Hypothyroidism คืออะไร? วิธีสังเกตอาการไทรอยด์ต่ำเบื้องต้น
หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่อง Hypothyroidism หรือรู้จักกันในชื่อ "ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์" Hypothyroidism คือภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นำไปสู่การทำงานที่ช้าลงของระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประจำวันอย่างเงียบ ๆ ตั้งแต่ความเหนื่อยล้าเรื้อรังไปจนถึงปัญหาด้านน้ำหนักและอารมณ์
บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึง สาเหตุของภาวะไทรอยด์ต่ำ สัญญาณเตือนหรือ อาการ Hypothyroidism วิธีวินิจฉัย และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็น ไทรอยด์อย่างถูกวิธี รวมถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับไทรอยด์ต่ำ ควรกินอะไร หรือ ไทรอยด์ต่ำ ห้ามกินอะไร
Hypothyroidism คืออะไร?
Hypothyroidism คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ที่เป็นต่อมเล็ก ๆ รูปผีเสื้ออยู่บริเวณคอด้านหน้า สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญต่อการควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย ทั้งยังส่งผลกระทบต่ออวัยวะเกือบทุกส่วน ตั้งแต่การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ น้ำหนัก การย่อยอาหาร ไปจนถึงอารมณ์
เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอ การทำงานต่าง ๆ ของร่างกายก็จะช้าลง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไทรอยด์ต่ำนั่นเอง ไฮโปไทรอยด์ คือสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม
Hypothyroidism มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
สำหรับ Hypothyroidism คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้ไม่เพียงพอ อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เอง หรือจากปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งสาเหตุของภาวะไทรอยด์ต่ำที่พบบ่อยมีดังนี้
- โรคภูมิต้านทานตนเอง: เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผลิตแอนติบอดีมาทำลายต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอ
- การผ่าตัดต่อมไทรอยด์: การผ่าตัดเอาส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต่อมไทรอยด์ออกไป ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้น้อยลงหรือหยุดผลิต
- การรักษาด้วยรังสี: การฉายแสงบริเวณลำคอเพื่อรักษามะเร็งบางชนิด หรือการกลืนแร่รังสีไอโอดีน เพื่อรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อาจทำให้เซลล์ต่อมไทรอยด์ถูกทำลาย หรือทำงานลดลง
- ไทรอยด์อักเสบ: เกิดจากการติดเชื้อ หรือเป็นผลมาจากภาวะภูมิคุ้มกันบางอย่าง ในช่วงแรกของการอักเสบ จะมีฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินไป ก่อนที่จะตามมาด้วยภาวะพร่องฮอร์โมน
- ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด: เป็นภาวะที่พบตั้งแต่แรกเกิด
- ยาบางชนิด: ยาบางชนิดสามารถรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้ เช่น Lithium ใช้รักษาโรคทางจิตเวชบางชนิด
- ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง: ต่อมใต้สมองทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน TSH (Thyroid-Stimulating Hormone) ซึ่งควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ หากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ ฮอร์โมน TSH จะลดลง จะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง
- ขาดไอโอดีน: ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ การขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง จะนำไปสู่ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้
- พันธุกรรม: ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น ที่จะมีอาการ Hypothyroid ได้ในอนาคต
Hypothyroidism แสดงอาการอย่างไร
เมื่อ Hypothyroidism คือภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยไทรอยด์ต่ำ อาการให้เห็นดังต่อไปนี้
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- รู้สึกหนาวง่ายกว่าปกติ
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
- ท้องผูก
- ผิวแห้ง ผมแห้งและบางลง หรือผมร่วง
- ใบหน้าบวม ตาบวม
- เสียงแหบ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นตะคริว
- ความจำเสื่อม หรือมีปัญหาในการคิดอย่างชัดเจน
- อารมณ์ซึมเศร้า
- ชีพจรเต้นช้า ความดันโลหิตสูง
- ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- ประจำเดือนผิดปกติ ทำให้มีบุตรยาก
- ในเด็ก อาจทำให้ตัวเตี้ย เชาวน์ปัญญาต่ำ
หากสังเกตเห็นอาการ Hypothyroid เหล่านี้ หรือมีข้อสงสัยว่าอาจมีภาวะไฮโปไทรอยด์ อาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
แพทย์สามารถวินิจฉัย Hypothyroidism ได้อย่างไร
การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้แพทย์สามารถยืนยันภาวะไทรอยด์ต่ำได้อย่างถูกต้อง เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที โดยทั่วไปแล้วการวินิจฉัย Hypothyroidism คือการประเมินอาการ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย
แพทย์จะสอบถามอาการ เช่น อาการอ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่มขึ้น ผิวแห้ง ท้องผูก หรืออารมณ์ซึมเศร้า รวมถึงประวัติสุขภาพของครอบครัว รวมถึงยาที่ใช้อยู่ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสัญญาณของภาวะนี้ เช่น ตรวจดูว่ามีอาการคอพอกหรือไม่ สภาพผิวหนัง ผม และอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
- ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน
เป็นวิธีการวินิจฉัยหลักที่สำคัญที่สุด โดยจะมีการตรวจวัดระดับฮอร์โมนดังต่อไปนี้
- TSH (Thyroid-Stimulating Hormone): เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ หากระดับ TSH สูง แสดงว่าต่อมไทรอยด์ทำงานไม่เพียงพอ ทำให้ต่อมใต้สมองต้องผลิต TSH เพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้น
- Free T4 (Free Thyroxine): เป็นฮอร์โมนไทรอยด์ที่ออกฤทธิ์ได้จริงในร่างกาย หากระดับ Free T4 ต่ำกว่าปกติ ร่วมกับ TSH ที่สูง จะยืนยันการวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
- การตรวจแอนติบอดี (Thyroid Antibodies): ในบางกรณี แพทย์อาจตรวจหาแอนติบอดี เช่น Anti-TPO (Thyroid Peroxidase Antibody) เพื่อบ่งชี้ว่าภาวะนี้เกิดจากโรคภูมิต้านทานตนเองอย่าง โรคฮาชิโมโต
- การตรวจเพิ่มเติม: ในบางสถานการณ์ เช่น หากสงสัยสาเหตุเฉพาะเจาะจง หรือมีข้อบ่งชี้อื่น ๆ แพทย์อาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ เพื่อประเมินขนาด รูปร่าง หรือหากพบก้อนเนื้อภายในต่อม
วิธีการรักษา Hypothyroidism มีวิธีใดบ้าง
Hypothyroidism คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว หรือผิวแห้ง แม้จะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่หากวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็น ไทรอยด์อย่างถูก ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- การรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน: เป็นวิธีหลัก โดยแพทย์จะให้ยาชนิดที่มีสารเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ช่วยทดแทนการทำงานของต่อมไทรอยด์ การใช้ยานี้เป็นวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็น ไทรอยด์ที่สำคัญที่สุด
- การติดตามระดับฮอร์โมนเป็นประจำ: ผู้ป่วยต้องตรวจเลือดสม่ำเสมอ เพื่อปรับระดับยาให้เหมาะสม
- การปรับพฤติกรรมการกิน: หลีกเลี่ยงอาหารที่รบกวนการดูดซึมยา เช่น ถั่วเหลือง ผักกะหล่ำบางชนิด และควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนในปริมาณเหมาะสม
- การดูแลสุขภาพโดยรวม: นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และลดความเครียด เพื่อช่วยให้ระบบร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
Hypothyroidism คืออาการป่วยที่ต้องรักษา
Hypothyroidism คือ ภาวะที่อาจดูไม่ร้ายแรงในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้อย่างเงียบ ๆ การเข้าใจถึง สาเหตุของไทรอยด์ต่ำ รู้จักสังเกต อาการ Hypothyroidism และเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกินยาไทรอยด์ทดแทน หรือการเลือกอาหารที่เหมาะสม เช่น เลือกทานสิ่งที่ควร และหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกิน ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้