อาณุภาพพ่อขุนราม

9.0

เขียนโดย Bush

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 12.28 น.

  3 บท
  2 วิจารณ์
  5,150 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 13.05 น. โดย เจ้าของนิยาย

แชร์นิยาย Share Share Share

 

2) พ่อกูชื่อพ่อขุนศรี

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

พ่อขุนสามชน เป็นราชบุตรของพ่อขุนจันคำเหลืองเจ้าเมืองฉอด และเจ้าแตงอ่อน (เจ้ามุกขวดี)มีพระอนุชาชื่อ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงส์ เมื่อพ่อขุนจันคำเหลืองสวรรคตแล้ว พ่อขุนสามชนราชบุตรองค์ใหญ่ได้สืบราชสมบัติในเมืองฉอดแทนพระราชบิดา ต่อมามีเจ้าแม่มโนราห์เป็นชายาเมืองฉอดปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ระมาดซึ่งอยู่เหนืออำเภอแม่สอดขึ้นไป พ่อขุนสามชนสืบราชสมบัติต่อมาไม่นาน ก็ทรงเริ่มทำสงครามแผ่ขยายอาณาเขต และด้วยเป็นขุนศึกที่เชี่ยวชาญเชิงยุทธ์ประกอบกับมีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารีย์รักไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน จึงเป็นที่รักใคร่นับถือของประชาชนมากและยิ่งกว่านั้นในวันธรรมสวนะก็ สั่งสอนในเรื่องของธรรมแก่ราษฎรมิได้ขาด สาเหตุที่ขุนสามชนทำศึกกับสุโขทัยนั้นเป็นเพราะความเข้าใจผิดกัน เพราะก่อนหน้านี้ขอม สมาด โขลญลำพงยึดอำนาจเป็นใหญ่ที่เมืองสุโขทัยและข่มเหงรังแกคนไทยมาก พ่อขุนสามชนจึงดำริว่า จะต้องยกกองทัพไปตีเมืองสุโขทัยก่อน เพื่อล้มอำนาจ ขอม สมาด โขลญลำพงและจะรวมไทยเข้าเป็นปึกแผ่นเข้าด้วยกัน โดยมีสุโขทัยเป็นเมืองแม่แต่ขณะที่ยกทัพไปนั้น พ่อขุนบางกลางท่าวกับพ่อขุนผาเมืองได้ปราบขอมสำเร็จแล้ว และพ่อขุนบางกลางท่าว ก็ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงพระนามว่า พระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนสามชนได้ข่าวก็รู้สึกยินดีเป็นล้นพ้น แต่ก็เดินทัพต่อเพื่อต้องการเกลี้ยกล่อมคนไทย ด้วยกันให้เข้าสวามิภักดิ์ต่อกรุงสุโขทัย หาได้ต้องการเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ แต่ทางสุโขทัยไม่ทราบเรื่องเพราะขุนสามชนไม่ได้แจ้งให้ทราบจึงเกิดความเข้าใจผิดเมื่อกองทัพปะทะกันยังไม่ทันได้พูดจา จึงเกิดการต่อสู้กัน พ่อขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อ่อนล้าและกำลังจะถอยร่นไปนั้นพ่อขุนรามราชบุตรก็เข้ามาช่วยจนขุนสามชนเสียหลักและบาดเจ็บหลายแห่ง จึงถอยทัพกลับเมืองฉอด ฝ่ายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ก็มิได้ติดตามไปซ้ำอีกเพราะเห็นเป็นไทยด้วยกันขุนสามชนรู้สึกเสียพระทัยมากที่ลูกหลานไทยตายไปจำนวนมาก เมื่อทรงหายจากประชวรแล้วก็ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติให้พระอนุชา คือ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงษ์ และตรัสสอนว่าให้ดูแลทุกข์สุขของราษฎรทุกคนเหมือนลูกหลาน จงรวมคนไทยที่แตกแยกเข้าด้วยกัน หากเกิดศัตรูที่เป็นคนต่างชาติจะมาเอาแผ่นดินจงรวมพลังกันต่อสู้..

ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้ยกพลเข้าตีเมืองหลายครั้ง แต่มิอาจตีเมืองได้ จึงตั้งค่ายล้อมเมือง ถ่วงเวลาไว้ให้ไพร่พลเมืองตาก ขาดแคลนเสบียงอาหาร เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพสุโขทัยกำลังเดินทัพมาช่วยเมืองตาก ขุนสามชนจึงได้จัดกำลังออกไปดักซุ่มโจมตีกองทัพสุโขทัยที่ " หัวขวา " แนวป่าเชิงเขา นอกเมืองตาก ซึ่งเป็นช่องเขาที่กองทัพสุโขทัยเดินผ่าน แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าลักษณะภูมิประเทศมีสภาพเป็นที่คับขัน จึงมิให้กองทัพเดินผ่าน แต่อ้อมไปทาง " หัวซ้าย" ขุนสามชนที่ซุ่มรออยู่นานไม่เห็นกองทัพสุโขทัยผ่านมา และได้ข่าวว่ากองทัพสุโขทัย อ้อมทัพไปทาง "หัวซ้าย" จึงยกพลตามไปจนทัน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชน ขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า...." "ขุนสามชนขี่ช้างศึกชื่อ" มาศเมือง" จะเข้าชนช้างของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชโอรส ได้เห็นเช่นนั้น ก็ไสช้างเข้ารับมือไว้ " และได้ชนช้างกับขุนสามชน ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "กูบ่หนี กูขี่ช้าง เนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน" และการทำยุทธหัตถีครั้งนี้ ทำให้ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดพ่ายแพ้ ยกทัพล่าถอยกลับเมืองฉอดไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงทรงพระราชทานนามแก่พระราชโอรสว่า "พระรามคำแหง" ดังปรากฏตามหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า "ตนกูพู่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาศเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อ พระรามคำแหง เพือกูพู่งช้างขุนสามชน"

จนถึงรัชสมัยที่พ่อขุนรามคำแหง เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำสงครามเพื่อแผ่ขยายอาณาเขตไป อย่างกว้างขวาง ด้วยการกระทำใน 2 วิธี คือ
 
              1. ใช้กำลังทางทหาร   ดังจารึกไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า
ปราบเบื้องตะวันตก รอดสรลวง สองแคว ลุม บาจาย สคา ท้าฝั่งของ ถึง เวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นทีแล้ว
เบื้องหัวนอน รอดคุณฑี พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี สรีธรรมราช ฝั่งสมุทรเป็นที่แล้ว
เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง......หงสาพดี สมุทรหาเป็นแดน
เบื้องตีนนอน รดเมืองแพล เมืองม่าน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว
            
              2. ใช้วิเทโศบายขยายอาณาเขต  ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสุขุมและแยบยลที่สุด เพราะไม่ต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อไพร่พล แต่อย่างใด ดังได้กล่าวไว้ในศิลาจารึก และพงศาวดารว่า การขยายอาณาเขตด้านตะวันตก ถึงเมืองหงสาวดี ด้วยการได้ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) กษัตริย์มอญไว้เป็นราชบุตรเขย และในด้านทิศเหนือก็ทรงผูกมิตรไมตรีกับพระยาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ และ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นไทยเชื้อสายเดียวกัน
             
              3. ใช้นโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศใหญ่ ๆ   เช่น  ประเทศจีน ซึ่งในห้วงเวลานั้น กุบไลข่าน กษัตริย์จีน มีอำนาจมาก ได้แผ่อาณาเขตลงมาทางใต้ของจีน ทางด้านพม่า และเวียดนาม แต่สำหรับประเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
 

 อวสานกรุงสุโขทัย

                   ในรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมือง เป็นเวลาที่ไทยตั้งตัวใหม่ ๆ ต้องทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมสามิภักดิ์ โดยพ่อขุนรามคำแหง นำทัพออกปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ต่าง ๆ ที่อยู่ชายพระราชอาณาเขต อาณาจักรของกรุงสุโขทัย จึงตกอยู่ในความสงบสุขตลอดมา

                  จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพ่อขุมรามคำแหง  ขึ้นครองราชย์ ได้ขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง เจริญรุ่งเรืองกว่ารัชกาล อื่น ๆ ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระเจ้าเลอไท พระราชโอรสได้ครองราชสมบัติ ปรากฏตามพงศาวดารพม่าได้กล่าวไว้ว่า "เมื่อ พ.ศ. 1873 หัวเมืองมอญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนราม กลับเป็นขบถตั้งแข็งเมือง พระเจ้าเลอไท ส่งกองทัพออกไปปราบปราม แต่ไม่สามารถเอาชนะได้"

                  ต่อมา พระยาลือไท ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเลอไท พระราชบิดา ทรงพระนามว่า "พระมหาธรรมราชาลิไทย" เป็นกษัตริย์ที่ทรงมุ่งทำนุบำรุงอาณาจักรสุโขทัย แต่ในทางธรรมอย่างเดียว ทำให้สุโขทัยขาดความเข้มแข็ง จนไม่สามารถควบคุมประเทศราชไว้ได้ ดังนั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงตั้งแข็งเมืองและประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมขึ้นกับกรุงสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 เป็นต้นมา ขุนหลวงพะงั่ว เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา และได้ส่งกองทัพมาทำสงครามตีเมืองต่าง ๆ 7 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1914-1921 แต่ไม่สามารถตีหักเข้าเมืองได้

                 จนกระทั่ง "พระเจ้าไสยลือไท" (พระมหาธรรมราชาที่ 2) ขึ้นครองราชย์ กรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพไปตีเมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ซึ่งพระเจ้าไสยลือไทย เสด็จมาบัญชาการรบเอง จนขุนหลวงพะงั่วไม่สามารถตีหักเอาเมืองได้ แต่ต่อมาทรงพระราชดำริว่า "ถ้าหากขืนรบต่อไปก็คงเอาชนะกองทัพของขุนหลวงพะงั่วไม่ได้" จึงทรงยอมอ่อนน้อมต่อขุนหลวงพะงั่วโดยดี และนับแต่นั้นมา กรุงสุโขทัยก็สูญเสียเอกราช กลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาตลอดไป

 

คำยืนยันของเจ้าของนิยาย

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
9 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
9 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
9 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา