อาชีพใดบ้างที่ควรทำ ‘ประกัน PA’ ?

rabbitdy

เริ่มเข้าขีดเขียน (24)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:23
เมื่อ 19 เมษายน พ.ศ. 2565 14.59 น.

        

 

เพราะอุบัติเหตุเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจเกิดได้กับทุกคนและทุกเวลา วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับ ‘ประกัน PA’ ว่าคืออะไร ดีอย่างไร และทำไมทุกคนคนจึงควรทำประกันชนิดนี้ รวมไปถึงว่าคุณรู้หรือไม่ว่าไม่ใช่ทุกอาชีพที่จะสามารถทำประกันภัยอุบัติเหตุได้ อาชีพไหนจะทำได้หรือไม่ได้ จะมีอาชีพของคุณและคนใกล้ตัวหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปดูกัน

 

- ประกัน PA คืออะไร ?

เรามาเริ่มต้นกันที่การทำความรู้จักกับประกันชนิดนี้กันก่อน ประกัน PA (ย่อมาจาก Personal Accident) คือ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าประกันอุบัติเหตุ มีลักษณะตามชื่อของมันเลยก็คือ ประกันภัยที่คุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ทั้งบาดเจ็บ กระดูกหัก ทุพพลภาพ ไปจนถึงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ โดยประกันจะคุ้มครองจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ แต่ประกัน PA จะไม่ครอบคลุมอาการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ

 

- อาชีพใดบ้างที่ควรทำประกัน PA

ถึงแม้ว่าทุกคนจะมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีบางกลุ่มอาชีพที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าคนทั่วไป เนื่องมาจากลักษณะของงาน ดังนั้นในการทำประกัน PA โดยทั่วไปนั้นจะมีการจัดกลุ่มบุคคลตามความเสี่ยงของอาชีพ แต่ละอาชีพจะถูกจัดอยู่ในระดับใดบ้าง มาดูกันเลย

     1. กลุ่มอาชีพชั้นที่ 1 คือ กลุ่มอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยงจากการทำงานใด ๆ เป็นอาชีพต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในอาคารหรือสำนักงาน สามารถทำประกัน PA ได้ตามปกติ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา, ครู, ข้าราชการ, ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ, พนักงานบริษัททั่วไป, นักบัญชี, พนักงานการเงิน, นักกฎหมาย, ผู้พิพากษา ฯลฯ

     2. กลุ่มอาชีพชั้นที่ 2 คือ กลุ่มอาชีพที่มีลักษณะการปฏิบัติงานควบคุมในสำนักงาน หรือมีการออกนอกสถานที่ หรือต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา กลุ่มอาชีพนี้สามารถทำประกัน PA ได้ตามปกติ ได้แก่ นักร้อง, นักดนตรี, ช่างภาพ, นักข่าว, พนักงานขายของหน้าร้าน, พนักงานเก็บเงิน, ผู้จัดการ (โรงแรม / โรงงาน / ภัตตาคาร), เจ้าของและพนักงาน (ร้านเสื้อผ้า / ร้านเพชรพลอย / ร้านทอง), ทนายความ ฯลฯ

     3. กลุ่มอาชีพชั้นที่ 3 คือ กลุ่มอาชีพที่มีลักษณะงานต้องเดินทางหรือทำงานกลางแจ้งเป็นประจำ อาชีพผู้ใช้แรงงาน อาชีพด้านกระบวนการผลิต ทั้งช่างที่ต้องใช้เครื่องจักรในการทำงาน และอาชีพที่ต้องใช้ฝีมือและเครื่องมือในการทำงาน กลุ่มอาชีพนี้ก็ควรทำประกัน PA เช่นกัน ได้แก่ แม่บ้าน, พี่เลี้ยงเด็ก, คนครัว, คนรับใช้, พนักงานต้อนรับ, ช่างเสริมสวย, ช่างตัดเสื้อ, ดารานักแสดง, ผู้รับเหมา, คนขายเนื้อสัตว์ ฯลฯ

     4. กลุ่มอาชีพชั้นที่ 4 คือ กลุ่มอาชีพพิเศษที่มีลักษณะงานที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าอาชีพอื่น ๆ กลุ่มอาชีพนี้ควรทำประกัน PA เป็นอย่างยิ่ง แต่ในบางบริษัทก็อาจมีเงื่อนไขที่ไม่รับทำประกันสำหรับอาชีพในกลุ่มนี้ ได้แก่ สตันต์แมน, ช่างไฟฟ้า, วิศวกรไฟฟ้า, กรรมกร, คนกรีดยาง, คนขับรถบรรทุกหรือรถโดยสารหรือรถรับจ้าง, พนักงานปั๊มน้ำมัน, พนักงานส่งของและเอกสาร ฯลฯ

        

        

หลังจากได้อ่านข้อมูลด้านบนแล้ว อาชีพของคุณอยู่ในกลุ่มอาชีพชั้นไหน ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวอยู่ในกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงแล้วล่ะก็ ควรรีบมองหาประกัน PA แบบด่วน ๆ และถึงแม้ว่าคุณจะอยู่กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ก็ไม่ได้ความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเลย เพราะทุกอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา บางครั้งอาจเกิดที่บ้าน ในที่ทำงาน หรือบนท้องถนน หากคุณทำประกันที่ครอบคลุมไว้รอบด้านจะมีประโยชน์มากต่อตัวคุณ เช่น ทำประกันอุบัติเหตุและประกันสินเชื่อรถยนต์ เมื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ คุณก็จะมีคนช่วยดูแลคุ้มครองทั้งคนและรถ

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา