายภาษีศาสนาหรือที่เรียกว่าบริจาคซะกาต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ซะกาตอาหาร และซะกาตทรัพย์สิน เพื่อนำเงินหรือข้าวของที่ได้ไปช่วยเหลือบุคคลทั้ง 8 ประเภทได้แก่ ผู้ยากไร้หรือยากจน (ฟากิร) , ผู้ที่กำลังขัดสน (มีสกีน) , ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการบริจาคซะกาต , ผู้ที่หันมาเข้าศาสนาอิสลาม , ผู้ที่เป็นทาสหรือเชลย , ผู้ที่มีหนี้สิน , ผู้ที่อุทิศตนให้กับศาสนา เช่น นักบวช , ผู้ที่กำลังเดินทาง การบริจาคซะกาตในเดือนรอมฎอนนี้จึงถือว่าเป็นการขัดเกลาจิตใจของการเป็นผู้ให้ที่ดีในศาสนาอิสลาม เพื่อให้โลกน่าอยู่มากยิ่งขึ้น หลายองค์กรมีการเปิดรับเงินบริจาค เพื่อนำไปมอบให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างถูกกฎหมาย เช่น UNHCR เป็นต้น



สรุปเกี่ยวกับรอมฎอนเทศกาลการถือศีลอด

เดือนรอมฏอน มีความสำคัญต่อศาสนาอิสลามเพราะถือว่าเป็นชาวงการถือศีลอดของชาวมุสลิม เป็นข้อบังคับตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม หรือที่เรียกว่าการถือบวช ซึ่งจะมีความคล้ายกับการถือศีล 5 ของชาวพุทธ แต่ศีลอดของอิสลามจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ชาวมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว จะต้องเข้าทำพิธีในเดือนรอมฏอน ยกเว้นคนป่วย คนชรา หญิงมีครรภ์ เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ ซึ่งทุกปีจึงมักจะเปิดการรับบริจาคซะกาตในเดือนรอมฎอน เป็นการบริจาคให้กับอิสลามเพื่อนำไปช่วยเหลือทางด้านอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้กับชาวมุสลิม 

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา