แม่หยั่วเมือง

6.0

เขียนโดย Bush

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.26 น.

  4 ตอน
  0 วิจารณ์
  6,816 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 20.08 น. โดย เจ้าของนิยาย

แชร์นิยาย Share Share Share

 

1) เหตุแห่งนางหยั่วเมือง

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ
ขนาดตัวอักษร เล็ก กลาง ใหญ่ ใหญ่มาก
นาคาสังวาส จากภาพนี้กลายมาเป็น เรื่องราวที่เกิดเป็นตำนานพื้นเมืองของขอม ตามบันทึกของ"จิวต้ากวน" ที่เดินทางมาเป็นราชให้กับราชทูตจีน ราว พ.ศ. ๑๘๓๘ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"มีกษัตริย์ขอมโบราณพระองค์หนึ่งจะต้องเสด็จขึ้นไปบนปราสาทอากาศพิมานนี้ทุกคืนเพื่อบรรทมกับนางนาคซึ่งแปลงกายเป็นสตรี หลับนอนกับนางนาคแล้วจะค่อยไปบรรทมกับพระมเหสีองค์อื่น ๆ หากไม่ทำอย่างนี้แล้วนางพญานาคจะพิโรธ ทำให้ต้องสวรรคต และบ้านเมืองจะวุ่นวาย"
แสดงให้เห็นเรื่องราวความเกี่ยมพันที่พราหมณ์ นำเอาเรื่องของการเสพสังวาสของมนุษย์มาเป็นเงื่อนไขในการกำหนดพระราชพิธี ที่เรียกว่าพระราชพิธีเบาะพก
คือพระราชพิธีที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปปราสาท แล้วเสพสังวาสกับแม่หยัว เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งของไพร่ฟ้าประชากรและราชอาณาจักร แม่หยัว คือ นางนาค ฉะนั้นเบาะพก คือ นาคาสังวาส เบาะพก เป็นภาษาเขมร แปลว่าใช้อวัยวะทิ่มๆ ตำๆ บริเวณใต้ท้องน้อยหมายถึงเสพสังวาส
สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนในมติชน เรื่อง เทียนทอง ไว้ดังนี้
“เทียนทอง” ยุคอยุธยา มติชนสุดสัปดาห์ ลงฉบับประจำวันศุกร์ ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
 “เทียนทอง” ในพระราชพิธีเบาะพก ยุคต้นอยุธยา และในบทร้องยุคกลางอยุธยา(เพลงสรรเสริญพระจันทร์) หมายถึง องคชาต ที่ไม่เคยพบคำอธิบายในเอกสารไทย แต่มีตัวอย่างเทียบเคียงอยู่ในเอกสารนิทานเขมร
พระราชพิธีเบาะพก
ในกฎมณเฑียรบาลระบุพระราชพิธีเบาะพกเป็นพิธีกรรมที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสพสังวาสกับ“แม่หยัวพระพี่”
พิธีนี้ได้รับแบบแผนจากราชอาณาจักรกัมพูชาที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสพสังวาสนางนาคทุกคืน
ถ้อยคำพรรณนาในกฎมณเฑียรบาลระบุว่ามีขบวนแห่ด้วย ผู้เข้าขบวนแห่เชิญเครื่องพิธีศักดิ์สิทธิ์ล้วนเป็น“เมีย”อำมาตย์ผู้ใหญ่ เช่น เมียปุโรหิตถือ “เทียนทอง” ว่า
“เมียพระปุโรหิตถือเทียนทอง เมียพระพิรามถือสังข์ เมียพระมเหธรถือปลาทอง เมียพระพิเชดถือเต่าทอง…”
จะเห็นว่า เทียนทอง นำหน้าสังข์, ปลาทอง, เต่าทอง
ร้องสรรเสริญพระจันทร์
๏ เจ้าเอยเทียนทอง ปิดเข้าที่หน้าแท่นทอง
ทำขวัญเจ้าทั้งสอง ให้เจ้าอยู่ดีกินดี
ให้อยู่จนเฒ่าชรา ให้เจ้าเป็นมหาเศรษฐี
อายุยืนได้ร้อยปี เลี้ยงพระบิดามารดา
บทร้องครั้งกรุงเก่า เพลงสรรเสริญพระจันทร์ที่ยกมานี้ ใช้ร้องและบรรเลงแบบ“เนื้อเต็ม”ขับคลอพร้อมกันขณะเวียนเทียนทำขวัญอวยพรสาว-บ่าวในงานแต่งงานให้อยู่ดีกินดีหลายคนจึงเกิดความสงสัยใคร่อยากให้ร้อยเรียงเรื่องราวแบบน่ารักชวนฝันแนวพระนางสเรเตรแห่งขอมและท่านผู้นี้....
พระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติเกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติพร้อม สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหารยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป เสร็จศึกแล้วก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้าทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า
ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน
 

 

คำยืนยันของเจ้าของนิยาย

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
6 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
6 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
6 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

อ่านนิยายเรื่องอื่น

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา