ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป

-

เขียนโดย Domewriter

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.

  20 ตอน
  0 วิจารณ์
  6,023 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

18) ยุคราชวงศ์โจว 9

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

 

34)  โจวอาน

♢ 401- 376 BC : ราชวงศ์โจวตะวันออก
           สมเด็จเจ้าองค์ที่ 34  โจวอาน ชื่อเดิม จีเจียว พระองค์ครองราชย์ 25 ปี ทรงสวรรคต องค์ชายใหญ่โจวเลี่ยขึ้นครองราชย์บัลลังค์

         ☆ กระบี่ก้านเจี้ยง และ กระบี่มั่วเหยียน อู๋เหอหลีต้องการกระบี่วิเศษประดับ บารมีราชวง์อู๋  จึงสั่งให้กานเจี้ยงและมั่วเหยีย สองสามีภรรยาทำกระบี่ แต่ผ่านไป 3 เดือน ยังไม่สามารถใช้สสารจากภูเขา 5 ลูก แม่น้ำหกสายหลอมทำกระบี่ออกมาได้  

อู๋เหอหลีจึงมีรับสั่งให้ประหารสองสามีภรรยา หากทำกระบี่ไม่สำเร็จในวันพรุ่งนี้

           คืนวันนั้น ก้านเจี้ยงตื่นขึ้นมากลางคืน ไม่พบภรรยาเห็นภรรยายืนอยู่ หน้า เตาหลอม น้ำตาของนางหลั่งใหล เนื่องจากที่จะถูกประหารชีวิต

           มั่วเหยียบอกว่า  เพราะกระบี่นี้ต้องการชีวิตของเรา    พวกเราก็มอบชีวิตให้ กระบี่  มั่วเหยียกล่าวจบกระโดดเข้าไปในเตาหลอมกระบี่ โลหิตของนางกลับหลอม สสารทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน     ก้านเจี้ยงเห็นดังนั้นจึงจัดการตีกระบี่ขึ้นมาจนสำเร็จ และตั้งชื่อกระบี่ว่ามั่วเหยีย วันรุ่งขึ้น อู๋เหอหลีนำขบวนทหารเดินทางมารับกระบี่

           ก้านเจี้ยงถือกระบี่ดุจคนคลุ้มคลั่งไปที่ขบวนทหาร เขาด่าประนามอู๋เหอหลี ที่ทำให้ภรรยาต้องกระโดดเข้าไปในเต่หลอมฆ่าตัวตาย เพื่อทำกระบี่เล่มนี้ จากนั้น ก้านเจี้ยงก็ขว้างกระบี่มั่วเหยียลงแม่น้ำไป  แล้วก้านเจี้ยงก็เดินหันหลังจากไป เพื่อ    เป็นการรักษาหน้าของอู๋เหอหลี  ขุนนางและทหารต่างบ่งบอกว่า กระบี่มั่วเยี่ยกลาย เป็นมังกรขาวกระโดดลงทะเลสาปไป ส่งนก้านเจี้ยงเองก็หายตัวไปด้วยพร้อมกัน

            600 ปีต่อมา เหล่ยฮวนขุดพบกระบี่สีดำจากใต้ดิน ที่บนตัวกระบี่จารึกชื่อ ก้านเจี้ยง ชื่อของช่างตีเหล็กชื่อดังในตำนาน  เหล่ยฮวนจึงนำกระบี่ก้านเจี้ยงไป โยนลงแม่น้ำที่ก้านเจี้ยงโยนกระบี่มั่วเหยียทิ้งในอดีต เพื่อให้ทั้งสองได้อยู่คู่กันใน ปรภพ กระบี่ทั้งสองเล่มจึงมีชื่อว่า ก้านเจี้ยงและมั่วเหยีย            

 

ซุนวูและไซซี แคว้นโง้ว หรือ เยว่ และ แคว้นอ้วก หรือ อู๋ หรือ หวู๋          

           ซุนวู หรือ ซุนจื่อ  แปลว่า ปราชญ์แซ่ซุน  เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม ซุนจื่อ หรือ ซุนจื่อปิงฝ่า ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร￿รู้เขารู้เรารบร้อย ครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นสำนวนที่มีผู้ศรัทธาอย่างมากของประเทศจีน
           สองประโยคที่ซุนวูพูดไว้ คือการชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง กับ หากรู้เขารู้  เราแม้นรบกัน ร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หาก ไม่รู้ในตัวเขา ตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งนั้นแล￿ฉะนั้น คำสอนรู้เขารู้เรารบ ร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง￿จึงไม่มีปรากฏในตำราพิชัยสงคราม แต่อย่างใด
           ซือหม่าเชียน นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่น ระบุไว้ในหนังสือพงศาวดาร ว่า ซุนวู เป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในแคว้นอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ ในยุคเดียวกับขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่

            แต่หลักฐานทางชีวประวัติศาตร์นั่น ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ ของยุค นั้น รวมทั้งลักษณะการเขียนและเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ￿ก็บ่งชี้ว่า ไม่น่า จะเป็นงานที่เขียนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล
          ตำราพิชัยสงครามซุนวูเองนั้นได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัยๆ ถึงชีวิตของเขา เช่น รถม้าศึกที่ใช้ในการสงครามที่ออกแบบโดยซุนวูนั้น ใช้ในช่วงเวลา  400 ปีก่อนคริสตกาล  ดังนั้นจึงถือว่า ซุนวูมีชีวอตอยู่ในช่วงเวลานั้น แม้ว่าไม่อาจระบุ ได้แน่ชัด ว่า ซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หรือ ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล

           ตระกูลของซุนวู แต่เดิมไม่ได้แซ่ซุน ซึ่งเรื่องเล่าถึงที่มาของแซ่ซุน มี หลายแบบ แต่ที่เชื่อถือกัน คือ ตระกูลซุนสืบทอดมาจากตระกูลเฉินที่สืบเชื้อสาย มาแต่ราชวงศ์ซุ่น หรือ เซี่ย

          กุ้ยหมาน บรรพบุรุษของตระกูลซุนที่เป็นบัณฑิตหนุ่มได้สมัครเป็นผู้รับ ใช้ ชางอู่อ๋อง ช่วยโค่นล้มโจ้วจื้อหวัง ราชาผู้เป็นทรราชย์และ นางจิ้งจอกต้าจี๋ จนสำเร็จ และสถาปนาราชวงศ์ชาง

          ชางอู่อ๋องจึงพระราชทานที่ดินเขตเฉิน ที่เป็นพื้นที่เมืองเล็กๆ ในมณฑล เหอหนาน ให้กุ้ยหมานใช้เป็นเขตกินภาษีรายได้ของเมืองสืบทอดชั่วลูกหลาน

ดังนั้น ลูกหลานชั้นหลังของกุ้ยหมาน จึงใช้คำว่าเฉิน มาเป็นสกุลของตนเอง ต่อมาและพัฒนากลายเป็นแซ่เฉินในที่สุด

          ต่อมา แคว้นชางเกิดกลียุคทำสงครามชิงอำนาจกัน ลูกหลานตระกูลเฉิน บางส่วนหลบหนีไปอยู่แคว้นอื่นๆ ตระกูลเฉินที่หนีไปอยู่แคว้นฉีนั้ได้เป็นขุนนาง เสนาบดีของแคว้นฉี       จนตระกูลเฉินจัดเป็น 1 ใน 4 ตระกูลขุนนางใหญ่ของ แคว้นฉี ประกอบด้วย เฉิน, เกา, เป่า และหลวน

           ลูกหลานขุนนางตระกูลเฉิน ทำความดีความชอบให้ราชาแห่งแคว้นฉีก็ ได้รับพระราชทานแซ่หรือตำแหน่งต่างๆให้ ผ่านำป 2-3 ชั่วคน ก็ได้รับพระราช ทานเปลี่ยนมาใช้แซ่เถียน จากนั้นได้รับพระราชทานเปลี่ยนมาใช้แซ่ซุน

          ซุนวู ในสมัยเด็กได้ร่ำเรียนวิชาจากสำนักขงจื้อจนสำเร็จ เขาก็ติดตามบิดา และญาติผู้ใหญ่ที่เป็นขุนนางแคว้นฉีออกทำศึกสงครามหลายครั้ง    ทำให้ซุนวูได้ เรียนรู้ตำราพิชัยสงครามโบราณหลายเล่มของแคว้นฉี เช่น ตำราพิชัยยุทธ์ไท่กงที่ เจียงไท่กง แต่งขึ้นเอาไว้    อีกทั้งได้ศึกษาจากเถียนหย่างจวี ยอดขุนพลนามกระ เดื่องแห่งยุคอีกด้วย

            เถียงหย่างจวี หรือ ซือหม่าหย่างจวี เป็นผู้แต่งตำราพิชัยสงครามชื่อ กลศึกของซือหม่าหย่างจวี หลังจากสิ้น เถียงหย่างจี  แม่ทัพขุนนางที่เป็นฝ่าย ตรงข้ามก็เป็นใหญ่ในราชสำนักฉี และกดดันให้ซุนวูลาออกจากราชสำนักไป      

            ซุนวู พำนักอยู่กับครอบครัว เขาอบรมถ่ายทอดวิชาพิชัยสงครามให้ลูก หลานจนหมดสิ้นแล้วออกจากบ้าน เพื่อเดินทางพเนจรร่อนเร่ไปเรื่อยๆ  

           ซุนวูเป็นปราชญ์บัณฑิตที่ชาญฉลาดมีชื่อเสียงโด่งดัง   เมื่อเดินทางมา พำนักที่เมืองหลวงของแคว้นหวู๋ ขุนพลหวู๋จือซี หรือ โง้วจื้อซูแห่งแคว้นหวู๋ ได้ ไปพบซุนวู หลังจากหวู๋จือซีได้สนทนากับซุนวูแล้ว ซุนวูในวัยชรากับขุนพลหนุ่ม หวู๋จื่อซี ทั้งสองถูกอัธยาศรัยกัน กลายเป็นสหายต่างวัย

          โงวจื้อซูเห็นว่าซุนวูมีความรู้ปราชญ์เปรื่อง จึงชักชวนซุนวูไปรับราชการ ที่นครหลวง    ซุนวูได้เป็นขุนนางรับใช้ราชาหวู๋เหอหลี และช่วยพระองค์ปกป้อง แผ่นดิน

          ซุนวูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาช่วยโงวจื้อซูฝึกทหารให้แก่แห่งแคว้นหวู๋  ซุนวู ได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพในที่ประชุมขุนนางราชสำนักแต่ โง้วเหอหลียังไม่เชื่อถือในซุนวู
          ซุนวูจึงขอแสดงตัวอย่างโดยจะฝึกนางสนมของหวู๋เหอหลีให้เอาชนะ ทหารโง้วเหอหลีก็อนุญาต
          ขณะซุนวูฝึกสอนการใช้อาวุธ นางสนม 2 นางได้หัวเราะอย่างสนุกสนาน ทั้งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู ซุนวูจึงลงมือใช้อาวุธสังหารสนม 2 นางนี้ทันที เพื่อให้เห็นถึงความเป็นความตายในการสู้รบเอาจริง
          โง้วเหอหลีโกรธเคืองซุนวู แต่เมื่อได้ฟังซุนวูกล่าวว่า หากให้นางสนมสู้ กับทหารของพระองค์ หรือทหารของพระองค์จะแสร้งพ่ายแพ้ หรือ  ทหารของ พระองค์จะสังหารนางสนมจริงๆ หรือจะให้ทหารของพระองค์ต้องพ่ายแพ้ใน สงครามกับแคว้นอื่นในสงครามจริง ที่ไม่มีเมตตาต่อฝ่ายตรงข้าม  
           โง้วเหอหลี เมื่อทราบถึงความจริงในการทำสงครามและความจริงจัง ของซุนวู จึงเชื่อมั่นในวิธี พิชัยสงครามของซุนวูอย่างเต็มที่
           507 ปีก่อนคริสตกาล  โง้วเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพใหญ่โง้วจื้อซู และแป๊ะพี่ หรือ ป๋อผี เป็นรองแม่ทัพ ยกทหาร 100,000 นาย ไปตี แคว้นฉู่ และ สามารถชนะแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ฉู่เจาอ๋อง แคว้นฉู่ได้หลบ หนีไปเสียก่อน
           ในตอนนั้น  อ้วกยุ่นฉางแห่งแคว้นอ้วกได้ฉวยโอกาสที่แคว้นโง้วมีกอง ทหารประจำการเหลืออยู่น้อยยกกองทัพมาตีแคว้นโง้ว
            โง้วเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับ นครหลวงทันทีกองทัพซุนวูได้เอาชนะกอง ทัพแคว้นอ้วก อ้วกยุ่นฉางพ่ายแพ้ถอยทัพกลับแคว้นอ้วก และผูกใจเจ็บแค้นคิด หาโอกาสล้างแค้นแคว้นโง้ว แต่อ้วกยุ่นฉางก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนในปี 497 ก่อนคริสตกาล
          องค์ชายโกวเจี้ยนบุตรชายอ้วกยุ่นฉางเป็นผู้สืบราชบัลลังค์ปกครอง แคว้นอ้วก

          ☆ กระบี่ฉุนจวิน กระบี่เล่มสุดท้ายมี่โอวเยียนจื่อทำขึ้นให้แกเจ้าแคว้นฉี  เซจูนักวิจารณ์กระบี่เดินทางพเนจรเที่ยวไปทั่วแผ่นดิน ครั้งหนึ่ง เซจูได้ไปพบ กับโกวเจี้ยนอ๋องแห่งแคว้นยั่ว หรือ แคว้นฉี เพื่อขอชมกระบี่ฉิงจวิน

            เกาเจี้ยนอ๋องต้องการอวดอานุภาพกระบี่ฉุนจวิน จึงนำออกกระบี่มาแสดง ให้เซจูดูที่กลางแจ้ง แสงแดดยิ่งแรงกล้าพอตกกระทบตัวกระบี่ ที่เหมือนผิวน้ำเจิด จ้า ลวดลายวิจิตรยบนตัวกระบี่ดั่งหลอมหลวมพลังธรรมชาติไว้ทั้งหมด

           โกวเจี้ยนอ๋องถามว่า “มีคนขอแลกกระบี่นีด้วยม้าดีพันตัว หมู่บ้านใหญ่สาม แห่ง เมืองใหญ่สองแห่ง ท่านว่าสมควรแลกดีหรือไม่”

           เซจูตอบว่า “แลกไม่ได้เด็ดขาด กระบี่เล่มนี้ล่ำค่ามากมายยิ่งกว่า”

 

          โง้วเหอหลีคิดฉวยโอกาสไปตีแคว้นอ้วกในทันทีในขณะที่เปลี่ยนผู้ปกครอง ใหม่

          ซุนวูและโงวจื้อซูคัดค้านโง้วเหอหลีที่คิดนำทัพไปทำสงครามด้วย ตัวเอง เนื่องจากกังวลในความปลอดภัยของหวู๋เหอหลี แต่ตี้โง้วเหอหลีไม่ฟัง ด้วยเชื่อมั่น ว่ามีเสนาธิการซุนวูกับแม่ทัพโงวจื้อซูร่วมกองทัพ จึงสั่งยกทัพทหาร 30,000 ไปตี แคว้นอ้วก

           กองทัพของสองฝ่ายปะทะกันที่ด่านอำเภอเมืองจุ้ยหลี่  ทัพแคว้นโง้วเป็น ฝ่ายพ่ายแพ้ เนื่องจากหวู๋เหอหลี ถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส ระหว่างการรบจึงต้อง ถอยทัพกลับ
           อู๋จื่อซีนำทหาาต้านทานอยู่ท้ายขบวน ถูกแคว้นฉู่ไล่ล่าตามจับตัวเขา มา ถึงริมฝั่งแม่น้ำฉางเจียน ชายประมงเรียกเขาขึ้นเรือ พาหนีไป  ชายชราให้อู๋จื่อซี กินอาหารก่อนจากไป

           อู๋จื่อซี่ทราบซึ้งบุญคุณนำกระบี่ซีซิงหลงหยวนที่เป็นสมบัติตกทอดของ ตระกูลอู๋ไปมอบให้ชายชราเป็นการตอบแทน ชายชราน้อยใจคิดว่าดูถูก จึงใช้กระบี่ ซีซิงหยวนฆ่าตัวตาย อู๋จื้อซีสำนึกเสียใจที่นำกระบี่เล่มนี้มาตอบแทน ไม่คาดคิดว่า ชายชราจะฆ่าตัวตาย และฝังกระบี่ไว้กับศพชายชรา

           โง้วเหอหลีถึงแก่กรรมระหว่างการเดินทางกลับแคว้นโง้ว องค์ชายฮูซา หรือ ฟูไช จึงได้ขึ้นครองแคว้นโง้วสืบต่อจากตี้โง้วเหอหลีผู้เป็นบิดา
           โง้วฮูซาคิดล้างแค้นให้บิดาให้ได้จึงสั่งซุนวูและโง้วจื้อซูเตรียมกองทัพ ทหารซุนวูได้บอกว่าเตรียมกองทัพนั้นถูกต้อง  แต่มิต้องยกทัพไปบุกแคว้นอ้วก เพราะแคว้นอ้วกจะยกทัพมาบุกแคว้นโง้วก่อนแน่นอน    แม้ทหารเราจะเสียขวัญ และเสียชีวิตจากการรบครั้งก่อนจำนวนมาก แต่หากเรามีอาวุธที่ดีกว่าย่อมได้ชัย  
          โง้วฮูซาเชื่อคำนำแนะนำของซุนวู สั่งให้สืบหาช่างทำอาวุธฝีมือดีมาทำ อาวุธให้ทหารและฝึกทหารไว้ทำสงคราม

          อ๊วกโกวเจี้ยนฮึกเหิมลำพองยกทัพทหารไปตีแคว้นโง้ว กลับพ่ายแพ้ให้ แคว้นโง้วที่มีซุนวูเป็นผู้ฝึกกองทัพทหารที่แข็งแกร่งขึ้นมาก จึงสามารถรบชนะ แคว้นอ๊วก และถูกโง้วจื่อซูนำกองทัพไล่ล้อมจับบนภูเขา
            ฮ่วมลี้ หรือ ฟานหลี่ เสนาธิการแนะนำอ๊วกโกวเจี้ยน ให้สินบนขุนนาง กังฉินเสนอรายงานต่อตี้โง้วฮูซาให้โกวเจี้ยนไปเป็นตัวประกันที่แคว้นหวู๋ พร้อม ส่งบรรณาการณ์ให้ทุกปี ดังนั้นตี้อ้วกโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฮ่วมหลี้ถูกนำไป เป็นตัวประกันที่แคว้นหวู๋ด้วย
           โกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติจำต้องยอมจงรักภักดี เพื่อให้ โง้วฮูซาไว้ใจ ครั้งหนึ่งตี้โง้วฮูซาเกิดอาการปวดท้องไม่สบายอย่างหนัก บรรดา หมอหลวงทั้งหมด ไม่สามารถให้การรักษาได้
          โกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของโง้วฮูซาต่อหน้าขุนนางทั้งปวง และบอกว่า โง้วฮูซา  เพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป      หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้ อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง   และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร โง้วฮูซา เห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนชิมอุจาระเพื่อช่วยชีวิต    นับว่ามีความจงรักภักดีแท้จริง
โกวเจี้ยนจึงได้รับตำแหน่งอ๋องกลับไปกลับไปปกครองแคว้นอ้วก

           ประมาณ 496 ปีก่อนคริสศักราช เมื่ออ๋องโกวเจี๋ยนกลับสู่แคว้นอ้วกก็ วางแผนกู้ชาติ ล้างแค้นทันที  โดยมีฮ่วมลี้ ปรึกษาวางแผนการ 3 อย่าง คือ  ฝึกฝนกองทัพทหาร  พัฒนาด้านกสิกรรม  และส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณา การณ์
          ไซซี หรือ ซีซือ เป็น 1 ใน 4 หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ 506 ปีก่อนคริส ศักราช ซึ่งตรงกับยุควสันตสารท ที่มณฑลเจ้อเจียง ในแคว้นอ้วก
         ไซซีได้รับฉายานามว่ามัจฉาจมวารี ซึ่งหมายถึง ความงามที่ทำให้แม้แต่ ฝูงปลายัง ต้องจมลงสู่ใต้น้ำ
         ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน  ในภาษา ฮกเกี้ยน เรียก กิวล่อซัว นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตา งดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งตัน หรือ แต้ตัน ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน
          ฮ่วมลี้ หรือ เถาจูกง เสนาบดีรัฐอ้วกเป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดม การณ์ เพื่อบ้านเมืองเป็นเวลานานถึง 3 ปี ก่อนที่จะไปเป็นบรรณาการณ์ให้กับ แคว้นโง้ว เพื่อมอมเมา ให้โง้วฮูซาลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหาร บ้านเมือง
           ต่อมา โง้วฮูซาความประพฤติกลับเหลวไหล หลงแต่สุราและนารีจาก แผนนางงามไซซี ของอ๋องโกวเจี้ยนที่คิดล้างแค้นความอัปยศ
          ซึ่งโง้วฮูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อย ใจจน ผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น
          495 ปีก่อนคริสตกาล    ซุนวูสร้างความชอบแก่แคว้นหวู๋มากมาย แต่เมื่อ ซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของโง้วฮูซา     เขาเกลียดชังความลุ่มหลงนารีจนไม่ ลืมหูลืมตา และเบื่อการเมือแคว้นหวู๋   ซุนวูคิดว่าต่อไปภายภาคหน้าแคว้นโง้วต้อง ล่มสลายแน เขาขอลาออกจากราชการเร้นกายออกจากสังคม และเร้นกายหายไป

           485-481 ปีก่อนคริสศักราช  แคว้นอ้วกกองทัพรุกรานแคว้นโง้วฮูซา ยัง จึงสั่งให้โง้วจื่อซู แม่ทัพใหญ่บัญชา การทหารเข้าสู้รบกับทัพอ้วกที่บุกมารุกราน
           แคว้นอ้วกได้วางแผนเตรียมเสบียงและทหารไว้ทำสงครามรุกรานแคว้น โง้วมายาวนานกว่าสิบปี ในปี 320 หรือ 211ก่อนคริสศักราช เมื่อราชาฮูซาลุ่มหลง นางสนมไซซีไม่ใส่ใจบริหารบ้านเมือง แคว้นโง้วก็อ่อนแอลง แคว้นอ้วกที่ยกกอง ทัพไปตีก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จ
          โง้วจื่อซูถูกล้อมบนภูเขาและฆ่าตัวตาย     กองทัพอ้วกบุกเข้าเมืองหลวง แคว้นโง้ว โง้วฮูซาก็ฆ่าตัวตาย หลังจากแคว้นอ้วกได้ชัยชนะ  หลังจากสงคราม ยุติ ไซซีกับฮ่วมลี้ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้วก็ได้หายตัว ไปพร้อมกัน    บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วย กันที่ทะเลสาบไซ้โอว หรือ ทะเลสาบซีหู
           เรื่องราวตำนานของซุนวูและไซซี  หนึ่งยอดนักปราชญ์และหนึ่งยอด หญิงงาม จบลงเพียงเท่านี้

 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา