แม่หยั่วเมือง

6.0

เขียนโดย Bush

วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.26 น.

  4 ตอน
  0 วิจารณ์
  6,754 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 20.08 น. โดย เจ้าของนิยาย

แชร์นิยาย Share Share Share

 

4) นางหยั่วเมือง

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ
พอเสร็จศึกสำคัญหมดแล้ว  พระองค์จึงเสด็จยกทัพไปตีกัมพูชา  ในปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๓๖ โดยจัดกำลังเป็นทัพเรือสองกองทัพ  ให้พระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตีทางเมืองป่าสักทัพหนึ่ง ให้พระยาราชวังสัน เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตีเมืองบันทายมาศอีกทัพหนึ่ง  ส่วนกองทัพบก ให้พระยานครราชสีมา  คุมพลหัวเมืองตะวันออก  ไปตีเมืองเสียมราฐ และฝั่งตะวันออกของทะเลสาบเขมรอีกทัพหนึ่ง  ส่วนกองทัพหลวง  ให้พระราชมนูคุมกองทัพหน้า  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ  เสด็จยกทัพหลวงไปตีเมืองพระตะบอง ทางด้านฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ  นัดหมายให้ไปถึงเมืองละแวก อันเป็นนครหลวงของกัมพูชา พร้อมกันทุกกองทัพ  ในการนี้ ให้เกณท์ผู้คนในเมืองนครนายก  เมืองปราจีณบุรีอันอยู่บนเส้นทางเดินทัพไปเขมร เข้าร่วมกองทัพด้วย แล้วให้เกณฑ์ทัพมีกำลังคนสิบหมื่น ช้างเครื่องแปดร้อย ม้าพันห้าร้อย ยกทัพไปตีกัมพูชา  เมื่อไปถึงเมืองพระตะบองก็ตีเมืองได้  จากนั้นก็เข้าตีเมืองละแวกได้ เมื่อต้น ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๑๓๗ แล้วกวาดต้อนครอบครัวเขมรมาเป็นเชลยเป็นอันมาก 
 

 
เหตุการณ์ในตอนนี้ วัน วลิต ได้บรรยายไว้ว่า  สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพไปตีบ้านเมืองต่าง ๆ ได้เป็นอันมาก  และมีชัยต่อเจ้ากรุงกัมพูชา  พระองค์จับพระเจ้ากรุงกัมพูชา และพระราชโอรสธิราชทั้งหมดเป็นเชลย  แต่ทรงอนุญาตให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ของเจ้ากรุงกัมพูชา อยู่ครอบครองกัมพูชาต่อไป  โดยให้ถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่คิดคดทรยศ  จะเป็นข้ากรุงศรีอยุธยาสืบไป เมื่อได้จัดการกับกรุงกัมพูชาเสร็จแล้ว  สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพกับพระนคร และให้เอาตัวเจ้ากัมพูชา กับราชโอรสอีกสามองค์มาเป็นเชลยด้วย  เมื่ออยู่ต่อมาได้ระยะหนึ่งไม่นาน  ก็โปรดให้ส่งเจ้ากรุงกัมพูชากลับไปเสวยราชย์ ณ กรุงกัมพูชาตามเดิม โดยให้ถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ให้พระราชโอรสอยู่เป็นตัวจำนำที่กรุงศรีอยุธยา และให้กรุงกัมพูชาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองต่อกรุงศรีอยุธยาปีละครั้ง ในเอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัด(ฉบับหลวง) ซึ่งเรียบเรียงจากปากคำของคนไทยสมัยเสียกรุงครั้งที่ ๒ ระบุว่าพระองค์มีพระมเหสีชื่อ 'พระมณีรัตนา' และยังมีสนมกำนัลอื่นๆดังที่ว่า ‘ส่วนพระนเรศวรนั้น ก็เข้าไปยังกรุงศรีอยุธยา ก็เสด็จเข้าสู่พระราชฐานอันอัครเสนาบดีและมหาปุโรหิตทั้งปวง จึงทำการปราบดาภิเษกแล้วเชื้อเชิญให้เสวยราชสมบัติ จึงถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้วจึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ ทั้งเครื่องราชูปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึงถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายในกรมจึงถวายพระมเหษีพระนามชื่อพระมณีรัตนา และถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราช ๙๕๒ ปีขาลศก’ นอกจากนี้ก็ยังมีทรงพระยศเป็นพระมเหสีอีกสองพระองค์อันเป็นที่รู้จักคือ

-พระเอกกระษัตรี พระธิดาของพระศรีสุริโยพรรณอนุชาของนักพระสัตถาพระยาละแวก ทรงได้เป็นมเหสีในปีมะแม พ.ศ.๒๑๓๘
-พระธิดาของเจ้าฟ้าสาวัตถีนรธาเมงสอ พระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง เรียกขานกันว่า 'โยธยามีพญา'(มเหสีอยุทธยา)
 
ส่วนพระธิดาของเมืองขอมว่ากันว่าน่าจะเป็นพระนางสเรเตร(ดอกไม้ทางอิสานใต้สีขาวกลิ่นหอมเย็นคล้ายดอกพุทธรักษาแต่มีกลิ่น) ว่ากันว่าเขมรขาวจะเป็นเจ้าพระนางมีผิวขาวลออสวยงามแต่ไม่ทราบต้นสายปลายเหตุรู้แต่ว่าทรงเป็นเจ้าของช้างพังตัวน่อยที่งัดงาพลายไชยานุภาพจอมเพี้ยนเพราะพระนเรศทรงป้อนฝ่ิ่นให้แก่ท่านช้างพลายเชือกนี้จนมีอาการตกมันเหยียบคนตายมานักต่อนักในเหตุการณ์ชนช้างท่านพลายไชยามีอาการตกมันด้วยอากาศร้อนจัดและอยู่กลางแดดเปรี้ยงจึงวิ่งหลงเข้าไปในวงล้อมของข้าศึกรามัญจนเป็นเหตุผลของการบาดหมางระหว่างพระนเรศวรกับขุนศึกคู่พระทัย
 
นอกจากนี้ยังมีพระมเหสีม่ายอีกพระองค์หนึ่งเมื่อคราวมีเหตุการณ์หนึ่งที่เสด็จไปช่วยพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ คือ "เจ้าไล" หรือศรี ซึ่งมีเหตุวิวาทกับพระยาออกนาจนถูกฟันด้วยพระแสงดาบและถูกจำคุกเป็นเวลา ๕ เดือนเจ้าขรัวมณีจันทร์จึงได้ขอพระราชทานอภัยโทษโดยปรากฏในจดหมายเหตุวันวลิต ความว่า
 
"จนกระทั่งเจ้าขรัวมณีจันทร์ ชายาม่ายของพระเจ้าอยู่หัวในพระโกศคือพระ มเหสีม่ายของพระองค์ดำได้ทูลขอจึงเป็นที่โปรดปรานอีกพระนเรศทรงยกโทษให้แลโปรดให้สนองพระคุณรับใช้ในราชการ"

 

พิเคราะห์ดูในพระราชพงศาวดารว่า เจ้าทองลันราชกุมารขึ้นเสวยราชสมบัติได้ ๗ วัน สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในวังกุมเอาพระเจ้าทองลันได้ ให้ฆาฏเสียวัดโคกพระยาในการประกาศอุปราชาภิเษกว่าทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ "เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลฝ่ายหน้ารับพระบัณฑูรที่พระมหาอุปราช" ใช้คำเช่นนี้ตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอธิบายความหมายหลายอย่างต่างกัน แต่ล้วนเนื่องด้วยตำแหน่งหน้าที่ของพระมหาอุปราช เอามาเรียกรวมเป็นพระนามคือ (๑) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (๒) ฝ่ายหน้า (๓) พระบัณฑูร (๔) พระมหาอุปราชคำเหล่านี้มีเค้ามูลในพงศาวดารว่า เกิดขึ้นด้วยเหตุต่างๆกัน และเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับจนถึงในกรุงรัตนโกสินทร์นี้  ตำแหน่ง "พระมหาอุปราช" ต้นตำรามาจากอินเดียแต่ในอินเดียเขาเรียกเพียงว่า "อุปราช" เป็นตำแหน่ง Vice Roy ผู้ครองหัวเมืองมณฑลใหญ่ มีอำนาจถืออาญาสิทธิ์ต่างพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน มิได้หมายความว่าเป็นรัชทายาท (Heir Apprant) รัชทายาทนั้นมีคำสำหรับเรียกต่างหากว่า "ยุพราช"แต่ที่ไทยเราเอามาใช้เป็นแบบเพิ่มคำ "มหา" เข้าข้างหน้าคำ "อุปราช" ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าประสงค์จะแสดงว่า "มหาอุปราช" ทรงศักดิ์สูงกว่า "อุปราช" สามัญ หรือว่าอีกนัยหนึ่งคือ เดิมมีตำแหน่งอุปราชอยู่แล้ว(และอาจมีหลายองค์ในคราวเดียวกัน) เกิดประสงค์จะยกอุปราชองค์ใดองค์หนึ่งให้สูงศักดิ์กว่าอุปราชทั้งปวง จึงให้เรียกว่า "พระมหาอุปราช" ทำนองเดียวกับที่ใช้คำว่า "กษัตริย์" กับ "มหากษัตริย์" และ "ขุน" กับ "พ่อขุน" ฉะนั้น ถ้าว่าตามที่ปรากฏในพงศาวดาร ตำแหน่งพระมหาอุปราชเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยสมเด็จฯพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๐๑๑ กำหนดศักดิ์พระราชกุมารให้เป็นชั้นกันโดยลำดับดังนี้ ชั้นที่ ๑ พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระมเหสีซ้ายขวาทรงศักดิ์เป็น "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งในหนังสือพงศาวดารว่า "สมเด็จหน่อพุทธางกูร" (หมายความอย่างเดียวกัน)ชั้นที่ ๒ พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระราชเทวีหรือพระอัครชายา เรียกว่า "แม่หยั่วเมือง"ทรงศักดิ์เป็น "พระมหาอุปราช" ชั้นที่ ๓ พระราชกุมารอันเกิดด้วยลูกหลวง (เช่นพระมารดาเป็นพระองค์เจ้า) กินเมืองเอก ชั้นที่ ๔ พระราชกุมารอันเกิดด้วยหลานหลวง (เช่นพระมารดาเป็นหม่อมเจ้า) กินเมืองโท ชั้นที่ ๕ พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระสนม เป็น "พระเยาวราช" (ตรงนี้เห็นได้ว่า เอานามตำแหน่งรัชทายาทตามตำราอินเดียมาใช้เรียกพระราชกุมารชั้นต่ำ) เพราะราชกุมารศักดิ์ที่กล่าวมา เพิ่งกำหนดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปัญหาจึงมีว่าเมื่อก่อนนั้นแบบแผนเป็นอย่างไร ข้อนี้หลักฐานที่จะรู้ได้เพียงว่า เรียกพระราชกุมารว่า "เจ้า"  เช่นเจ้าทองลันและเจ้าอ้ายพญาเป็นต้น ถ้าเจ้าได้ครองเมืองมีราชทินนามว่า "พระ" เช่นพระราเมศวร พระบรมราชา และพระอินทรราชาเป็นต้น สันนิษฐานว่าเดิมเจ้าที่ครองหัวเมืองเอกคงเป็น "อุปราช" ตรงตามตำราอินเดีย เพราะมีตำแหน่งอุปราชอยู่แล้วเช่นนั้น เมื่อตั้งกฎมณเฑียรบาลจะให้มีอุปราชซึ่งทรงศักดิ์สูงยิ่งขึ้นไป จึงให้เรียกว่า "พระมหาอุปราช" แต่เหตุใดจึงกำหนดให้พระราชกุมารชั้นที่ ๒ เป็นพระมหาอุปราช ข้อนี้พิเคราะห์ดูเหมือนจะหมายความว่าเป็นรัชทายาทเมื่อไม่มีพระราชกุมารชั้นที่ ๑ เปรียบเช่นว่า พระมเหสีไม่มีพระราชกุมาร มีแต่พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครชายา จะตั้งเป็นสมเด็จหน่อพระพุทธางกูรที่รัชทายาทก็ขัดข้องอยู่ด้วยพระมเหสีอาจมีพระราชกุมาร จึงให้ไปครองเมืองอย่างอุปราช แต่ให้เรียกว่า "พระมหาอุปราช" เพราะเทียบที่รัชทายาท (Heir Presumtire) ส่วนพระราชกุมารชั้นที่ ๓ ที่ได้ครองหัวเมืองใหญ่ก็คงเรียกกันว่าอุปราชอยู่ตามเดิม ตรวจดูตัวอย่างที่มีมาในพงศาวดารปรากฎว่าเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราชเมืองเชียงใหม่ ต้องเสด็จขึ้นไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกนั้นโปรดฯให้พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า พระบรมราชาครองพระนครศรีอยุธยาในหนังสือพงศาวดารว่า "ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน" แต่เห็นจะเป็นสมเด็จหน่อพุทธางกูรหรือสมเด็จหน่อพุทธเจ้าตามกฎมณเฑียรบาลนั้นเองต่อมาถึง พ.ศ. ๒๐๒๘  ทรงตั้งพระราชโอรสอีกพระองค์ ๑ ทรงพระนามว่า พระ(ชัย)เชษฐาให้เป็นพระมหาอุปราชได้ครองเมืองพิษณุโลก แล้วมาได้เสวยราชย์ครองกรุงศรีอยุธยาต่อสมเด็จพระบรมราชาทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๒)ทรงตั้งพระอาทิตยวงศ์ ราชโอรสเป็นพระบรมราชาที่สมเด็จหน่อพุทธางกูรให้ไปครองเมืองพิษณุโลก แล้วได้รับรัชทายาทครองกรุงศรีอยุธยา เรียกพระนามในหนังสือพงศาวดารว่า "สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร"

ครั้นมาถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราเมศวรราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นที่สมเด็จหน่อพุทธางกูรแต่อยู่ในราชธานี เพราะพระมหาธรรมราชาธิราชบุตรเขยได้เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงตั้งพระนเรศวรราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นสมเด็จหน่อพุทธางกูรไปครองเมืองพิษณุโลกอย่างเดิมในหนังสืองพงศาวดารก็ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลนั้นเองเมื่อทำสงครามกู้อิสระประเทศสยามต้องรวมกำลังมาตั้งต่อสู้ข้าศึกที่กรุงศรีอยุธยาแห่งเดียวพระเนศวรก็ต้องเสด็จลงมาประทับอยู่ในพระนคร แม้ทำสงครามชนะข้าศึก หัวเมืองก็ยับเยินเสียมากไม่เหมือนแต่ก่อน ถึงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงเลิกประเพณีตั้งพระราชกุมารไปครองหัวเมือง แม้สมเด็จพระเอกาทศรถราชอนุชาซึ่งทรงสถาปนาเป็นรัชทายาท อย่างสมเด็จหน่อพุทธางกูรแต่ก่อน ก็ให้เสด็จประทับอยู่ในราชธานี ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงตั้งเจ้าฟ้าสุทัศน์ราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นรัชทายาท แต่ให้ทรงศักดิ์เป็นพระมหาอุปราชและอยู่ในราชธานี แต่นั้นจึงถือว่า พระมหาอุปราช เป็นรัชทายาทและอยู่ในราชธานีเป็นประเพณีสืบมา

คำว่า "ฝ่ายหน้า" น่าจะเป็นคำสำหรับเรียกรัชทายาทในภาษาไทยมาแต่โบราณ มีตัวอย่างในหนังสือเก่าเรียกสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อก่อนเสวยราชย์ว่า "พระเจ้าฝ่ายหน้า" และเรียกเจ้าฟ้าสุทัศน์พระมหาอุปราชในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถว่า "เจ้าฟ้าฝ่ายหน้า" ดังนี้ พิเคราะห์ดูเค้ามูลเห็นมีเป็น ๒ นัย ถ้าเรียกกันขึ้นตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เห็นจะมาแต่เรียกวัง(จันทรเกษม)อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร เมื่อเป็นรัชทายาทว่า "วังหน้า" เพราะอยู่ทางด้านหน้า และเรียกวังที่สวนหลวง(ริมวัดสบสวรรค์)ว่า "วังหลัง" เพราะอยู่ด้านหลังพระราชวัง(หลวง) แล้วเลยเรียกพระองค์รัชทายาทว่า "พระเจ้าฝ่ายหน้า" หรือ "เจ้าฟ้าฝ่ายหน้า" แต่เค้ามูลมีอีกนัยหนึ่ง ซึ่งอาจจะเรียกมาแต่ดึกดำบรรพ์ตามหน้าที่ของรัชทายาทซึ่งต้องเป็น "หน้าศึก" เช่นเป็นทัพหน้าในเวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จทำสงคราม หรือต้องออกทำสงครามแทนพระองค์ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้เสด็จไปเอง อันเป็นประเพณีเก่าแก่และใช้มาจนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ คำว่า "ฝ่ายหน้า" อาจจะมาแต่หน้าที่เป็นหน้าศึกดังกล่าวมานี้ได้อีกนัยหนึ่ง คำว่า "พระบัณฑูร" นั้นสำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่าพระราชโอการอย่าง ๑ เรียกว่าพระบัณฑูรอย่าง ๑ ข้อนี้พึ่งเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า "มีพระราชโองการมานบัณฑูร" ต่อกันดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ "โองการ" หมายความว่าปะกาสิตของพระอิศวร "ราชโองการ" ก็หมายความว่าปกาสิตของพระอิศวร เมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมุนษย์โลก ซึ่งเรียกว่า สมมุติเทวราช คำ "บัณฑูร" นั้นเป็นภาษาเขมร หมายความว่า สั่ง เดิมคงใช้ว่า "มีพระราชโองการบัณฑูร" คำว่า "มาน"(เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า มี นั่นเอง)เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในชั้นหลังแต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยกพระราชโองการกับพระบัณฑูรออกต่างหากจากกันด้วยกล่าวว่าถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิตถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคูณดังนี้แต่อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่าพระบัณฑูรนั้นพึงเข้าใจได้ว่าให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินแต่อำนาจพระบัณฑูรนี้พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มีเรียกว่า "พระบัณฑูรน้อย"เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้(เมื่อรัชกาลที่ ๑)พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างใดไม่ปรากฏแต่เมื่อพระมหาอุปราชได้รับรัชทายาททรงตั้งพระบัณฑูรน้อยเป็นพระมหาอุปราชทุกคราว

คำว่า "กรมพระราชวังบวรมหาสถานมงคล" มีเรื่องตำนามมาแต่ครั้งรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อรวมคนหัวเมืองเหนือลงมาตั้งสู้ศึกพม่าที่พระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นพระนเรศวรสร้างวังเป็นที่ประทับอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวง คนทั้งหลายคงเรียกวังนั้นตามนามวังที่เคยประทับ ณ เมืองพิษณุโลกว่า "วังจันทร์" บ้างเรียก "วังหน้า" บ้างสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นคงสร้างวังขึ้นที่สวนหลวงทางด้านหลังพระราชทานพระเอกาทศรถอีกวัง ๑ คนทั้งหลายก็เรียกกันว่า "วังหลัง"จึงเกิดมีวังหลวงวังหน้าวังหลังขึ้นแต่ครั้งนั้นมาครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมาธิราช(พ.ศ. ๒๑๙๙)

สมเด็จพระนารายณ์ได้เป็นพระมหาอุปราชประทับอยู่ที่วังหน้าแล้วเกิดรบกับสมเด็จพระศรีสุธรรมาธิราช สมเด็จพระนเรศวรได้ราชสมบัติ แต่ไม่เสด็จมาอยู่วังหลวง ประทับอยู่วังหน้าต่อมาอีกหลายปี สันนิษฐานว่าเห็นจะเปลี่ยนนามวังจันทร์เกษมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" ในตอนนี้เพราะเป็นพระราชวัง และเป็นมงคลสถานที่ได้เสวยราชย์ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์นั้นปรากฏว่าพระไตรภูวนาถทิตยวงศ์ราชอนุชาองค์ ๑ ประทับอยู่ที่วังหลัง แต่หาได้เพิ่มพระยศศักดิ์อย่างใดไม่   

ครั้นรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาธิราชตั้งราชวงศ์ใหม่จะตั้งให้หลวงสรศักดิ์ผู้เป็นบุตรเป็นพระมหาอุปราช และจะตั้งนายจบคชประสิทธิ์ผู้เป็นหลานเป็นเจ้าชั้นสูงรองแต่พระมหาอุปราชลงมาให้อยู่ที่พระราชวังบวรสถานมงคล คือ วังหน้าองค์ ๑ ให้อยู่วังหลังองค์ ๑ จึงเอาระเบียบการตั้งกรมเจ้านายบังคับบัญชาซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงบัญญัติขึ้นมาใช้ให้ขนานนามข้าราชการบรรดาที่มีตำแหน่งขึ้นอยู่ในพระมหาอุปราช เรียกรวมกันตามชิ่อวังว่า "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" แล้วเอาแบบนี้ไปตั้งขึ้นสำหรับวังหลังขนานนามว่า"กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข" จึงเกิดนามเรียกกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข แต่นั้นสืบมาจนมาถึงสมัยสยามอารยประเทศในรัชกาลที่ห้าจึงเปลี่ยนชื่อเรียกขานเสียใหม่ว่า พระบรมโอรสาธิราชหรือ Prince Crownหรือพระยุพราชตามความหมายเดิมก่อนที่จะเริ่มรัชกาลที่เก้าว่ากันว่าในหลวงทรงทำการลงโทษหนักขั้นประหารชีวิตพวกผู้ก่อการกบฏต่อราชอาณาจักรก่อตั้งราชสกุลจอมปลอมสิบแปดมงกุฎและผู้เกี่ยวพันกับคดีลอบปลงพระชนม์ในหลวงอนันทพระเชษฐาในครั้งนั้นท่านทรงรับสั่งทีเล่นสัพยอกว่า       “ถ้าหากยังมีอย่างนี้อีกฉันคงต้องทำการปัจฉิมนิเทศเหมือนคราวนี้คงต้องเรียกว่าปฐมนิเทศคราวฉันโบกมืออำลาพวกพี่น้องชาวไทย” 

ระดับยายณีแบบลูกน้องพวกหาง ๆ ต้องคดีอย่างคร่าว ๆ คือ ร่วมมือกันฆ่า   (วางยาและบอกเบาะแสของเหยื่อที่ถูกทำร้าย)   ร่วมมือกันปลอมแปลงเอกสาร ร่วมมือกันสร้างและให้การเท็จต่อสาธารณชน หมิ่นประมาทและหมิ่นสถาบันเบื้องสูง หมิ่นศาลและร่วมมือกันทำร้ายเจ้าหน้าที่จ่าศาล แจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยัดข้อหาค้ายาเสพติดให้ผู้อื่นด้วยการแอบอ้างเปิดบัญชีปลอม พยายามฟอกเงิน  ทำสื่อลามกอนาจาร ล่อลวงผู้เยาว์ไปค้ามนุษย์ ทำร้ายบุพการีอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แกล้งมีอาการวิกลจริตเพื่อหลบหนีความผิดทางอาญา  ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นแลของทางราชการ ร่วมกันลักทรัพย์จากสถาบันการเงิน ......

ประมาณนี้นี่ขนาดแค่แม่บ้านหรือลูกจ้างเดินกระเปิบกระปาปไปถ่ายเอกสารช่วยหาเลขที่บัตรสำเนาบัตรของใครก็ได้หรือไม่เล่มเงินฝากเก่าๆของใครก็ได้ไม่ได้ทำอะไรให้พวกนั้นได้มากไปกว่านี้เพราะเขียนหนังสือไม่ค่อยเป็นอ่านภาษาไทยยาก ๆไม่ค่อยออกภาษาต่างประเทศอื่นหมดสิทธิ์ไม่มีการศึกษาแต่ฝันเฟื่องทำตามฝรั่งมั่งค่า     “มันก็ไม่มีการศึกษาอะไรกันหลายคนพวกไอ้โอคินอสมันอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เหมือนกันแต่มันทำแล้ว มีตังค์ มีรถ  มีบ้านจัดสรรที่เงียบ ๆ สงบ ๆ ต้นไม้เยอะ ๆ อยู่ก็เลยอยากมีกินมีใช้แบบนั้นมั่ง” 

ตามความเป็นจริงเหมือนที่ติงลี่สิบมันว่า     "คือผมไม่กล้าว่าใครเพราะว่าพวกญาติผมก็ไม่ได้ดิบดีทำผิดไว้เพียบคดียาก็เยอะ และคงไม่ต้องรอตัดสินคดีถ้าลองลงโพสต์ให้ใครๆเค้าอ่านกันไปทั่วโลกตัวแปลภาษามันก็มีอีกอย่างหากเจอสภาพการณ์แบบนี้ทุกคนต้องรีบแจ้งความอย่าไปฟังว่าเอ้ยเดี่ยวคุยกันเองก่อนไม่ใช่คนอื่นคนไกลเพราะถึงเวลามีเรื่องขึ้นมาสายเกินไปผมอยู่ในครอบครัวลักษณะแบบนี้แจ้งความอย่างเดียวอย่าไปฟังพวกอีไม่งั้นเดี๋ยวคนอื่นที่มันดี ๆ อย่างตัวพี่เองนั่นละ  อาจจะต้องคดีถึงคุกมาแล้วมากมายทั้งที่ไม่ได้ทำผิดแค่ชื่อของพี่หรือเลขบัตรประชาชนติดคุกแทนพวกอีผู้หญิงก็มีมาแล้วหลายรายถึงเวลามันต้องเห็นแก่ตัวไม่สนใจหน้าค่าชื่อใครเลยครับเชื่อผมมันจำเป็นยังงั้นยังงี้อย่าไปใจอ่อนสงสารไม่ได้"

 

 

 

 

 

คำยืนยันของเจ้าของนิยาย

✓ เรื่องนี้เป็นบทความเก่า ยังไม่ได้ทำการยืนยัน

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
6 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
6 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
6 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

 

ไม่มีแบบสำรวจ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา