อาณุภาพพ่อขุนราม

9.0

เขียนโดย Bush

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 12.28 น.

  3 บท
  2 วิจารณ์
  5,151 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 13.05 น. โดย เจ้าของนิยาย

แชร์นิยาย Share Share Share

 

3) แม่หยั่วเมือง

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

ณ อาคารเต้นรำหรือลีลาสแบบเพนนินซูลาทาวน์ย่านชานเมืองพนมเปญในปี ๒๕๑๘    จู่ ๆ มีเสียงระเบิดดังกึกก้องกลางดึกราวไม่ถึงเที่ยงคืนผู้คนหลายชาติหลายภาษาล้มตายนอนเรียงกันเป็นตับภายใต้ซากอาคารหรู กระเป๋า รองเท้า เพชรพลอยอย่างผู้มีอันจะกินทั้งหลายกระเด็นกระดอนเกลื่อน แขน ขา เอย เศษเนื้อมนุษย์ เศษซากรถเก๋งเปิดประทุนคาดิแลคแพงระยับ ชนิดที่ชาวบ้านผู้มีความซื่อสัตย์ไม่มีปัญญาจับต้อง แน่นอนเข้าไปใช้บริการหาความสุข ซื้อของ ดื่มกินกันย่อมไม่มีปัญญาเหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ครูประทับใจไม่ลืมเลือนคือภาพที่ลงตามสื่อต่าง ๆ กระจายไปทั่วโลก "มีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในห้างดังในกรุงพนมเปญ...ในภาพบรรยายว่าฝีมือพวกเขมรแดงต้องการกู้ชาติด้วยระเบิดและลอบวางไปทั่วกัมพูชาหวนนึกถึงคำพูดของคนหลายคนแม้กระทั่งลูกเจ้าฟ้าที่บ้าน เราเห็นรู้แล้วว่านี่คือชีวิต โง่ซ้าเอาวัตถุโง่ ๆ พวกนี้แค่วัตถุแต่แลกกับความเดือดร้อน เลือดเนื้อของตนเองอย่างนี้ นี่แต่ละนาย แต่ละนาง เจ้าหญิง เจ้าชาย คนมีกะตังค์ทั้งน้าน ฝรั่ง ขอม และไทยไปแจมด้วยอีกตามเคย นอนตายกันเกลื่อน ของยี่ห้อแบรนด์ดังทั้งน้านที่กองรวมกับซากศพพวกท่าน เฮ้อ...โง่ซ้าขนาดนี้ยังกับคิดกันไปได้ว่าชะรอย "กูจะไม่ตาย"

ดื่มน้ำอมฤตกันวันละกี่แก้วไม่รู้เน้อะ? สงสัยมานานแล้วว่าจะพยายามศึกษาวิธีการเป็นพระนายพระนางเมืองอฤตาลัยหรืออย่างไร? เค้าว่ากันว่าองค์วิมายบันทายสีชมพูที่เวียงโคราดบ้านเมืองนี้นี่ล่ะคือ ศูนย์บัญชาการทัพของพระนางพินทุมวดี เดิมขานกันว่า เวียงยโศธรปุระ หรืออาจเป็นตำนานหรือที่มาของชื่อจังหวัดยโสธรใกล้ ๆ เวียงศรีสะเกษ หรือจังหวัดศรีสะเกษที่ตั้งองค์พระธาตุก่องข้าวตามตำนานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ก็เป็นได้

ส่วนที่สมุทรตราเป็นอีกที่หนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่ามีความเชื่อเรื่องพระนางพินทุมวดีที่อยู่ในลักษณะมีชีวิตแบบอมตะด้วยเหมือนกัน  

สุโขทัยสมัยนั้นจะเป็นเมืองหน้าด่าน จากสุโขทัยเมืองหลักลงมาก็จะเป็นพิษณุโลก สุโขทัย สมัยนั้นจะเป็นเมืองชะเลียง เมืองศรีสัชชนาลัย เมื่อทางหัวเมืองทางเหนือเวลาโดนตีไล่มา จากเชียงใหม่ลงมาเลย จากเชียงใหม่ไล่เลาะลงมา ถ้าหากว่าสู้ไม่ได้ก็ทิ้งเมืองหนี ไอ้ทิ้งเมืองหนีถึงเขาไม่เผา มันก็กลายเป็นเมืองร้างมันก็ปรักหักพังพอ ๆ กันนั่นแหละ 
              สมัยรัชกาลที่ ๑ ท่านถึงได้ชะลอพระพุทธรูปจากหัวเมืองเหนือลงมาตั้งพันกว่าองค์ เอามากรุงเทพพันกว่าองค์ องค์ไหนที่สำคัญหรือมีลักษณะงดงามก็แจกจ่าย ให้วัดโน้นวัดนี้ เป็นพระประจำพระอุโบสถบ้างประจำวิหารบ้าง ที่เหลือทั้งหมดก็ระเบียงไปวัดโพธิ์เข้าไปดูเถอะหลายร้อยองค์เรียงเป็นแถวเลย บางทีเห็นรูปเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เขาถ่ายรูปพระพุทธรูปเป็นแถวยาวเหยียด นั่นแหละระเบียงวัดโพธิ์ เพราะวัดโพธิ์เขาถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ 
              พระที่สำคัญ ๆ ที่เอามาสมัยนั้นที่มีอยู่ก็อย่าง “พระพุทธเทวปฏิมากร” ซึ่งปัจจุบันนี้ประจำพระอุโบสถอยู่ แล้วก็หลวงพ่อนาคปรก ชื่ออะไรนะ จำชื่อไม่ได้ ใช้คำว่า “อุรัคอาสน์อำไพ” คือว่า “อาสนะงูที่สวยงาม” จะเป็นพระนาคปรากที่สวยที่สุดในประเทศไทยเลย ไปดูได้ แล้วก็มี “หลวงพ่อโลกนาถ” เป็นพระพุทธรูปยืนหล่อด้วยสำริดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็อยู่นั่น (วัดโพธิ์หมดเลย) วัดโพธิ์แทบทั้งนั้น “หลวงพ่อพระนอน” นี่ไม่แน่ใจว่าปูนหรือโลหะ แต่หลวงพ่อพระนอนนี่คงสร้างขึ้นทีหลัง 

อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่หยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราชและอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองศ์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิตติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ

อิสริยยศสำหรับราชตระกูลรองแต่พระมหาอุปราชลงมา พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาให้มีพระนามขึ้นต้นด้วยคำว่า "พระ" ซึ่งสันนิษฐานว่าจะนำแบบของขอมมาอนุโลมใช้เป็นราชประเพณีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เช่น พระราเมศวร พระนเรศวร พระมหินทร์ พระเอกาทศรถ พระอาทิตยวงศ์ พระศรีศีลป์ เป็นต้น

ประเพณีเรียกพระนามเจ้านายเป็นกรมต่างๆ อย่างในทุกวันนี้ ปรากฏขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ทรงสถาปนาพระน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็นเจ้ากรมหลวงโยธาทิพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี เป็นเจ้ากรมหลวงโยธาเทพ นับเป็นครั้งแรกที่เรียกการพระนามอิสริยยศเจ้านายตามกรมใช้เป็นแบบแผนนับแต่นั้นมา สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงการสถาปนาอิสริยยศเจ้านายขึ้นเป็น "พระ" ตามประเพณีเดิมนั้น เนื่องจากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นอริกับเจ้าฟ้าชายหลายพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าประสาททอง จึงมิได้ทรงยกย่องเจ้าฟ้าผู้ใดให้มียศสูงขึ้นตลอดรัชกาล จากจดหมายเหตุของมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกย่องพระราชธิดาให้มีข้าคนบริวารและมีเมืองส่วยขึ้นเท่ากับพระอัครมเหสี ดังนั้น การสถาปนาเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์นี้ ในแต่เดิม ไม่ได้เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศ แต่เป็นการรวบรวมกำลังคนในระบบไพร่ ตั้งกรมใหม่ขึ้นสองกรม คือ กรมที่มีหลวงโยธาทิพ และหลวงโยธาเทพ เป็นเจ้ากรม และโปรดให้ไปขึ้นกับ เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์นั้น และคนไทยโบราณ ไม่นิยมเรียกชื่อ เจ้านาย ตรงๆ จึงเรียกเป็น กรมหลวงโยธาทิพ หรือ กรมหลวงโยธาเทพเป็นต้น การทรงกรม จึงเทียบได้กับ การกินเมือง (การกินเมือง คือ การมีเมืองส่วยขึ้นในพระองค์เจ้านาย ประชาชนในอาณาเขตของเมืองนั้นๆ ต้องส่งส่วยแก่เจ้านาย) ในสมัยโบราณ คือแทนที่จะส่งเจ้านายไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ก็ทรงให้อยู่ในพระนคร และให้มีกรมขึ้นเพื่อเป็นรายได้ ของเจ้านายนั้นๆ

พระอิสริยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี มี 4 ชั้นคือ

1.ชั้นที่ 1 กรมพระ เป็นอิสริยยศสำหรับ พระพันปีหลวง (พระราชมารดา) พระมหาอุปราช และวังหลัง
2.ชั้นที่ 2 กรมหลวง เป็นอิสริยยศ สำหรับ พระมเหสี โดยมากกรมหลวงมักมีแต่ เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระยศนี้เป็นที่สุด
3.ชั้นที่ 3 กรมขุน เป็นอิสริยยศสำหรับ เจ้าฟ้าราชกุมาร
4.ชั้นที่ 4 กรมหมื่น เป็นอิสริยยศสำหรับ พระองค์เจ้า

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเลื่อนชั้น อิสริยยศเจ้านาย จากที่ได้รับแต่เดิมแต่ประการใด (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดา หรือผู้ที่ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเป็น กรมพระ) ประเพณี การเลื่อนอิสริยยศเจ้านายเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชการที่ 2 ให้เรียก กรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "กรมสมเด็จพระ" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้ พระองค์เจ้าทรงกรมชั้นผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นไปได้เป็น "กรมสมเด็จพระ" สูงกว่า "กรมพระ" เดิม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้แก้ไข "กรมสมเด็จพระ" เป็น "กรมพระยา" ดังนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทธิ์ อิสริยยศเจ้านายจึงมี 5 ชั้นคือ

1.ชั้นที่ 1 กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จพระ (ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ใช้ว่า "สมเด็จพระ" แทน "กรมสมเด็จพระ" สำหรับเจ้านายฝ่ายใน--ผู้หญิง)
2.ชั้นที่ 2 กรมพระ นอกจากเป็นกรมสำหร้บพระราชมารดา วังหน้า และวังหลัง แล้วรัชกาลที่ 1 ยังตั้งสมเด็จพระพี่นางเธอให้ดำรงพระอิสริยยศนี้
3.ชั้นที่ 3 กรมหลวง สำหรับเจ้าฟ้าชั้นใหญ่ และทั้งพระองค์ชายและพระองค์หญิง
4.ชั้นที่ 4 กรมขุน สำหรับเจ้าฟ้าชั้นเล็ก แล้วจึงเลื่อนเป็นกรมหลวง
5.ชั้นที่ 5 กรมหมื่น สำหรับพระองค์เจ้า

เจ้าทรงกรม จะมีขุนนางเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี โดยบรรดาศักดิ์ของเจ้ากรม คือบรรดาศักดิ์สูงสุดของอิสริยยศนั้น เช่น กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ มี เจ้ากรม บรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงค์ราชานุภาพ ศักดินา 1,000 ไร่ ปลัดกรม คือ พระปราบบรพล ศักดินา 800 ไร่ สมุห์บัญชี คือ หลวงสกลคณารักษ์ ศักดินา 500 ไร่

นาคาสังวาส เป็นคำบอกเล่าเก่าแก่ดึกดำบรรพ์ มีในราชสำนักอาณาจักรกัมพูชา เชื่อกันว่ากษัตริย์ต้องเสพสังวาสกับนางนาค 

          นาค เป็นสัญลักษณ์ของแผ่นดิน ซึ่งประกอบด้วยดินกับน้ำ และทั้งหมดเป็นเพศหญิง ดังนั้นนาคาสังวาสหมายถึงพิธีกรรมทำกษัตริย์เป็นคู่ครองกับแผ่นดิน

          ความเชื่อทำให้เกิดพิธีกรรม แล้วมีวรรณกรรมสนองความเชื่อนั้น 

          รัฐอยุธยา รับพิธีกรรมนาคาสังวาสจากนครวัด, นครธม ผ่านรัฐอยุธยา-ละโว้ ยุคก่อนอยุธยา แล้วตราเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรไว้ในกฎมณเฑียรบาล

          เรียกเป็นภาษาเขมรว่า เบาะพก เป็นพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินต้องมีพิธีกรรมนาคาสังวาส ที่ราชสำนักอยุธยาเรียกนางนาคว่า แม่หยัว (หรือแม่หยัวพระพี่หรือแม่หยัวพระพี่เจ้า)

แม่หยัวเมือง ผู้ (หญิง) เป็นใหญ่

          แม่หยัว เป็นคำโบราณเก่าแก่ดึกดำบรรพ์มากๆ กร่อนจากคำเต็มว่าแม่อยู่หัว หมายถึงผู้หญิงเป็นใหญ่สุด มีอำนาจอยู่เหนือคนอื่นๆในบ้านเมือง บางทีเรียกแม่หยัวเมือง หมายถึงแม่อยู่หัวของบ้านเมืองหรือรัฐนั้นๆ อำนาจจะมีจริงๆ หรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ในพิธีกรรมก็ได้ 

          ในราชสำนักยุคก่อนอยุธยา สืบจนยุคต้นอยุธยา แม่หยัวเป็นชื่อตำแหน่ง มีตราไว้ในกฎมณเฑียรบาลให้อยู่เป็นรองจากพระอัครมเหสี (เมียหลวง) ว่า พระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหสี เป็นที่สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ถ้าเกิดด้วยแม่หยัวเมืองเป็นที่พระมหาอุปราช 

          ยุคต้นอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชา ทรงมีสนมเอกคนหนึ่งตำแหน่งศรีสุดาจันทร์ มีราชกุมาร จึงได้รับยกย่องเป็นแม่หยัวเมือง 

          ศรีสุดาจันทร์ เป็นชื่อตำแหน่ง (ไม่เป็นชื่อตัว) สนมเอกของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา มี 4 ตำแหน่ง (มีอีก 3 คือ อินทรสุเรนทร์, อินทรเทวี, ศรีจุฬาลักษณ์) ผู้รู้อธิบายว่ามีต้นแบบจากคติจักรพรรดิราช 

          แต่ศรีสุดาจันทร์แม่หยัวเมืองคนนี้พ่ายแพ้ทางการเมือง จึงถูกใส่ร้ายจากผู้ชนะยุคนั้น จนนักค้นคว้าและนักเขียนในยุคหลังๆ กล่าวหาให้ร้ายว่าเป็นแม่ยั่วเมือง หมายถึง ดาวยั่ว (ยวน) ทางกามารมณ์ (อ่านรายละเอียดใน ท้าวศรีสุดาจันทร์ ใครว่าหล่อนชั่ว? สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2540)

นาคาสังวาส

          พระราชพิธีเบาะพก หมายถึงพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปปราสาท แล้วเสพสังวาสกับแม่หยัว เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งของไพร่ฟ้าประชากรและราชอาณาจักร 

          แม่หยัว คือ นางนาค ฉะนั้นเบาะพก คือ นาคาสังวาส 

          เบาะพก เป็นภาษาเขมร แปลว่าใช้อวัยวะทิ่มๆ ตำๆ บริเวณใต้ท้องน้อยหมายถึงเสพสังวาส 

          ในพจนานุกรมภาษาเขมร (ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน) อธิบายว่า บุะ (อ่านว่า โบะห์) แปลว่า กระแทก, กระทุ้ง, ทิ่มต่ำให้เป็นหลุม, แดก, ยัด โบะ (อ่านว่า บอะห์) แปลว่า โยน, ตอก, ประทับ, ตอกหลัก 

          คำเขมรว่า บุะ, โบะ มีคำแปลใกล้เคียงกัน แล้วเพี้ยนเสียงเป็นคำไทยก็ได้ว่า เบาะ หมายถึงอาการทุบ, ตี, ทิ่มอย่างเบาๆ หรือเบาะๆ 

          โพะ (อ่านว่า ปัวะห์) แปลว่า ท้อง, พุง, มีท้อง, มีลูก แล้วเพี้ยนเสียงเป็นไทยว่า พก เช่น ชายพก คือส่วนของผ้าที่เหลือเป็นถุงจากการขัดกัน แล้วเหน็บไว้ที่ท้องใกล้สะดือ ใช้เก็บของเล็กๆ ได้ 

          พระราชพิธีเบาะพก มีตอนข้างแรม เดือนมืด ระหว่างแรม 11-14 ค่ำ โดยไม่ระบุว่าเดือนไหน? 

          ลำดับพิธีอย่างย่อๆ มีดังนี้ (1.) ตั้งโรงพิธีในวังหลวง มีรูปสัญลักษณ์ หรือที่เรียกว่าเจว็ดของแม่หยัว (2.) เริ่มทำพิธีสมโภช แรม 11 ค่ำ (3.) แห่เจว็ดแม่หยัวจากโรงพิธีไปที่มณฑลในปราสาท (4.) พระเจ้าแผ่นดินเสด็จบรรทมสมพาสกับแม่หยัว

          ข้อความพรรณนาอยู่ในกฎมณเฑียรบาล มีตัวอย่างตอนหนึ่งจะคัดมาดังนี้ 

          แรม 14 ค่ำเอาราชยานแลพรหม 16 มารับแม่หยัวพระพี่เจ้าไปในปราสาท——- 

          เมียพระบโรหิตถือเทียนทอง เมียพระพิรามถือสังข เมียพระมเหธรถือปลาทอง เมียพระพิเชดถือเต่าทอง เมียพระเทพราชถือตระพัง เมียพระจักรปาณีถือพานเข้าตอก เมียพระอาทยาถือมีดไพล เมียพระโหรปรายเข้าสาน——- 

          ครั้นเสดจ์ถึงเข้าพระผทมด้วยแม่หยัวพระพี่ 

          ผทมตื่นสรงเสวยธรงพระสุคนธสำอางราโชประโภก เสดจ์หอพระแล้วลงพระราเชนทรเสดจ์ไปเวียร 9 รอบ 

          ครั้นไปถึงอุทกราชสศซัดแหวนซัดทองซัดเงีน เทพดาแลองคมีคุณทแลอันมี    พราหมณอยู่บูชา แลคนปรายเงีนให้ทุกคน——-”

 

 

 

 

 

คำยืนยันของเจ้าของนิยาย

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
9 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
9 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
9 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา